ปิดฉาก 'ตึกหุ่นยนต์' กับวิบากกรรม 'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ปิดฉาก 'ตึกหุ่นยนต์' กับวิบากกรรม 'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

เมื่อ "ตึกหุ่นยนต์" ในแบบที่คุ้นตาบนถนนสาทรกำลังจะหายไป สะท้อนวิบากกรรม "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" ตึกกลางเก่ากลางใหม่ ไม่สวยทันสมัย แล้วก็ไม่เก่าร้อยปีที่ต้องอนุรักษ์ จนตึกยุคโมเดิร์นที่เคยมีจำนวนมากลดน้อยลงทุกที

Key Points :

  • ตึกหุ่นยนต์​ บนถนนสาทร กำลังถูกคลุมผ้าใบเพื่อรีโนเวทภายนอกใหม่ นำมาซึ่งความกังวลใจว่า พยานหลักฐานแห่ง "ยุคโมเดิร์น" กำลังจะหายไปอีกหนึ่งตึก
  • ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ออกแบบตึกหุ่นยนต์ รวมถึงกลุ่มกลุ่ม Docomomo Thai ได้ส่งหนังสือถึงเจ้าของตึกเพื่อขอให้ระงับการเปลี่ยนแปลงภายนอกตึก แต่การรีโนเวทยังคงดำเนินต่อไป
  • ที่ผ่านมา สถาปัตยกรรมโมเดิร์น มักถูกมองข้ามเรื่องการอนุรักษ์ ด้วยความที่อายุกลางเก่ากลางใหม่ ในแง่การใช้งานไม่ได้ฟังก์ชั่นกับยุคสมัย แต่ก็ไม่ได้เป็นตึกโบราณถึงขั้นต้องอนุรักษ์ไว้ จึงมักถูกทุบและแทนที่ด้วยตึกทันสมัย และค่อยๆ เลือนหายไปทีละตึก

ข่าวการรื้อเพื่อรีโนเวท “ตึกหุ่นยนต์” หรือ Robot Building ถนนสาทร ที่ดูเหมือนจะส่งเสียงดังแบบเงียบๆ ในวงจำกัด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ นี่ไม่ใช่การ “ทุบทั้งหมด” แต่เป็นการปรับดีไซน์บางส่วนใหม่

แต่ดีไซน์ใหม่ “ในบางส่วน” ที่ว่านั้น กลับเป็นประเด็นสำคัญในมุมมองนักออกแบบรวมถึงกลุ่มคนที่ชื่นชอบ “สถาปัตยกรรมโมเดิร์น” เมื่อได้เห็นภาพ “น็อตยักษ์” อันเป็นส่วนหนึ่งในเอกลักษณ์ของตึก และเป็น "หน้าต่าง" ที่ไม่เหมือนใคร ถูกถอดออกมากอง จนอดหวั่นใจไม่ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงภายนอกว่า อาจจะมากถึงขั้น "ปิดฉากตึกหุ่นยนต์" ในแบบที่เราคุ้นตากันดีเลยก็เป็นได้

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

รวมถึงมีข่าวว่า ดีไซน์ใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ จะเปลี่ยนโฉมด้านข้างตึกที่เคยปูนให้เป็นกระจกทั้งหมด จนอาจไม่เหลือเค้าของความเป็นหุ่นยนต์อย่างเดิม!

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

เสียงคัดค้านจึงเกิดขึ้น ทั้งโดย “ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา” สถาปนิกผู้ออกแบบตึกหุ่นยนต์ ที่ได้เขียนจดหมายส่งถึงธนาคารยูโอบีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ เพื่อขอให้ทบทวนการรีโนเวทใหม่ โดยเฉพาะการรื้อ "ภายนอกอาคาร" จนอาจเสียเค้าโครงงานออกแบบเดิม

"ผมติดต่อไป เขาบอกว่า เขาก็ภูมิใจตึกนี้เหมือนกัน และจะสร้างตึกหุ่นยนต์เล็กๆ วางตั้งโชว์ที่ล็อบบี้ข้างล่าง​ เป็นการล้อเลียนแบบ โห..ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า add salt to injury เจ็บใจอยู่แล้ว ยังมาทำให้เจ็บแสบอีก”

เป็นใจความตอนหนึ่งที่ ดร.สุเมธ ให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการ suthichai live สัมภาษณ์โดย สุทธิชัย หยุ่น เมื่อ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

โมเดลตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

  • ก่อนจะมาเป็น "ตึกหุ่นยนต์"

