'องค์กรแห่งความสุข' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

'องค์กรแห่งความสุข' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

ตัวอย่างของสถานที่ทำงานต้นแบบ 'องค์กรแห่งความสุข' ที่มีความเท่าเทียมทางเพศ ถูกนำมาเสนอพร้อมกับมุมมองความคิดเห็นจาก ‘ปอย ตรีชฎา’ และอีกหลายคน

จะดีแค่ไหน หากทุกคนได้ทำงานใน องค์กรแห่งความสุข ที่ซึ่งให้ความสำคัญกับทุกคน โดยเฉพาะผู้มีความหลากหลายทางเพศ ลองมาฟังความคิดเห็นผ่านมุมมองของ ปอย ตรีชฎา หงษ์หยก 

ในงานเสวนา ธุรกิจ ความหลากหลายทางเพศสภาพ และ วิถีแห่งอนาคต (Business, Gender Diversity, and the Path Ahead) จัดโดย กลุ่ม บีเจซี บิ๊กซี (บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน))

ในหัวข้อ Happy Workplace & Gender Diversity วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สามย่าน มิตรทาวน์

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับความยั่งยืน แต่ความยั่งยืนมีมิติทางด้านสังคมด้วย ซึ่งมีผู้ให้ความสำคัญน้อย

"ที่ทำงานที่มีความสุขคือ ถ้าผมตื่นนอนแล้วอยากไปทำงาน นั่นคือ Happy Workplace แล้วที่นั่นก็ให้แสดงความเป็นตัวตนของตัวเองได้ ไม่ถูกจำกัดเรื่องเพศสภาพ อายุ หรือเรื่องอื่น ๆ

มันจะช่วยให้พนักงานและบริษัทได้ประโยชน์ เพราะว่าความคิดหลากหลายจะทำให้บริษัทยั่งยืน เพราะถ้าทุกคนเหมือนกันหมด ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นโอกาสหรือความท้าทายได้

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

ส่วนเรื่องความหลากหลายทางเพศ ถ้าคนสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้จะทำให้บริษัทดีขึ้น เราควรวัดกันที่ความสามารถ

ซึ่งการจำกัดรับคนแค่บางกลุ่ม มันเป็นการปิดกั้นบริษัท ไม่ให้มีความสามารถจากคนกลุ่มอื่น การยอมรับความแตกต่างจะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัท

ปัจจุบันนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศเริ่มให้ความสำคัญเรื่องสัดส่วนของผู้หญิงในที่ทำงาน และสัดส่วนของผู้หญิงในการบริหาร

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ตลาดหลักทรัพย์เองมีผู้จัดการตลาดที่เป็นผู้หญิง 3 คน ในองค์กรมีผู้หญิงอยู่ 64 เปอร์เซนต์

เราต้องปฏิบัติกับคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นเพศไหน อายุเท่าไร

ถ้าภาครัฐเปลี่ยนแปลงมันก็ดี แต่ถ้าภาคเอกชนเริ่มได้ก่อน ก็อาจจะเร็วขึ้น"

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • สถานที่ทำงานที่ทุกคนมีความสุข

ธีระ วีรธรรมสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ปรึกษา กลุ่มบริษัท บีเจซี บิ๊กซี กล่าวว่า ธุรกิจของเรามีความแตกต่างหลากหลาย 

"บริษัทเรามีพนักงานทุกจังหวัด ทำยังไงให้เขาอยู่ได้อย่างมีพื้นที่ปลอดภัย กล้าแสดงความคิดเห็นออกมา เราเป็นองค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากมาทำงานด้วยมากที่สุด ลำดับที่ 12 ติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

Happy Workplace เป็นค่านิยมองค์กร ที่เราทำมา 10 ปีแล้ว เราต้องการให้เขารู้สึกว่าเขามีพื้นที่ปลอดภัยในการทำงานได้อย่างเต็มที่

ตอนช่วงแรกมีความยาก เราต้องโปรโมทจากเพศหญิงก่อน ให้ได้เป็นผู้บริหาร 

ปี 63-64 เราประกาศชัดเจนเรื่องความหลากหลายและการปฏิบัติ

ปี 66 เราได้รับรางวัลจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมว่าเป็นองค์กรต้นแบบด้านมนุษยชน ระดับดีเด่นสูงสุด

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ทำให้เรามั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว อยากให้กำลังใจทุก ๆ องค์กรที่ยังไม่ได้ทำ เรื่องนี้ยังไงก็ต้องมา อยากให้ช่วยขับเคลื่อนด้วย

การให้ค่านิยมในเรื่องความหลากหลายจะส่งเสริมเรื่องความยั่งยืน องค์กรก็จะเติบโตยั่งยืนได้ด้วย

ถ้าเราส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้ เราอาจจะเป็นเมืองหลวงของ LGBT หรือเป็นจุดหมายปลายทางของ LGBT ก็ได้"

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • บริษัทใดเปิดกว้าง ขอให้ประกาศออกมา

ดีเจเฟี๊ยต ธัชนนท์ จารุพัชนี กล่าวว่า Happy Workplace ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

"ถ้าไปทำงานแล้วมีความสุข มันก็เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการทำงาน ความสุขมีหลายมิติ มิติที่ทำงานแล้วรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า หรือทำงานแล้วมีโอกาสเติบโต หรือได้เงินเดือนตามที่คาดหวัง

Happy Workplace ต้องยอมรับความแตกต่างของแต่ละคนด้วย ไม่ว่าเรื่องเพศ เรื่องอายุ

มีรีเสิร์ชหลายชิ้นพูดถึงการทำงานว่าองค์กรที่มีหลายกลุ่มหลายเพศทำงานจะทำได้ดีที่สุด

