มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia

บางกอก คุนสตาเล่อ ประเดิมการเปิดตัวพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ด้วยนิทรรศการ Nine Plus Five Works ผลงานศิลปะร่วมสมัยของ มิเชล โอแดร์ (Michel Auder) ศิลปินระดับตำนาน ผู้สร้างสรรค์วิดีโออาร์ตชื่อดังแห่งยุค 60 จัดแสดงผลงานครั้งแรกใน Southeast Asia

บางกอก คุนสตาเล่อ (Bangkok Kunsthalle) พื้นที่จัดแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ในย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ก่อตั้งโดย มาริษา เจียรวนนท์ เมื่อต้นปี 2567 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดนิทรรศการ เสวนา และการแลกเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างผู้คนในวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

เปิดตัวนิทรรศการแรกแห่งปีด้วย Nine Plus Five Works ผลงานของ มิเชล โอแดร์ (Michel Auder) นักสร้างภาพยนตร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานเชิงทดลอง และผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแนว วิดีโออาร์ต ตั้งแต่ยุค 60 เป็นต้นมา

 

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia สเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา ภัณฑารักษ์, พรรณวลัย อินทราพิเชฐ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร ซัมซุง, มาริษา เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งบางกอก คุนสตาเล่อ, มิเชล โอแดร์ ศิลปินเจ้าของผลงาน Nine Plus Five Works
 

สเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา (Stefano Rabolli Pansera) เป็นภัณฑารักษ์ บางกอก คุนสตาเล่อ กล่าวว่า มิเชล โอแดร์ เกิดที่ฝรั่งเศส ปัจจุบันพำนักและทำงานในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ขณะนี้อายุ 79 ปี

เป็นศิลปินที่มีความโดดเด่นในด้านการสังเกตเชิงจินตภาพ มีความศรัทธา แน่วแน่และจริงใจในความรู้สึกและแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละยุคสมัย ผลงานภาพยนตร์ของเขาสามารถเรียกได้ว่า เป็นทั้งการสะท้อนภาพที่เสมือนจริงและมีไวยากรณ์ที่ลึกซึ้งราวกับบทกวีได้เช่นกัน

หนึ่งในเครื่องมือสร้างงานศิลปะที่สำคัญของโอแดร์คือ ‘กล้องวิดีโอแบบพกพา’ ทำให้เขามีโอกาสได้เก็บบันทึกภาพชีวิตส่วนตัวของเขาได้อย่างใกล้ชิด 

ผลงานของเขามักเป็นการทำงานผสานกันระหว่างความเป็นศิลปะ สารคดี และเรื่องราวส่วนตัว ราวกับเป็นการเขียนไดอารีหรือบันทึกความฝัน 

โอแดร์มีชื่อเสียงจากงานวิดีโออาร์ตเชิงทดลองที่ไม่บอกเล่าเรียงตามลำดับเวลา รวมถึงผลงานภาพยนตร์ที่ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวตามขนบทั่วไป ถือเป็นการแหกขนบธรรมเนียมการเล่าเรื่องในวิดีโออาร์ตและภาพยนตร์แห่งยุคสมัย

คอนเซปต์นิทรรศการ Nine Plus Five Works 

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia นิทรรศการ “Nine Plus Five Works” ของมิเชล โอแดร์

ผลงานของ มิเชล โอแดร์ ที่นำมาจัดแสดงใน บางกอก คุนสตาเล่อ ใช้ชื่อนิทรรศการว่า Nine Plus Five Works จัดแบ่งรูปแบบการนำเสนอออกเป็น 2 ประเด็น 

  • กลุ่มแรก ประกอบด้วยผลงาน 5 ชิ้น เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติด้วยการสร้างสรรค์อันซับซ้อน เนื่องจากธรรมชาติเป็นอนาคตของเราทุกคน ซึ่งมีความสำคัญ
  • กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยผลงาน 9 ชิ้น บอกเล่าพัฒนาการของโอแดร์ ผ่านการผสมผสานผลงานในประเภทต่าง ๆ เป็นการรวบรวมบันทึกเหตุการณ์ การเดินทาง ไดอารี วิดีโอพอร์เทรต รวมถึงวีดีโอเชิงทดลอง ที่โอแดร์ถ่ายทอดได้ลุ่มลึกราวกับบทกลอน และคอลเลคชั่นผลงานส่วนตัวที่โอแดร์ใช้เทคนิคการตัดต่อ การถ่าย และการบอกเล่าอย่างหลากหลาย

