ราชกิจจาฯ ประกาศให้แบงก์สำรองขั้นต่ำ1% ของสินทรัพย์ที่ไม่ด้อยคุณภาพ ตามมาตรฐานบัญชีใหม่

ราชกิจจาฯ ประกาศให้แบงก์สำรองขั้นต่ำ1% ของสินทรัพย์ที่ไม่ด้อยคุณภาพ ตามมาตรฐานบัญชีใหม่

ราชกิจจาฯ ออกประกาศ หลังธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดชั้น และการกันเงินสำรอง ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 โดยให้สำรอง 1% ของสินทรัพย์ และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ ช่วงแรกอนุโลมให้ ปี63 สำรอง 0.33% ปี64 ที่ 0.67% และปี65 ที่ 1%

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศวันที่ 17..62 เกี่ยวกับการดำรงเงินสำรองขั้นต่ำของสถาบันการเงิน และกลุ่มธุรกิจการเงิน

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดช้ันและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินให้รองรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน (TFRS 9) ที่สภาวิชาชีพบัญชีให้บังคับใช้กับการจัดทำงบการเงินที่เริ่มต้นหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป นั้น

ขณะเดียวกัน TFRS9 เป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีลักษณะเป็น Principle-based ที่การปฏิบัติจึงอาจต้องอาศัยการตีความและการใช้ดุลยพินิจของสถาบันการเงิน เพื่อประเมินการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิต โดยคาดการณ์จากการข้อมูล หรือแนวโน้มจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดข้ึน

ซึ่งทำให้ มีความหลากหลายของวิธีการ แบบจำลอง และความแตกต่างของคุณภาพและความเพียงพอ ของข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ

อีกทั้งมาตราฐานนี้ ยังขึ้นอยู่กับความผันผวนเศรษฐกิจ เช่นหากเศรษฐกิจ ตกต่ำ การกันเงินสำรองมีแนวโน้มจะสูงขึ้น หากมีความผันผวนอย่างฉับพลัน (Cliff effect) เมื่อมีสถานการณ์เกินความคาดหมาย อาจทำให้มีการกันเงินสำรองมากข้ึน เนื่องจากสถานะของลูกหน้ี มีความเสี่ยงมากขึ้น

จึงต้องเปลี่ยนแปลงการตั้งสำรอง จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า (12-month ECL) เป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดข้ึนตลอดอายุ (Lifetime ECL)

ธปท.จึงการพิจารณา และกำหนดการสำรองขั้นต่ำเพิ่มเติม เพื่อรองรับการกันเงินสำรองตาม TFRS 9 โดยมุ่งเน้นเรื่องความระมัดระวัง (Prudential) และ คำนึงถึงเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินเป็นสำคัญ เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีเงินสำรองที่เพียงพอรองรับสถานการณ์ที่เกินความคาดหมาย

ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของระดับ เงินกองทุนตามสภาวะเศรษฐกิจ (Cyclicality) ทำให้การสำรองของสถาบันการเงินไม่ต่ำเกินไปเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับเป็นขาลง ทำให้ภาระที่ต้องกันสำรองเพิ่มในทันทีจะน้อยลง เพราะสถาบันการเงินได้สำรองล่วงหน้าไว้ที่ระดับขั้นต่ำแล้ว

โดยหลักการ ธปท.กำหนดให้ สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินสำรองที่กันไว้ทั้งหมดที่อัตราขั้นต่ำ1% ของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ

ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาในการดำรงเงินสำรองขั้นต่ำ ตามหลักการ Consolidated basis ใน ระดับ คือ เงินสำรองขั้นต่ำระดับ Solo consolidation และเงินสำรองขั้นต่ำระดับระดับ Full consolidation เพิ่มเติมจากการดำรงเงินสำรองขั้นต่ำตามหลักการ Solo basis

ขณะเดียวกัน การบังคับใช้มีการอนุโลมในช่วงแรก ให้สถาบันการเงินใช้อัตราเงินสำรองขั้นต่ำ ดังนี้

โดยทุกงวดบัญชี ปี63 กำหนดให้อัตราเงินสำรองขั้นต่ำต้องอยู่ที่ 0.33% และงวดบัญชี64 สำรองจะเพิ่มขึ้นเป็น0.67% และปี65 สำรองจะเพิ่มขึ้นเป็น 1%