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

เราเติบโตมากับการห้าม เพราะกลัวว่าลูกจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เวลาไปทำงาน ก็ต้องทำอย่างที่คนอื่นทำ รู้สึกว่าเป็นทุกข์มาก และผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้ขึ้นเป็นผู้บริหารสักเท่าไร

องค์กรไหนยอมรับแล้ว อยากให้พูดออกมา เหมือนกับองค์กรที่ประกาศแล้ว จะทำให้เด็กทุกคนได้เปิดตัวเองและแสดงศักยภาพออกมาได้มากขึ้น 

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

Cr. Kanok Shokjaratkul

เพราะโลกกำลังไปในทางนี้ คือการยอมรับคนเท่ากัน ไม่ว่าเขาจะเป็นอะไรก็ตาม ยอมรับในความสามารถถ้าผู้บริหารปรับเปลี่ยนทันโลกได้ก็จะทำให้องค์กรปรับเปลี่ยนไปด้วย

ภาครัฐและภาคเอกชนในสังคมทุกหน่วยต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ถ้าเราทำได้จริง จะลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวและสังคมได้ แล้วจะเกิดความคิดสร้างสรรค์มากมาย ทุกคนก็จะมีความสุข เราต้องช่วยกันทุกภาคส่วน"

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • LGBT ไม่ได้ต้องการแค่ความเท่าเทียมทางเพศ

ปอย ตรีชฎา หงส์หยก กล่าวว่า Happy Workplace สำคัญมาก การทำให้คนรักองค์กร มันจะทำให้ทำงานได้ดี

"ถ้าขาดทัศนคติรักองค์กร มันจะยากมากในการสร้างงาน ปอยเคยอ่านเจอว่า ถ้าขาดความรักในองค์กร การทำงานจะลดลง 70 เปอร์เซนต์

ในเรื่องของความเท่าเทียมและการให้ค่าจ้าง จริง ๆ มันมีความต่างอีกเยอะมาก

ประเทศแถบแอฟริกาใต้ ผู้ชายขายาวจะได้รับการยอมรับมากกว่าผู้ชายขาสั้น บางประเทศไม่ยอมรับผู้หญิงที่ผ่านการหย่าร้างมาแล้ว คิดว่าคนเหล่านี้ไม่น่าจะทำงานได้ดี ก็ไม่ค่อยยุติธรรม

สิ่งที่ปอยเห็นความแตกต่างจากอดีตถึงปัจจุบันคือ เปลี่ยนจากการจับต้องไม่ได้มาเป็นจับต้องได้มากขึ้น มีการใช้การวัดผล ถ้าเราเปรียบประเทศไทยเป็นธุรกิจ เราก็ต้องดู GDP 

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

จะทำอย่างไรให้ประเทศเรามีความยั่งยืน มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม มันจะยากมากที่เราจะใช้ความสามารถของบุคคลได้อย่างเต็มที่

อุปสรรค คือ เราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้แก้ที่ราก 

ภาครัฐ ควรเป็นผู้กำหนดนโยบาย ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ ค่านิยม

การศึกษาก็มีส่วนตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม เพราะในช่วงที่เด็กอายุน้อยเราสามารถใส่ความเชื่อได้

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ถ้าภาครัฐไม่เห็นความสำคัญตรงนี้ แล้วมองว่าเรื่องนี้จะต้องถูกแก้โดยภาคเอกชน นั่นคือปลายเหตุมันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูก 

เราต้องคุยกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ว่าเราจะเปลี่ยนความคิดทัศนคติคนไปในทางนี้

เช่น ในเกาหลีใต้ ผู้ชายมักใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้หญิงที่เป็นภรรยาเยอะมาก เพราะว่าเป็นค่านิยมทัศนคติในอดีต แต่ภาครัฐมองว่าสิ่งนี้สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เขาเลยกำหนดคอนเทนต์ของตัวเองขึ้นมาว่าผู้ชายเกาหลีเป็นคนโรแมนติกให้เกียรติผู้หญิงมาก

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

20 ปีผ่านมา มันคือหลักฐานเชิงประจักษ์ เด็ก ๆ รู้ว่าต้องกางร่มให้ผู้หญิง และภาคธุรกิจของเกาหลีก็ไม่ได้มีแต่ผู้ชาย

ภาครัฐต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เป็นของทุกกลุ่ม แล้วก็ทำงานร่วมกับภาคเอกชน

ในโลกนี้มีปัญหาเยอะมาก เช่น เรื่องฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ไม่เฉพาะเพศหลากหลาย และกระทบทุกเจนเนอเรชั่น

\'องค์กรแห่งความสุข\' สำหรับคนทุกเพศ ในมุมมองของ ‘ปอย ตรีชฎา’ Cr. Kanok Shokjaratkul

อย่างกฎหมายที่ดิน มีคนบอกว่าถ้ามีที่ดินรกร้างแล้วมีต้นไม้ใหญ่ต้องตัดมันออกแล้วปลูกกล้วยเพื่อจะได้เสียภาษีที่ดินเป็นพื้นทื่ทำการเกษตร นั่นคือการทำลายต้นไม้ที่ช่วยลดคาร์บอน 

LGBT ไม่ได้ต้องการแค่ความเท่าเทียมอย่างเดียว เราต้องการความเปลี่ยนแปลง หลาย ๆ กระทรวงต้องมานั่งวางแผนกันจริง ๆ แล้วฟอร์มทีมขึ้นมา ในการทำให้ถึงเป้าหมาย จะต้องทำอย่างไร แล้วจะเวิร์คมาก"