ภัณฑารักษ์กล่าวด้วยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ มิเชล โอแดร์ จัดแสดงผลงานของเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นิทรรศการครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก 'ซัมซุง' ในการยกระดับประสบการณ์การรับชมศิลปะที่เหนือชั้น ผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรมจอภาพระดับโลก Samsung Neo QLED 8K รุ่นใหม่ล่าสุด ให้ผู้ชมสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์การดื่มด่ำงานศิลปะผ่านหน้าจอแบบไร้ขีดจำกัด

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia Domaine de la Nature วิดีโออาร์ตกับภาพวาดดั้งเดิมของตึก

ผลงานที่โอแดร์นำมาแสดง อาทิ Domaine de la Nature วิดีโออาร์ตที่ร้อยเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยโอแดร์ตัดต่อจากการนำฟุตเทจที่เก็บไว้จากการใช้เวลาตระเวนถ่ายภาพธรรมชาติในสถานที่ต่างๆ นาน 4 ปี เลือกใช้ฉากที่แพนกล้องนานเป็นพิเศษ และตัดต่อโดยใช้วิธีการเล่าที่เนิบช้า พอตัดต่อเสร็จก็นำผลงานนี้เดินทางมาประเทศไทยทันที

“เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ ภาพวาดชิ้นนี้อยู่ในอาคารนี้อยู่แล้ว” ภัณฑารักษ์กล่าวพร้อมกับชี้ให้ชมภาพวาดสภาพป่าที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่ามากมายบนผนังในอาคาร บางกอก คุนสตาเล่อ 

“พอมาเห็น (ภาพวาดดังกล่าว) ศิลปินก็เลือกที่จะนำงานวิดีโออาร์ตธรรมชาติมาจัดแสดงในพื้นที่นี้ทันที เปรียบเสมือนการนำเสนอธรรมชาติในธรรมชาติ” ภัณฑารักษ์ กล่าว

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia จุดนั่งชมวิดีโออาร์ตชุด I’am So Jealous of Birds II (2554)

ผลงานที่เปรียบเสมือน ‘วิดีโอกลอนไฮกุ’ ได้แก่ I’am So Jealous of Birds II (2554) เป็นวิดีโอที่จับภาพท่าทางการเคลื่อนไหวของฝูงนกในนครนิวยอร์กที่เหินบินไปมาในนครใหญ่ แม้อยู่ในมหานครที่เต็มไปด้วยตึกสูงและการแข่งขัน แต่นกเหล่านี้กลับให้ความรู้สึกถึงการมีอิสระและเสรีภาพ

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia วิดีโออาร์ตชุด Gemalde (2554 แก้ไขปี 2562)

วิดีโออาร์ตชุด Gemalde (2554 แก้ไขปี 2562) เป็นงานถ่ายภาพพอร์เทรตรูปปั้น ภาพวาด ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ภาพใบหน้าแสดงภาวะอารมณ์ต่างๆ เช่น โกรธ กลัว รัก ปรารถนา เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์

ภัณฑารักษ์กล่าวว่า เวลาเราชมงานชิ้นนี้จึงเหมือนได้เผชิญหน้าใบหน้าซึ่งมีอารมณ์หลากหลาย เป็นความตั้งใจของศิลปิน

 

ผลงานจากการเป็น ‘ศิลปินในพำนัก’

ผลงานส่วนหนึ่งใน นิทรรศการ Nine Plus Five Works ยังสร้างสรรค์ขึ้นจากการที่ มิเชล โอแดร์ เป็น Artist in Residence หรือ ‘ศิลปินในพำนัก’ ซึ่งสนับสนุนโดย บางกอก คุนสตาเล่อ เป็นอีกหนึ่งความพิเศษของนิทรรศการครั้งนี้

‘ศิลปินในพำนัก’ หมายถึงโครงการที่ให้เวลาศิลปินมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองๆ หนึ่ง แล้วสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ที่ได้รับจากประสบการณ์ในการพำนัก 

โอแดร์สร้างสรรค์ผลงานใหม่จำนวน 2 ชิ้น จากการเข้ามาเป็น Artist in Residence ในไทยเป็นเวลา 2 เดือน 

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia วิดีโออาร์ต Flowers of Thailand (2023)

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia ภาพจากวิดีโออาร์ต Flowers of Thailand (2023) ดอกไม้ที่กลายเป็นเรื่องของรูปทรง

ผลงานชิ้นแรกคือ Flowers of Thailand (2023) โอแดร์ได้ถ่ายทอดท่วงทำนองแห่งกรุงเทพฯ เป็นผลงานวิดีโออาร์ตแบบศิลปะจัดวาง โดยใช้ ‘จอภาพ’ ระดับ 4K จำนวน 2 จอ วางเรียงเคียงกัน จอภาพทั้งสองจอเล่นภาพจากวิดีโอชุดเดียวกัน แต่เปิดไม่พร้อมกัน ให้ความรู้สึกคล้ายกับการเขียนจดหมายที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างรูปร่างและสีสัน 

