รัฐบาลยังไม่สรุปเข้าร่วม TPP

รัฐบาลยังไม่สรุปเข้าร่วม TPP

รัฐบาลขอเวลาศึกษาการเข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งข้อตกลง RCEP ที่มีจีนเป็นแกนนำ

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมครม.หารือเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) หลังจากกลุ่มสมาชิก 12 ประเทศสามารถบรรลุร่วมกัน และยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจของสมาชิกTPP 12 ประเทศรวมกัน 28.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม

กระทรวงพาณิชย์ จึงเร่งเดินหน้าศึกษาการเข้าร่วมเป็นสมาชิกว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง เบื้องต้นจะมีผลในทางจิตวิทยาต่อการส่งออกสินค้าของไทยและอาจได้รับต่อสินค้าไทยในบางรายการ จากการได้รับสิทธิ์ลดภาษี ขณะที่กลุ่มสมาชิก TPP 12 ประเทศนั้นไทยได้มีข้อตกลงกับประเทศสมาชิกดังกล่าวถึง 9 ประเทศ มีเพียงสหรัฐ แคนนาดา เม็กซิโก ที่ไทยยังไม่ได้มีข้อตกลง FTA และเมื่อจีนเห็นว่า TPP บรรลุข้อตกลงได้แล้ว จึงต้องการเร่งรัดการร่วมกลุ่มของ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ให้บรรลุข้อตกลงด้วยเช่นกัน คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี ในการเจรจาร่วมกัน

ขณะที่ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประกอบด้วยอาเซียน 10 ประเทศและ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียหรือ อาเซียน+6 (RCEP) แม้จะมีจีดีพีรวมกันน้อยกว่า TPP แต่ประชาชนหรือลูกค้ามีมากกว่า TPP และในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้กำหนดมีการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เตรียมหารือเกี่ยวกับกรอบการลดภาษีร่วมกันของกลุ่ม RCEPหลังจากนั้นจะนัดประชุมอีกครั้งในมกราคมเพื่อสรุปการลดภาษีระหว่างการ รัฐบาลไทยจึงต้องศึกษาผลดีผลเสียต่อการนำเข้า ส่งออก สินค้าไทย เพื่อศึกษาอย่างรอบคอบ

พล.ต.สรรเสริฐ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากเข้าเป็นสมาชิก TPP จะไม่ให้ใช้แรงงานผิดกฎหมายในด้านประมง และได้หารือกับภาคเอกชนในวันที่ 9 ต.ค.กับกลุ่ม กกร. โดยเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่ามีประโยชน์ แต่หากเป็นสินค้าอ่อนไหว อาจได้รับผลกระทบ ที่ประชุมจึงให้ใช้เวลาศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะอาจเข้าร่วมสมาชิกใดหรือไม่ก็ได้ เพราะยังมีเวลาอีกนาน