เคาะกู้1.5พันล้านให้ลาวสร้างถนน'หงสา-เชียงแมน'

เคาะกู้1.5พันล้านให้ลาวสร้างถนน'หงสา-เชียงแมน'

ครม.ไฟเขียวปล่อยกู้ 1,581 ล้านให้ลาวสร้างถนนเมืองหงสา-บ้านเชียงแมน ระยะทาง114กม. ต่อยอดยุทธศาสตร์เมืองคู่แฝด

ครม.ไฟเขียวปล่อยกู้ 1,581 ล้านให้ลาวสร้างถนนเมืองหงสา-บ้านเชียงแมน ระยะทาง 114 กม. ต่อยอดยุทธศาสตร์เมืองคู่แฝด จ.น่านและแขวงหลวงพระบาง คาดช่วยเพิ่มความเจริญทางเศรษฐกิจในพื้นที่

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมครม.ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการก่อสร้างถนนจากเมืองหงสา-บ้านเชียงแมน (เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง) ระยะทางรวม 114 กิโลเมตร ตามผลการศึกษา สำรวจ และออกแบบรายละเอียด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป

สำหรับโครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุนรวม 1,977 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ 1,581 ล้านบาทหรือ 80% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด และเงินให้เปล่า 395.40 ล้านบาท หรือ 20% ของวงเงินทั้งหมด อายุสัญญาเงินกู้ 30 ปี อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปีและปลอดหนี้ใน 10 ปีแรก โดยมีเงื่อนไขว่าโครงการดังกล่าวจะต้องใช้สินค้าและบริการจากประเทศไทยไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าสัญญา

กระทรวงการคลังรายงานครม.ว่า โครงการฯ ก่อสร้างถนนในเส้นทางดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงการคมนาคม ระหว่างประเทศไทย-ลาว ผ่านจุดผ่านแดนห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน เพื่อเดินทางไปสู่แขวงหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและจะเป็นการส่งเสริมยุทธศาสตร์การเป็นเมืองคู่แฝดระหว่างจ.น่านและแขวงหลวงพระบางได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการให้ความช่วยเหลือสำหรับโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ไทยในการให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ทั้งในแง่การลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยวและบริการ การส่งออกสินค้าอุปโภค บริโภค เชื้อเพลิงหรือสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร

สำหรับภาพรวมการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 10 เดือนนั้น แม้จะมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยจำนวนโครงการปรับลดลง 19% ขณะที่มูลค่าเงินลงทุนปรับลดลง 18.7% แต่ก็เป็นการลดในอัตราที่น้อยลง โดยในช่วงก่อนหน้านี้ พบว่า จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนมีสัดส่วนลดลงมากกว่า เช่น จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนในช่วง 8 เดือนลดลง 27.7% และ 38.2% ตามลำดับ ส่วนจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนในช่วง 9 เดือนลดลง 23% และ 27% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนในช่วง 10 เดือน กระจายอยู่ในกลุ่มกิจการที่มีขนาดเงินลงทุนต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของโครงการที่มีขนาดเงินลงทุนขนาดกลาง (เงินลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จำนวนถึง 1,057 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 102,400 ล้านบาท มีกิจการที่น่าสนใจ เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กิจการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ กิจการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน กิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการผลิตถุงมือยาง และผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ โรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและขยะ

ขณะที่การลงทุนของโครงการขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งสิ้น 149 โครงการเงินลงทุน 542,900 ล้านบาท มีกิจการที่น่าสนใจ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ กิจการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ กิจการผลิตยางรถยนต์ กิจการผลิตยางสำหรับอากาศยาน กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งอาหาร และกิจการผลิตถุงมือทางการแพทย์

สำหรับกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงสุด อยู่ในกลุ่ม บริการ และสาธารณูปโภค 355 โครงการ เงินลงทุน 264,600 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและยานยนต์ 237 โครงการ เงินลงทุน 207,100 ล้านบาท กิจการกลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติก 141 โครงการ เงินลงทุน 60,700 ล้านบาท กลุ่มกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 198 โครงการ เงินลงทุน 45,500 ล้านบาท กิจการเหมืองแร่ เซรามิก และโลหะขั้นมูลฐาน 43 โครงการ เงินลงทุน 30,000 ล้านบาท กิจการอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า 192 โครงการ เงินลงทุน 20,200 ล้านบาท และกิจการในอุตสาหกรรมเบา 40 โครงการ เงินลงทุน 17,300 ล้านบาท