เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ เจ้าหญิงไดอานา

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา

เคท มิดเดิลตัน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สัญลักษณ์เบื้องหลังเครื่องประดับและแฟชั่นที่สวมใส่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คิงชาร์ลส์ที่ 3 เพื่อถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าหญิงไดอาน่า ผู้ล่วงลับ

แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ หรือนามเดิม แคเธอริน เอลิซาเบธ มิดเดิลตัน (เคท มิดเดิลตัน) ทรงเป็นพระชายาใน เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 1 ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษ 

ก่อน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 สมเด็จพระราชบิดาของเจ้าชายวิลเลียม มีการคาดการณ์ไปต่างๆ นานาว่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จะฉลองพระองค์ในลักษณะใด ร่วมสมัยหรือแบบโบราณราชประเพณี จะทรงมงกุฎองค์ใดหรือไม่ เนื่องจากพระองค์ทรงมีความคิดแบบคนรุ่นใหม่ แต่ก็รักษากฎระเบียบแห่งราชวงศ์

นอกจากไม่ทำให้ผู้ชื่นชอบพระองค์ผิดหวัง เจ้าหญิงแห่งเวลส์ยังทรงฉลองพระองค์อย่างมีความหมายยิ่ง

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา

ฉลองพระองค์เจ้าหญิงแห่งเวลส์

แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงสวมฉลองพระองค์ในลักษณะชุดกระโปรงยาวผ้าไหมสีงาช้าง พร้อมปักประดับเป็นรูป ดอกไม้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ 4 ประเทศ ที่ประกอบกันเป็นบริเตนใหญ่ 

ฉลองพระองค์ชุดนี้ออกแบบและตัดเย็บถวายโดยแบรนด์ Alexander McQueen ของดีไซเนอร์ชาวอังกฤษนาม อเลกซานเดอร์ แม็กควีน ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการแฟชั่นระดับโลก

ทั้งนี้ เจ้าหญิงแห่งเวลส์เมื่อครั้งยังเป็น เคท มิดเดิลตัน พระองค์ก็ทรงเลือกให้แบรนด์ Alexander McQueen ออกแบบฉลองพระองค์ชุดเจ้าสาวเพื่อเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลียมในปี 2011 

ความอ่อนหวานผสานความโก้หรูและงามสง่าของฉลองพระองค์ชุดเจ้าสาวของพระองค์ครั้งนั้น กลายเป็นต้นแบบชุดแต่งงานในหน้าประวัติศาสตร์สำหรับเจ้าสาวค่อนโลกในเวลาต่อมานับแต่วันนั้น
 

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา

เว็บไซต์นิตยสารเจ้าสาวในอเมริกาแสดงความเห็นว่า ฉลองพระองค์ชุดนี้ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์มีกลิ่นไอของชุดแต่งงาน 

อาจเป็นเพราะ เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการภายในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ นอกจาก กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีคามิลลา ได้รับการสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการในฐานะกษัตริย์และราชินีองค์ใหม่แห่งอังกฤษ 

ช่วงเวลาดังกล่าวยังมีความหมายเช่นเดียวกับพิธีอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์อีกด้วย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่พระชายาคามิลลาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชินีอย่างเป็นทางการ

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา

นอกจากฉลองพระองค์ผ้าไหมสีงาช้าง เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ยังทรงสวมผ้าคลุมไหล่เครื่องแบบพิธีการของทหารรักษาพระองค์แห่งเวลส์ คลุมฉลองพระองค์ไว้เบื้องนอกอีกชั้น

สำหรับ เครื่องทรง หรือเครื่องประดับทุกชิ้นที่ แคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงเลือกมาประดับเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฯ ยังมีความหมายยิ่ง โดยเป็นการถวายพระเกียรติและระลึกถึง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าหญิงไดอาน่า ผู้ล่วงลับ

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กับสร้อยพระศอระย้าซ้อน 3 ชั้น

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงถวายพระเกียรติแด่ ‘สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2’ ด้วยการทรง สร้อยพระศอระย้าซ้อน 3 ชั้น ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

ความสำคัญของสร้อยพระศอเส้นนี้ เดิมทีสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 โปรดให้สร้างขึ้นในปี 1950 เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญให้กับพระธิดา คือ ‘เจ้าหญิงเอลิซาเบธ’ ซึ่งเคยสวมใส่แล้วก่อนพระองค์ได้รับการสวมมงกุฎเป็นควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1953

และนับจากเสด็จขึ้นเป็นราชินีแห่งอังกฤษ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ก็ทรงสร้อยพระศอเส้นนี้ทรงงานสำคัญหลายครั้ง

