ก.พ.ชงยืดเวลาเกษียณราชการเป็น65-70ปี

ก.พ.ชงยืดเวลาเกษียณราชการเป็น65-70ปี

กพ.จับมือคลังศึกษาแนวทางขยายเกษียณอายุราชการ เป็น 65-70 ปี หวังใช้คนให้คุ้มประโยชน์มากสุด แถมยังประหยัดงบจ่ายบำเหน็จบำนาญ

นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) กล่าวว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกพ. กำลังศึกษาเรื่องของการขยายการเกษียณอายุราชการ ร่วมกับ กระทรวงการคลัง ซึ่งปัจจุบัน พบว่า งบกลาง ที่ใช้จ่ายมากที่สุด คืองบประมาณที่รัฐบาลต้องจ่ายให้กับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการที่เกษียณอายุ
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงบประมาณพบว่า ในงบประมาณปี57 มีวงเงินที่นำไปใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการมี จำนวน 132,277 ล้านบาท จากงบกลางทั้งหมด จำนวน 345,459 ล้านบาท

"เรื่องการขยายการเกษียณอายุราชการ จะต่างจาก การต่ออายุราชการ ที่มีอยู่ในระเบียบข้าราชการพลเรือน พศ. 2551 ในมาตรา 108 คือ การต่ออายุราชการ จะต่อให้กับข้าราชการ ในตำแหน่งบางสายงาน หรือให้แก่บางข้าราชการบางคนที่ราชการต้องการ ซึ่งในมาตราดังกล่าวมุ่งไปในเรื่องของการขาดแคลนคนที่คุณภาพในบางสายงาน หรือสายงานเหล่านั้นส้รางคนไม่ทัน โดยที่ผ่านมามีการต่ออายุแล้ว อย่างเช่นสายงานแพทย์ สายงานนักกฏหมาย เช่นกฤษฏีกา สายงานด้านศิลปิน เป็นต้น"


เลขาธิการกพ.กล่าวว่า การขยายการเกษียณอายุราชการ คือการขยายทั้งระบบ จากเกษียณที่อายุ 60 ปี ก็จะเกษียณที่อายุ 65 หรือ 70 ปี ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว เกิดจาก ปัจจุบันคนอายุยืนขึ้น กว่าสมัยที่ออกที่พบว่า คนมีอายุเฉลี่ยเพียง 52 ปี เท่านั้น แต่ปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของคนเกือบ 80 ปี ในขณะที่อายุเกษียณยัง อยู่ที่ 60ปีเหมือนเดิม ซึ่งจากแนวคิดที่ว่า ถ้าคนที่อายุเลยอายุ 60 ปี แล้วยังมีกำลังในการทำงาน ส้รางผลผลิต แต่ให้หยุดการทำงาน หรือเกษียณอายุราชการไป ก็เป็นการสูญเสียทรัพยากร ขณะเดียวกัน ถ้าเราไม่ให้คนกลุ่มนี้ทำงาน แต่รับเงินบำนาญจากภาครัฐ นั่นก็เท่ากับว่า รัฐบาลต้องจ่ายเงิน 2 ทาง คือ ต้องจ่ายทั้งบำหน็จบำนาญ และจ่ายในการจ้างคนใหม่ มาทดแทน แต่ปัญหาที่ตามมา หากนำแนวคิดการขยายการเกษียณอายุราชการ มาใช้ก็คือ จะทำให้ไม่มีตำแหน่งงานว่างให้กับเด็กจบใหม่