เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ 'ไวน์บอร์กโดซ์'

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ 'ไวน์บอร์กโดซ์'

หลังปี 2017 ‘กลุ่มทุนจีน’ เข้าไปซื้อ ‘ชาโตไวน์ในฝรั่งเศส’ โดยเฉพาะ ‘ไวน์บอร์กโดซ์’ ทั้งซื้อหุ้นและเป็นเจ้าของกว่า 100 ชาโต แต่เกิดกระแสเงินหยวนชะงักช่วงโควิด มาวันนี้กลุ่มทุนจีนกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ในจำนวน ไวน์ฝรั่งเศส นั้นคนจีนชอบไวน์บอร์กโดซ์มากที่สุด เรียกว่าส่งไปเท่าไรไม่พอขาย เป็นเหตุหนึ่งที่เศรษฐีจีนแห่แหนไปซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์

ปี 2011 ถือเป็นปีทองของการซื้อขายชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ เพราะเป็นปีที่ กลุ่มทุนจีน เข้าไปซื้อกันมากที่สุด

ช่วง 5-6 ปี ก่อนเกิดโควิด ตลาดการซื้อขายไวน์บอร์กโดซ์ของฝรั่งเศสคึกคักสุด ๆ ไม่ใช่เฉพาะซื้อตัวไวน์ แต่ซื้อกระทั่งตัวชาโตหรือไวเนอรี (Winery) ที่ผลิตไวน์ เรียกว่าตามซื้อแบบไล่ล่า ชาโตไวน์ฝรั่งเศส

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'      โรงบ่มไวน์ในบอร์กโดซ์ (Cr.lostinbordeaux.com)

โควิดมาทำให้เงินหยวนชะงัก ตอนนี้โควิดซาลง กลุ่มทุนจีน จึงกลับมาไล่ล่า ชาโตไวน์ฝรั่งเศส อีกครั้ง โดยเฉพาะ ไวน์บอร์กโดซ์ 

ในจำนวนไวน์บอร์กโดซ์ ชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ (Chateau Lafite Rothschild) เป็นที่ชื่นชอบสูงสุด คือ 1 ใน 5 เสือบอร์กโดซ์ ที่เศรษฐีจีนชอบกันมาก ผู้ผลิตก็เอาใจตลาดจีนด้วยการใส่เครื่องหมายแห่งความโชคดีที่ขวด ในวินเทจ 2008 เพราะชาวจีนถือว่าเลข 8 เป็นเลขมงคล ในตอนที่ผู้ผลิตประกาศว่าจะใส่เครื่องหมายมงคลนี้ที่ขวดไวน์ ทำให้ ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 25% ทั้งที่ยังไม่เห็นของจริง

เคยถามผู้เชี่ยวชาญไวน์ที่ประเทศจีนว่า ทำไมคนจีนชอบ ชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ เขาบอกว่าน่าจะมาจากเป็นการออกเสียงและเรียกชื่อง่ายที่สุด

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

     ไวน์ชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ (Cr.lafite.com)

ในบรรดา 5 เสือบอร์กโดซ์ คือ ชาโต มูตอง รอธส์ชิลด์ (Chateau Mouton Rothschild) ชาโต ลาตูร์ (Chateau Latour) ชาโต มาร์โกซ์ (Chateau Margaux) และชาโต โอต์ บริออง (Chateau Haut - Brion) โดยคนจีนเรียกว่าลาเฟย

ก่อนหน้านั้นชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ วินเทจ 1982 เป็นวินเทจยอดเยี่ยม ได้ 100 คะแนนเต็ม ตลาดจีนขายเหมือนแจกฟรี มีผู้เปรียบเปรยว่าในประเทศจีนมี ชาโต ลาฟิต ร็อธส์ชิลด์ 1982 มากกว่าที่ผลิตในฝรั่งเศส

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

     Chateau Lafite Rothschild 2008

เมื่อความต้องการมาก แต่จำนวนผลิตจำกัด การปลอมแปลงย่อมเกิดขึ้น การทุบทำลายชาโต ลาฟิต ร็อธชิลด์ ปลอมในประเทศจีน จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ผู้เชี่ยวชาญไวน์จากทางยุโรปประมาณกันว่า 70% ของไวน์ชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ ที่ขายในจีนเป็นไวน์ปลอม