สำหรับประวัติของตึกหุ่นยนต์ (Robot Building) เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารเอเซีย แต่ภายหลังถูกขายต่อ และเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548–2565 มีความสูง 20 ชั้น ตั้งอยู่ที่ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร อาคารออกแบบโดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย) ตึกก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529

ที่มาที่ไปของดีไซน์กว่าเป็นตึกหน้าตาน่าเอ็นดูอย่างที่เห็นนั้น ดร.สุเมธ เล่าผ่านในหลายๆ บทสัมภาษณ์ว่า เพราะต้องการสื่อถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคาร ขณะเดียวกันก็นึกถึงศัพท์คำว่า user friendly ว่า ธนาคารเอเชียควรมีภาพลักษณ์แบบ user friendly ประกอบกับอนาคต(จากมุมมองเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว) เครื่องยนต์และหุ่นยนต์จะเป็นองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา จึงเป็นแนวคิดที่มาของตึกหุ่นยนต์

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ! "น็อต" หนึ่งในเอกลักษณ์ของตึกหุ่นยนต์ ที่เป็นหน้าต่างไปด้วยในตัว (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

อย่างไรก็ตาม ในฐานะ “เพื่อนกัน” เมื่อ ยศ เอื้อชูเกียรติ มอบหมายงานมาให้ “ดร.สุเมธ" ทำการออกแบบอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารเอเชีย จึงค่อนข้างให้อิสระทางความคิดโดยส่วนใหญ่ แต่ก็มีที่ "ไอเดียถูกปัดตก" ไปเหมือนกัน!

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

“ตอนที่ออกแบบเสร็จใหม่ๆ ที่โถงทางเข้า เราก็เสนอให้สร้างหุ่นยนต์ 2 ตัว พอลูกค้าเข้ามา หุ่นยนต์ก็จะมาทักทายลูกค้าและนำลูกค้าเดินไปหาเจ้าหน้าที่ที่ประสงค์จะพบ โดยควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรลที่หลังเคาน์เตอร์

ตอนนั้นออกแบบหุ่นยนต์ดังกล่าวไปแล้ว และคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังบอกว่าทำได้ในราคา 300,000 กว่าบาท ในสมัยนั้นก็แพงเอาการอยู่ พอผมนำไปเสนอกับเจ้าของอาคาร เขาก็บอกว่า ‘แค่นี้ก็บ้าพอแล้ว’ ก็เลยจบกัน”

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ! รายละเอียดการออกแบบภายในลิฟต์ (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

หรืออีกหนึ่งไอเดียที่ถูกปัดตก คือ..

“ในระหว่างการก่อสร้าง ก่อนที่จะถึงส่วนยอดของอาคาร ผมได้เสนอเจ้าของให้เพิ่มงบประมาณอีกเล็กน้อยเพื่อให้ส่วนหัวของตึกหุ่นยนต์ค่อยๆ หมุนกลับไป-มาได้ ในทางก่อสร้างนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยาก ตอนนั้น อาคารที่มีร้านอาหารบนชั้นหลังคาซึ่งหมุนได้รอบมีเยอะแยะไป เขาก็บอกกลับมาเช่นเดิมว่า ‘พอแล้ว ไม่เอาแล้ว แค่นี้ก็บ้าพอแล้ว’ ก็เลยจบไปอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย” ดร.สุเมธ เล่าไว้ในวารสาร ASA journal

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

และบอกว่า ในตอนนั้น เขาได้เขียนจดหมายถึง Guinness Book of World Records เพื่อขอเคลมว่า อาคารนี้เป็นหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

“เขาก็ตอบผมว่าเขาได้ตั้งไฟล์สำหรับอาคารหลังนี้ไว้แล้ว แต่ก็เสียใจที่ไม่สามารถทำเรื่องให้ได้ เนื่องจากว่าตัวอาคารไม่ได้ขยับ ถ้ามีการขยับเขยื้อนแม้เพียงนิดเดียว เขาก็จะลงบันทึกให้ได้เลย ทำให้ผมนึกเสียดายแทนเจ้าของที่ว่า ถ้าเจ้าของยอมนะ เมืองไทยก็ได้รับชื่อเสียงในส่วนนี้ด้วย”

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

มองจากรูน็อตออกมาภายนอก (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

  • ตึกโมเดิร์น หมุดหมายประวัติศาสตร์ ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่

