นักวิชาการด้านปัญหาขยะพิษเสนอปฏิรูปกลไกกำกับดูแล ชี้ไร้การคานอำนาจ

นักวิชาการด้านปัญหาขยะพิษเสนอปฏิรูปกลไกกำกับดูแล ชี้ไร้การคานอำนาจ

ขยะข้ามพรมแดนยังไหลเข้าประเทศไทยเพราะไม่มีหน่วยงานตรงกำกับดูแล

โดยนักวิชาการจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี กล่าวในงานสัมนา ธุรกิจขยะข้ามพรมแดน จัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศวันนี้ว่า ปัญหาการจัดการขยะพิษ รวมทั้งที่กำลังข้ามพรมแดนในเวลานี้เป็นเรื่องที่พูดยากมากเพราะอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่บางหน่วยงานคือกรมโรงงานและกรมศุลกากรเป็นหลัก ซึ่งในส่วนขยะที่ขนข้มพรมแดนมาก็มาหลากหบาย และบางส่วนก็มีที่ไม่ถูกถือว่าเป็นขยะอันตรายแต่สร้างมลพิษได้ 

ซึ่งการจัดการขยะเหล่านี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังมามากแล้ว เพราะระบบกระบวนการอนุญาตและการตรวจสอบไม่เข้มแข็งมากพอจนชาวบ้านต้องออกมารียกร้องเองเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศ Asean อื่นๆที่เคยศึกษา จะพบว่ามีการคานอำนาจกันโดยระบบควบคุมมลพิษต้องแยกอยู่กับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม แต่เวลานี้ กรมโรงงานสวมหมวก 2 ใบคือทั้งส่งเสริมและกำกับ ซึ่งมลพิษจากอุตสาหกรรมลักษณะนี้ต้องเปิดให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะอนุญาตไปแล้วการกำกับ การมอนิเตอร และการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนไม่เข้มข้น เป็นจุดอ่อนที่จำเป็นต้องปฏิรูป

นอกจากนี้ ดร.สุจิตรายังแสดงความเป็นห่วงถึงกฏหมายโรงงานฉบับใหม่ที่อาจทำให้โรงงานขนาดเล็กรวมทั้งโรงงานกำจัดขยะอันตรายเหล่านี้หลุดรอดจากการควบคุมไปอยูกับท้องถิ่นที่อาจยังมีศักยภาพไม่พอในการรับมือกับปัญหา

ดร.พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ให้คำปรึกษาภาคอุตสาหกรรมเคยตรวจสอบและพบด้วยตัวเองถึงความไร้ประสิทธิภาพของโรงงานที่มาขออนุญาตกำจัดขยัเหล่านี้ โดยพบเพียงเตาเผาปูนและกะทะใบใหญ่สำหรับใช้หลอมขยะกลางป่า ทั้งๆที่มีใบอนุญาตเปิดโรงงาน

เขาเห็นด้วยว่าควรมีหน่วยงานควยคุมเรื่องนี้ให้ครบถ้วน ซึ่งในระดับท้องถิ่นน่าเป็นห่วงเพราะมักไม่สามารถกำกับดูแลปัญหาได้ และเมื่อขนะเปลี่ยนจากหลุมฝังกลยมาเป็รโรงไฟฟ้ายิ่งทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงเพราะมลพิษจะลอยขึ้นไปในอากาศตรวจสอบยากขึ้น

ในวงเสวนาที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตัวแทนชุมชนจากที่ต่างๆยังพบว่า ปัญหาการจัดการขยะพิษที่ไม่ได้มาตราฐานหรือมีการลักลอบการทิ้งได้ขยายตัว อกไปทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก โดยถูกพบในจังหวัดใหม่ๆ อาทิ เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว สะท้อนให้เห็นว่าในพื้นที่เดิมมีการอิ่มตัวเดินกว่าที่จะรองรับขยะพิษเหล่านี้มากแล้ว

ทางด้านผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง เปิดเผยว่าสถานการณ์ขยะข้ามพรมแดนในประเทศไทย มีความน่าเป็นห่วงและไร้การควบคุมดูแลที่เพียงพอ โดยเฉพาะการนำเข้าขยะพลาสติก โดยหลังประเทศจีนแบนการนำเข้าขยะพลาสติก ทำให้ปี 2561 ไทยมีสถิติการนำเข้าขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 2000-7000%  ซึ่งการหลอมทำลายและรีไซเคิลขยะพลาสติก เกรดต่ำ ก่อมลพิษอย่างมาก ประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่ทำลายและรีไซเคิลขยะเหล่านี้ในประเทศตัวเอง แต่จะส่งออกมายังประเทศกำลังพัฒนา 

รัฐบาลควรรีบแบนการนำเข้าขยะพลาสติก เพราะหากแก้ไขปัญหาปัญหานี้ไม่ได้ ก็จะต้องเผชิญปัญหามลพิษ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ไม่จบสิ้น

ส่วนการนำเข้ากากอิเล็กทรอนิกส์ ใน 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการนำเข้าสูงขึ้น โดยประเทศที่ส่งออกมาไทยมาสุดคือไต้หวัน และ จีน ซึ่งสถิติปริมาณการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ปี 2014 - 2018  มีมากถึงกว่าแสนตัน ในขณะที่กรมกระทรวงที่ดูแล ก็ไม่มีการตรวจสอบเข้มงวดว่าทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ โดยหน่วยงานหลักอย่างกรมศุลกากรเปิดเผยว่าจะเน้นระบบการบริหารความเสี่ยงหรืองานข่าวเพื่อตรวจจับเป็นหลัก ซึ่งต้องปรับมห้เข้มข้นเท่าทันผู้ลักลอบ ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษจะเน้นไปที่งานวิชาการและการอบรมให้ความรู้และแนวทางการทำงานเป็นหลัก