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา พระกุณฑลไข่มุกทะเลใต้

สำหรับการถวายพระเกียรติแด่ ‘ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ผู้ล่วงลับ’ เจ้าหญิงเคททรงเลือกสวม พระกุณฑลไข่มุกทะเลใต้ (South Sea) เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 

พระกุณฑลหรือต่างหูไข่มุกเซาธ์ซีประดับเพชรคู่นี้ เป็นต่างหูคู่โปรดของเจ้าหญิงไดอานา โดดเด่นด้วยการออกแบบเป็นรูปเกือกม้าที่ด้านบนร้อยเชื่อมต่อเหมือนเชือกถักประดับเพชรลดหลั่นลงมา ส่วนปลายสุดประดับไข่มุกทะเลใต้

เจ้าหญิงไดอานาทรงต่างหูคู่นี้ออกงานหลายโอกาส มีบันทึกพระฉายาลักษณ์ปรากฏอยู่ในภาพข่าวหลายครั้งมาก อาทิ 

  • ทรงประดับเมื่อครั้งร่วมงานเลี้ยงราชาภิเษกองค์จักรพรรดิฮากิฮิโตะและจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน ปี 1990
  • ทรงรวมงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการที่เมืองละฮอร์ในการเยือนปากีสถาน ปี 1991
  • ทรงต่างหูคู่นี้กับมงกุฎสเปนเซอร์ (Spencer Tiara) ทอดพระเนตรการแสดงบัลเลต์แห่งชาติอังกฤษในบูดาเปสต์ ปี 1992
  • ทรงร่วมงานเลี้ยงรัฐพิธีในเกาหลีใต้ ปี 1992
  • พิธีรับรางวัล Henry Kissinger ในฐานะ ‘นักมนุษยธรรมแห่งปี’ ปี 1996 ที่นิวยอร์ก

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา เครื่องประดับพระเศียรดอกไม้ถักสีเงินแทนมงกุฎ

เจ้าหญิงเคท ทรงแสดงให้เห็นด้วยว่า พระองค์สามารถทำให้แฟนๆ ประหลาดใจด้วยการเลือกแฟชั่นขององค์เองได้เสมอ 

พระองค์ไม่เลือกที่จะทรงมงกุฎแบบดั้งเดิมในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และทรงเลือกเป็น เครื่องประดับพระเศียรสีเงิน ของ Jess Collett x Alexander McQueen ถักโลหะเป็นรูปดอกกุหลาบ ดอกธิสเซิล ดอกแดฟโฟดิล และดอกแชมร็อก ดอกไม้สัญลักษณ์ของสี่ชาติที่รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร

ในราชพิธีนี้ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงพระดำเนินเคียงข้างพระสวามี เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งอยู่ในฉลองพระองค์เครื่องแบบพิธีการของทหารองครักษ์แห่งเวลส์ ตัดเย็บจาก Hainsworth Scarlet Wool Doeskin (เนื้อผ้าชั้นเยี่ยมของอังกฤษ) เป็นแบบกระดุมแถวเดียวพร้อมปกตั้ง ปักลายดอกสีเงินบนปกเสื้อเป็นตราสัญลักษณ์ของทหารองครักษ์แห่งเวลส์

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์และเจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์

ขณะที่พระธิดา เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ อายุ 8 พระชันษา ทรงฉลองพระองค์ชุดกระโปรงแบรนด์ อเลกซานเดอร์ แม็กควีน และเสื้อคลุมเครปผ้าไหมสีงาช้างพร้อมงานปักผ้าซาตินสีงาช้างที่มีลวดลายดอกกุหลาบ ดอกธิสเซิล ดอกแดฟโฟดิล และดอกแชมร็อก ประดับที่คาดพระเกศาของ Jess Collett x Alexander McQueen แบบเดียวกับพระมารดา

เจ้าหญิงเคท เครื่องทรงนี้เพื่อถวายพระเกียรติ ควีนเอลิซาเบธ  เจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ ทรงจับพระหัตถ์เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์

พระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ อายุ 5 พระชันษา ทรงฉลองพระองค์สากลพร้อมเสื้อคลุมแบบ tunic ตัดเย็บด้วยผ้า Hainsworth Garter Blue Doeskin ตกแต่งงานลูกไม้ที่ออกแบบเป็นพิเศษที่คอเสื้อ ปลายแขนและด้านหน้า

ฉลองพระองค์ของเจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ ตัดเย็บโดยช่างตัดเสื้อ Dege and Skinner หนึ่งในช่างตัดเสื้อสั่งตัดที่ดีที่สุดของ Savile Row ร้านเสื้อสั่งตัดเก่าแก่ระดับไฮเอนด์ในลอนดอน ปัจจุบันดำเนินงานโดยทายาทรุ่นที่สามของดยุคแห่งเบอร์ลิงตัน สืบทอดกิจการมาตั้งแต่ช่วงปี 1970