“โดยส่วนตัวโอแดร์เป็นคนชอบดอกไม้ เขาเลือกใช้เทคนิคซูมอินเข้าไปมากๆ จนภาพที่ได้มีความเป็นแอ็บสแตรกต์ จนไม่เหลือความเป็นดอกไม้  กลายเป็นเรื่องของสีสันและรูปทรงที่เขาสนใจ เขาใช้เวลาช่วงที่เป็นศิลปินในพำนักถ่ายดอกไม้ไทยที่เขาชอบ” ภัณฑารักษ์กล่าวถึงผลงาน Flowers of Thailand (2023)

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia ภาพจากวิดีโออาร์ต Yaowarat (2023)

ผลงานอีก 1 ชิ้นคือ Yaowarat (2023) พรรณาภาพชีวิตประจำวันบนท้องถนนของกรุงเทพฯ การเคลื่อนไหวที่ลื่นไหล สอดคล้อง แต่ไม่ได้นัดหมายของผู้คนและสินค้า

หลายคนได้ชมงาน Yaowarat (2023) แล้วอาจสงสัย วิดีโอที่บันทึกการทำงานขนของส่งของหน้าตึกแถวแห่งหนึ่งในเยาวราช ผลงานชิ้นนี้มีความน่าสนใจตรงไหน เดินไปตรงไหนในเยาวราชก็มักเห็นภาพเช่นนี้

ทอม ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ ช่างภาพมือรางวัลระดับนานาชาติ ให้ความเห็นกับ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ถึงผลงานของ มิเชล โอแดร์ มาจนถึง Yaowarat (2023) ว่า

“จริงๆ งานของศิลปินรุ่นใหญ่ทุกคนมีส่วนสำคัญในการที่เราใช้เป็นการอ้างอิงในการศึกษาพัฒนาตัวเอง และดูว่าวิธีการทำงานของศิลปินแต่ละคนกว่าจะผ่านจุดไหนมาบ้าง มีการฝึกฝนอย่างไร การก้าวผ่านแต่ละขั้นเป็นอย่างไร มีการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

แต่งานของมิเชลโอแดร์มีความแตกต่าง เช่นงานที่พูดถึงเรื่อง Voyage to The Center of The Telephone Lines (1993) ในยุคนั้นการที่จะเอาภาพวิวทิวทัศน์มาเชื่อมโยงกับเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์มือถือนิรนาม คนยุคนี้อาจดูเป็นเรื่องปกติ เพราะเราใช้เสียงในการทำวิดีโอติ๊กต้อก แต่ในยุคนั้นค่อนข้างที่จะเป็นที่ถกเถียง คนอาจจะไม่ได้สัมผัสสิ่งนี้ แต่เราศึกษางานของเขาแล้วดูในบริบทประเด็นสังคม ผมรู้สึกว่าเขากล้ามาก”

ในหลายๆ งาน เช่นงานเยาวราช เราเห็นแล้วมันพิเศษตรงไหน ใครๆ ก็ถ่ายได้ แต่เราไม่เคยถ่าย เพราะเขาเห็นสิ่งพิเศษที่อยู่ในโซนนี้ แต่สิ่งนี้ต้องศึกษาดูว่าพิเศษอย่างไรจากประสบการณ์ของตัวเรา ผมว่างานศิลปะทุกชิ้นต้องใช้ประสบการณ์ที่เรามี ความรู้ที่เรามี เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับงาน”

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia

มิเชล โอแดร์ กับภัณฑารักษ์ ด้านหลังคือวิดีโออาร์ต ​Yaowarat (2023)

มิเชล โอแดร์ ปรมาจารย์โลกวิดีโออาร์ต จัดแสดงงานครั้งแรกใน Southeast Asia มิเชล โอแดร์ กล่าวถึงวิดีโออาร์ต ​Yaowarat (2023)

ขณะที่โอแดร์กล่าวถึงงานชิ้นนี้ว่า สิ่งที่เขาชอบที่สุดของงานชิ้นนี้เหมือนทุกอย่างกำลังเกิดความโกลาหล แต่ไม่มีเสียง ไม่มีการตะโกนโวยวาย ทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร ณ เวลานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน ทุกคนเหมือนเป็นเครื่องจักรทำไปตามหน้าที่

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชม นิทรรศการ “Nine Plus Five Works” ของ มิเชล โอแดร์ ได้ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บางกอก คุนสตาเล่อ เลขที่ 599 ถนนไมตรีจิตต์ แขวงป้อมปราบ กรุงเทพฯ เปิดตั้งแต่เวลา 12.00 - 20.00 น.

ภาพ : กอบภัค พรหมเรขา