รวม 'สินเชื่อ' สำหรับธุรกิจส่งเสริมการจ้างงาน ป้องกัน 'การเลิกจ้าง'

รวม 'สินเชื่อ' สำหรับธุรกิจส่งเสริมการจ้างงาน ป้องกัน 'การเลิกจ้าง'

รวม "สินเชื่อ" สำหรับผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจ ช่วยส่งเสริมการจ้างงาน ป้องกันการ "เลิกจ้าง" ในวิกฤติ "โควิด-19"

สถานการณ์ "โควิด-19" ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขาดสภาพคล่อง จนส่งผลกระทบสืบเนื่องไปถึงรายได้ของลูกจ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ธนาคารออกมาตรการต่างๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถบริหารสภาพคล่อง สร้างสมดุลรายรับรายจ่ายให้กับธุรกิจ ให้สามารถประคองธุรกิจผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ โดยไม่จำเป็นต้อง "เลิกจ้าง" พนักงาน ดังนี้

"EXIM BANK" สนับสนุนสำนักงานประกันสังคม ส่งเสริมการจ้างงานของสถานประกอบการในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม โดยจัดทำโครงการ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี

 “โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” ของสํานักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ส่งเสริมสภาพคล่องให้สถานประกอบการดํารงอยู่ได้ รวมทั้งสามารถรักษาการจ้างงาน เพื่อผลิต และจําหน่ายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจปี 2563 ส่งผลให้แรงงานในสถานประกอบการยังคงมีงานทําและอยู่ในระบบประกันสังคมได้ต่อไป

สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับ สปส. สามารถขอรับบริการ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท มี 2 ทางเลือก คือ

  1. สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน Series 1 เงินกู้ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 3% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

  2. สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน Series 2 เงินกู้ระยะเวลา 7 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 3% ต่อปี ปีที่ 4-7 อยู่ที่ Prime Rate -1.25% ต่อปี หรือประมาณ 4.5% ต่อปี (Prime Rate ณ 14 เมษายน 2563 เท่ากับ 5.75%)

ทั้งนี้ สามารถใช้หนังสือค้ำประกันของบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมได้ ติดต่อขอรับบริการได้ที่ EXIM BANK ตั้งแต่บัดนี้-30 ธันวาคม 2563 สอบถามโทร. 0 2617 2111 ต่อ 3510-2

  158710361093

                             

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ "SME D Bank" ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยถูกเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้ลูกค้ามีเงินทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจช่วง โควิด-19 คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นิติบุคคล 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 1 ล้านบาทต่อราย และบุคคลธรรมดา 5% ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 5 แสนบาทต่อราย วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 7 ปี 

ช่วยเติมเงินทุนประคองให้ธุรกิจเดินหน้า ทำให้บริษัทยังมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงยังคงสภาพการจ้างงานได้ต่อไป และหากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ก็จะช่วยให้บริษัทฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และที่สำคัญคือ ทำให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอกับการรับมือความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจนำเที่ยว ร้านขายของฝากของที่ระลึก ฯลฯ และธุรกิจได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น ธุรกิจ Supply Chain หรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง เป็นต้น  

ทั้งนี้ ลูกค้า SME D Bank ที่ได้รับผลกระทบและต้องการรับความช่วยเหลือ สามารถยื่นคำขอได้ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ณ สาขา SME D Bank ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

  •  แหล่งเงินกู้อื่นๆ สำหรับ SMEs

นอกจาก "สินเชื่อ" ในข้างต้นแล้ว ยังมีสินเชื่ออื่นๆ จากหลากหลายสถาบันการเงินที่ออกมาช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ด้วยการให้ "กู้เงิน" เพื่อนำมาบริหารจัดการธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างใกล้เคียงสถานการณ์ปกติมากที่สุด ดังนี้

158712273924

158712273925

อย่างไรก็ตามการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละธนาคารย่อมมีความแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กรณี

“เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” เป็นโครงการจากธนาคารกสิกรไทย ที่ตั้งใจออกมาช่วยเหลือพนักงานที่มีรายได้น้อย ให้สามารถอยู่รอดได้ ในสถานการณ์นี้ โดยการลดดอกเบี้ย เพิ่มเงินทุนให้กับธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีกำลังจ้างพนักงานได้ต่อเนื่อง 

158710513048

แม้โครงการนี้จะไม่ใช่ "สินเชื่อ" ที่เปิดให้ผู้ประกอบการกู้เงินเพื่ออัดฉีดภาพคล่องของธุรกิจโดยตรง แต่เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรักษาคนระดับล่างสุดของระบบให้อยู่รอด ผ่านการช่วยเหลือผ่านภาคธุรกิจไปสู่ระดับล่าง ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการและลูกจ้างในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มสภาพคล่องในวิกฤติครั้งนี้

โดยการช่วยเหลือในครั้งนี้ นำร่องที่ 2 ราย คือ โรงแรมในเครือกะตะธานี และเครือกะตะกรุ๊ป ซึ่งทั้งสองโรงแรมเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต และเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก โควิด-19 ก่อนขยายผลต่อไป

ทั้งนี้ บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า "อยากให้ธุรกิจเก็บพนักงานไว้ โดยช่วยกันคนละครึ่ง กสิกรมีกำลังขั้นหนึ่งเราก็ยอมแทงศูนย์ในส่วนรายได้ เพื่อรักษาคนระดับล่างสุดของระบบให้อยู่รอด ต้องไม่ปล่อยให้เขาตาย เพราะวันนี้ชีวิตอยู่รอดกับไม่รอด อยู่แค่คาบเส้นเท่านั้น"