ธรรมนัส โต้ แก้กฎหมายเอนายทุน

 ธรรมนัส   โต้ แก้กฎหมายเอนายทุน

ธรรมนัส แจงอภิปรายไม่ไว้วางใจ แก้กฎหมาย ส.ป.ก. เอื้อนายทุน แต่ปรับปรุงปิดช่องทุจริต เพื่อประโยชน์เกษตรกรลืมตาอ้าปากหลุดพ้นความยากจน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปี 64 ภายหลัง นาย นิคม บุญวิเศษ  สส.บัญชีรายชื่อระบุว่าไม่ไว้วางใจกรณี ร.อ. ธรรมนัส  ไม่มีความสามารถเพียงพอจะดูแล สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้ผู้ไม่ใช่เกษตรกรเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้

            ทั้งนี้ ร.อ. ธรรมนัส กล่าวว่า  ส.ป.ก. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  2518   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุง สิทธิการถือครองที่ดิน การกระจายสิทธิในที่ดิน ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน ที่มีมากเกินความจำเป็น ให้ไปสู่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินพร้องทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอาชีพ ปรับปรุง ส่งเสริม และสนับสนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่าง ๆ และให้มีการจัดตั้งกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

โดยตามมาตรา 30 วรรค 5 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  พ.ศ. 2518 กำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาตและการให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิรูปในการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2541

ประกอบด้วยบุคคล 3 ประเภท คือ 1.เกษตรกร 2. ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนด      เช่น กิจการทางวิชาการเกษตร การประกันราคาพืชผล การพัฒนาอาชีพ การจำหน่าย การตลาด การศึกษา  และ 3. บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ หรือ อำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายตรงตามที่ขอ  

 ทั้งนี้ที่ผ่านมา กฎหมายดังกล่าว ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นประโยชน์กับเกษตรกร ทั้งนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในสมัยที่ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฯ ได้เพิ่มเติม กรณีนิติบุคคลที่เข้ามาใช้ประโยชน์ต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม และเกี่ยวเนื่องกับการใช้ผลผลิตผลในพื้นที่นั้นๆ อีกทั้งในสมัยนายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ปี 56 ก็ได้ปรับปรุง กฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อตนเองเข้ามาบริหาร จะเห็นได้ว่าไม่มีการเปลี่ยนเนื้อหาของกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อนานทุนตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่ มีการแก้ไข ให้อำนาจการพิจารณาการเข้าใช้ประโยชน์ จากเดิมที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) ให้มาอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ คณะกรรมการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(คปก. ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการปิดช่องทางการทุจริต

จึงขอฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรว่าทุกอย่างที่ตนเองบริการและแก้ไขไปทั้งหมดนั้นมีวัตถุประสงเดียวคือ เพื่อให้ เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ และหลุดพ้นจากความยากจน