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

   การทุบทำลาย Chateau Lafite ปลอมในจีน

หลังจากนั้นโดเมน บาฮรอง เดอ ร็อธไชลด์ หรือ ดีบีอาร์ (Domaines Barons de Rothschild / DBR) เจ้าของชาโต ลาฟิต ร็อธชิลด์ จึงเข้าไปลงทุนในจีนตั้งเป็นโดเมน เดอ หลง ไต (Domaine de Long Dai) มีพื้นที่ปลูกองุ่น 30 เฮกตาร์ ซื้อมาในปี 2009 อยู่ในหุบเขากุย ซาน แวลลีย์ (Qiu Shan Valley) มณฑลซานตง (Shandong) ทางตะวันออกค่อนไปทางเหนือของจีน อากาศค่อนข้างร้อนแต่ได้ความเย็นจากทะเลเหลืองซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 20 กม.

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

   ขวดเปล่าชาโต ลาฟีต ยังขายได้

ผลิตไวน์ชื่อ หลง ไต้ (Long Dai) ผลิตแบบ บอร์กโดซ์เบลนด์ โดยทีมงานจาก DBR ผลิตวินเทจแรก 2017 เบลนด์จากองุ่น 3 พันธุ์คือ กาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) มาร์เซอลัน (Marselan) และกาแบร์เนต์ ฟรอง (Cabernet Franc)

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

   Long Dai

Long Dai ผลิตไวน์ฉลากสองชื่อ Hu Yue เปิดตัวในปี 2019 เป็นวินเทจ 2018 ซึ่งเป็นวินเทจแรกที่ผลิต ทำจากองุ่นสายพันธุ์คลาสสิกของบอร์กโดซ์คือ กาแบร์เนต์ โซวีญยอง, กาแบร์เนต์ ฟรอง, และแมร์โลต์ มีมาร์เซลัน และซีราห์ เล็กน้อย

ขณะที่ไวน์อีก 1 ใน 5 เสือบอร์กโดซ์ และในตระกูล ร็อธชิลด์ (Rothschild) เหมือนกันคือ ชาโต มูตง ร็อธชิลด์ ซึ่งโด่งดังโดยเชิญศิลปินทั่วโลกมาออกแบบฉลาก ทำให้ฉลากชาโตแห่งนี้ทุกวินเทจไม่เหมือนกัน

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

     Chateau Mouton Rothschild 2018

อีกทั้งได้เชิญศิลปินจีนมาออกแบบถึง 3 คน โดยวินเทจล่าสุด 2018 ออกแบบโดยซู ปิง (Xu Bing) ศิลปินร่วมสมัยชาวจีนวัย 55 ปี ในรูปแบบของศิลปะจีนแบบดั้งเดิมผสมผสานกับตัวอักษรละติน (Latin) ก่อนหน้านั้นมีศิลปินจีนออกแบบฉลากชาโต มูตง ร็อธชิลด์คือ Gu Gan วินเทจ 1996 และ Xu Lei วินเทจ 2008

ผู้ที่จุดประกายให้ กลุ่มทุนจีน ไปซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์คือ ปีเตอร์ กว๊อก (Peter Kwok) ที่ซื้อชาโต โอต์ บริสซง (Chateau Haut-Brisson) ในปี 1997 ก่อนจะซื้อ ชาโต ลาตูร์-แซงต์ คริสโตเฟ (Chateau Latour – St.Christophe) มาครอบครองอีกแห่งหนึ่ง  

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

     Chateau Perenne ที่แจ็ค หม่า ซื้อ

ในตอนที่ Peter Kwok ซื้อ Chateau Haut-Brisson นั้นเขากล่าวกับสื่อมวลชนว่า I had no idea that 15 years later I would have quite so many Chinese neighbors.

