BBL - ซื้อ

BBL - ซื้อ

ประเด็นสาคัญจากงาน BBL Luncheon

เราได้จัดงาน BBL Luncheon สำหรับนักลงทุนในประเทศเมื่อวานนี้นำโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และทีมผู้บริหารระดับสูงของธนาคารร่วมให้ข้อมูลวานนี้ โดยการดำเนินงานปี 2562 มีแนวโน้มเชิงบวกจากการการเติบโตต่อเนื่องของสินเชื่อ, การขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเล็กน้อย และการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ดี ผู้บริหารบ่งชี้ถึงทิศทางกลยุทธ์ที่เน้น ธุรกิจในตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV , รวมทั้งการเน้นขยายฐานลูกค้าในต่างจังหวัด (ได้ผลประโยชน์จากเครือข่ายสาขาที่มีอยู่) และการพัฒนาระบบ
ธนาคารดิจิตัลเพื่อรองรับนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ และเชื่อมกับระบบ e-commerce ในตลาดโลก เราคงคำแนะนำ ซื้อ!

ประเด็นสำคัญจากงาน สรุปได้ดังนี้

เป้าการเงินในปี 2562 แสดงถึงการเติบโตของกำไรที่มั่นคง

ธนาคารมีเป้าหมายการขยายสินเชื่อของ BBL ปี 2562 ในช่วง 4-6%หลังจากเติบโต 4% ในปีที่ผ่านมา หากแยกเป็นประเภทสินเชื่อ คาดว่าสินเชื่อธุรกิจจะเติบโต 6-7%, สินเชื่อ SME 4-5%, สินเชื่อรายย่อย 4-6%และสินเชื่อในต่างประเทศโต 4-5% ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในประมาณการการเติบโตของสินเชื่อของเราที่ 4% อุปสงค์ที่มีต่อเนืองของสินเชื่อหนุนโดยโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดำเนินงานต่อเนื่องและการลงทุนในระบบสาธารณูปโภค ในพื้นที่พัฒนาสำหรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งธนาคารคาดว่าจะก่อให้เกิดวัฐจักรการลงทุนเพิ่มต่อเนื่องในห้าปีข้างหน้า ดังนั้น การให้สินเชื่อมีแผนจะมีส่วนร่วมในการให้สินเชื่อในโครงการดังกล่าว เรามองว่าปกติ ธนาคารมักสามารถขยายฐานสินเชื่อเกินเป้าหมายในวัฐจักรดังกล่าว ดังนั้น จึงมีโอกาสในการสร้างความเติบโตของสินเชื่อและกำไรสูงกว่าประมาณการของเรา

ผู้บริหารตั้งเป้าหมายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ปี 2562 จะขยายตัวเล็กน้อยจาก 2.4% ในปีที่แล้ว (ซึ่งสูงกว่าการประมาณการของเราที่ 2.35%) ธนาคารคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ไม่เปลี่ยนแปลงไปจนถึงปี 2562 (กรณีที่แย่ที่สุดคือเพิ่มขึ้น 25 bps) รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิตั้งเป้าว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5% กว่า (เราคาดว่าการเติบโต 5% ในประมาณการของเรา)

คุณภาพของสินทรัพย์อยู่ในระดับดี แต่การตั้งสำรองหนี้สูญฯยังคงอยู่ในระดับสูง

BBL คาดว่า สัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับตัวเลขในปีที่แล้วหลังจากปรับลดจาก 3.9% ในปี 2560 มาอยู่ที่ 3.4% ในปี 2561 ธนาคารมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของสินทรัพย์ของการปล่อยกู้ในต่างประเทศ (เช่น ประเทศจีน) แม้ว่าจะมีความเสี่ยงของสงครามการค้าก็ตาม BBL คาดว่าจะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯอยู่ที่ราวๆ 2 หมื่นล้านบาท (สอดคล้องกับการประมาณการของเรา) เราคิดว่าอาจจะมีการตั้งสำรองพิ่มเติมกว่าคาด หากธนาคารมีกำไรพิเศษปัจจุบัน BBL มีอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมอยู่ที่191% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และสูงสุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์

เน้น 3 กลยุทธ์สร้างการเติบโตในระยะยาว

BBL กล่าวถึง 3 กลยุทธ์สำหรับการสร้างการเติบโตในระยะยาว 1) การขยายธุรกิจในตลาด CLMV โดยใช้ประสบการณ์ด้านการทาธนาคารระหว่างประเทศ, 2) การขยายฐานลูกค้าและเติบโตไปกับลูกค้าในจังหวัดที่มีการพัฒนาเป็นเมืองเศรษฐกิจมากขึ้น และมีกาลังซื้อสูงผ่านสาขาธนาคาร BBL ในต่างจังหวัดกว่า 800 แห่ง และ 3) การพัฒนาความสามารถด้านดิจิตัลและการหาพันธมิตรเช่นกลุ่ม เซ็นทรัล(ผู้นำกลุ่มห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของประเทศ) เพื่อรองรับการแข่งขันมากขึ้นในด้านฟินเทคและเข้าถึงระบบ e-commerce มากขึ้น นอกจากนี้ธนาคารมีงบประมาณการลงทุนด้านไอทีของธนาคารในปี 2562 อยู่ที่ 4-6 พันล้านบาทจากเดิม 5 พันล้านบาท ในปี 2561 ในขณะนี้ยังไม่มีแผนการใดๆ ที่จะลดขนาดจำนวนสาขาหรือจำนวนพนักงานลง

กลยุทธ์ดังกล่าวจะทำให้ BBL รักษาและเพิ่มผลการดำเนินงานในระยะยาวตามที่ผู้บริหารได้กล่าวไว้ ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่าย/รายได้จะอยู่ในราวๆ 45% ในช่วงสองสามปีข้างหน้า (อัตรา 45.4% ในปี 2561) BBL ตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิอยู่ที่ 25-30% ของรายได้รวม ในช่วง 3 ปีข้างหน้า สูงขึ้นจาก 23% ในปี 2561 และบริษัทยังตั้งเป้าผลักดัน ROE เข้าสู่ 10-11% ในปี 2562 จาก 8.7% ในปี 2561