ประมาณว่า...ซื้อ ๆ ไว้อย่างงั้นเอง เดี๋ยวก็มีเพื่อนบ้านเป็นคนบ้านเดียวกัน..ไม่ถึง 20 หลังนั้นก็มีเศรษฐีจีนไปซื้อชาโตไวน์รอบ ๆ เขาอีกมากมาย

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

    แจ็ค หม่า ซื้อชาโตไวน์ในฝรั่งเศสหลายแห่ง

คนดังที่ฮือฮามากที่สุดคือ แจ๊ค หม่า (Jack Ma) มหาเศรษฐีจีนเจ้าของเวบไซต์อาลีบาบา ซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์แห่งแรกคือ ชาโต เดอ ซูร์ส (Château de Sours) ในเขตอองเตระ เดอซ์ แมร์ส (Entre deux Mers) แหล่งผลิตไวน์ขาวชื่อดังของบอร์กโดซ์  ตามด้วยชาโต เปอแฮรน (Château Perenne) ในเขตควบคุม (AOC) เปรอะมิเยร์ โก๊ต เดอ บลาย (Premieres Côtes Blaye) หลังจากนั้นเขาประกาศไว้ว่าภายใน 2-3 ปีนี้จะซื้อ 20-30 ชาโต ยังไม่บรรจุเป้าหมายก็เกิดโควิด – 19 เสียก่อน

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

   จ้าวเวย เป็นเจ้าของ 3 ชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์

อีกหนึ่งในคนดังแต่อยู่ในสายบันเทิง จ้าวเวย (Zhao Wei) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของแจ็ค หม่า และเป็นผู้แนะนำแจ๊ค หม่า มาลงทุนซื้อชาโตไวน์ฝรั่งเศส เธอเป็นเจ้าของ 3 ชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ คือ ชาโต มงโลต์ (Château Monlot) ไวน์คุณภาพระดับกรองด์ ครู (Grand Cru) ในแซงเตมิลยอง (Saint-Emilion) ที่ซื้อมาในปี 2011 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐีจีนแห่ไปซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์มากที่สุด อีก 2 ชาโตคือ ชาโต ลา วี (Chateau La Vue) และชาโต เซนาญัค (Chateau Senailhac)

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'

   Chateau de Sours ของแจ๊ค หม่า

วันที่ 25 กรกกฏคม 2017 บริษัท Profitsun Holdings ซึ่งทำธุรกิจเรียล เอสเตท ท่องเที่ยวและไพรเวท เมมเบอร์ คลับในฮ่องกง ได้บรรจุข้อตกลงในการซื้อ ชาโต ฟูเช (Château Fauchey) ในบอร์กโดซ์ ในราคาที่ไม่เปิดเผย แต่มีรายงานว่าราคาของไร่องุ่นในเขตนี้เฮกตาร์ละประมาณ 15,000 - 30,000 ยูโร

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'    Chateau Fauchey ที่เศรษฐีจีนซื้อไป

ปี 2019 นักธุรกิจจีนที่รู้จักกันภายใต้ชื่อ มิสเตอร์ เฉิน เจ้าของธุรกิจด้านการการสื่อสาร ซื้อ ชาโต กาดิลแญก ออง ฟรงซาแดส์ (Cadillac-en-Fronsadais) หรือชื่อเดิม ชาโต กาดิลแญก หนึ่งในชาโตเก่าแก่ในบอร์กโดซ์ ในราคาที่ไม่เปิดเผย

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'      ลังและขวดเปล่าในเครือ Chateau Lafite

อย่างไรก็ตามก็มีเรื่องที่หลายฝ่ายหวั่นเกรงคือ การฟอกเงิน เมื่อปี 2018 อัยการฝรั่งเศสสั่งสอบนาย Qu Naijie นักธุรกิจชาวจีน ผู้ก่อตั้ง Haichang Group ในข้อหาฟอกเงินและฉ้อโกง หลังพบว่าในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา เขาซื้อชาโตไวน์ในฝรั่งเศสถึง 27 ชาโต ด้วยจำนวนเงินประมาณ 64 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้มี 10 ชาโตที่มีพิรุธการซื้อ จน National Financial Prosecutor’s Office (PNF) ในกรุงปารีสต้องเข้ามาควบคุม

เมื่อ ‘กลุ่มทุนจีน’ กลับมาไล่ล่า ‘ชาโตไวน์ฝรั่งเศส’ และ \'ไวน์บอร์กโดซ์\'     ไวเนอรีในบอร์กโดซ์ (Cr.lostinbordeaux.com)

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของขุมกำลังของกลุ่มทุนจีนในธุรกิจไวน์ ซึ่งนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป โลกของไวน์คงต้องจับตากันอย่างไม่กระพริบตาถึงความน่ากลัวของ “ทุนจีน” ที่จะหลั่งไหลเข้าไปในฝรั่งเศส โดยเฉพาะในบอร์กโดซ์