ในแง่การอนุรักษ์ แม้ตึกกลางเก่ากลางใหม่อย่างตึกหุ่นยนต์  รวมตึกอื่นๆ ร่วมยุคเดียวกัน จะไม่เข้าข่ายโบราณสถานเก่าแก่ที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" จะไร้ค่าเสียทีเดียว

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

สำหรับกรณีการรีโนเวทตึกหุ่นยนต์ในครั้งนี้ กลุ่ม Docomomo Thai (คณะทำงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยการเก็บข้อมูลและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโมเติร์นไทย) โดย “ปองขวัญ ลาซูส” ในนามของประธานกลุ่ม ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารธนาคาร UOB ประเทศไทย เช่นกัน โดยมีหัวเรื่องว่า “ขอความอนุเคราะห์พิจารณาเปลี่ยนแปลงแบบปรับปรุงภายนอกอาคารหุ่นยนด์ (Robot Building)” ลงวันที่ 5 เมษายน 2566

ใจความหลักๆ ที่กลุ่ม Docomomo Thai ให้เหตุผลถึงการยื่นจดหมาย คือ เนื่องจาก “ตึกหุ่นยนต์” มีความสำคัญในฐานะหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นยุคเปลี่ยนผ่านจาก Later Modernism สู่ Post-Modernism

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ! ตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building อยู่ระหว่างรีโนเวท (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

พร้อมกันนี้ ยังระบุถึงแผนงานที่ Docomomo Thai และ Docomomo Japan กำลังทำอยู่ คือ รวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรมโมเติร์น 100 อาคาร ในประเทศไทย ซึ่ง อาคารหุ่นยนต์ (Robot Building) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในอาคาร 20 หลังที่มีความโดดเด่นที่สุด จึงอยู่ในแผนที่จะจัดให้อาคารดังกล่าวเข้าไปอยู่ใน mapping “MoMap” ในเว็บไซต์ Docomomo International ด้วย

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

“จึงขอความอนุเคราะห์จากทางท่านผู้บริหารธนาคาร UOB ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ครอบครองอาคาร Robot Building ถนนสาทร พิจารณาเปลี่ยนแปลงแบบปรับปรุงภายนอกให้คงสภาพเดิมที่มีความแท้ (authenticity) เพื่อคงประโยชน์สาธารณะในฐานะมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่มีความโดดเด่น ทรงคุณค่าในระดับสากล และรักษาผลประโยชน์ขององค์กรของท่านในการที่ในอนาคตอาจได้รับสิทธิ์มาตรการโอนสิทธิ์การพัฒนา (Transfer of Development Rights หรือ TDR) ของอาคารประวัติศาสตร์หรืออาคารควรค่แก่การอนุรักษ์ตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรของท่านในการเป็นผู้นำต้านการสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทยจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดความเสียหายที่ไม่อาจเรียกกลับคืนมา” ท่อนลงท้ายในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว

แต่เรื่องก็ยังเงียบไร้วี่แววการตอบกลับ โดยตัว ดร.สุเมธ เองก็ถอดใจแล้วว่า คงหมดหวัง “ถึงเขียนอย่างไร เขาก็คงไม่ฟัง เพราะเขาทำไปแล้วเยอะแยะแล้ว”

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ตึกหุ่นยนต์ หรือ Robot Building (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

  • วิบากกรรมตึกยุคโมเดิร์น

แม้ชื่อเรียกจะบอกว่า “โมเดิร์น” ที่แปลว่า “ทันสมัย” แต่สถาปัตยกรรมยุคนี้กลับไม่ใช่ความทันสมัยในแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ที่จัดอยู่ในยุค “คอมเทมโพรารี”) โดยถ้าจะนึกให้ง่ายๆ ว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์น หน้าตาเป็นแบบไหน ก็ให้นึกถึง ธนาคารยุคเก่า รวมถึง โรงหนังสกาลา หรือ ตึก AUA ถนนราชดำริ และ โรงแรมดุสิตธานี ที่ต่างก็ถูกทุบไปแล้ว ก็ถือว่า “ใช่” เช่นกัน

ปิดฉาก \'ตึกหุ่นยนต์\' กับวิบากกรรม \'สถาปัตยกรรมโมเดิร์น\' ที่มักไม่ได้ไปต่อ!

ภาพถ่ายตึกหุ่นยนต์เมื่อปี 2013 (เครดิตภาพ : เพจ Foto_momo)

ชะตาของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเหล่านี้ล้วนอยู่ในภาวะ “หมิ่นเหม่” ตามแบบที่บทความบนเว็บไซต์ optimise เขียนอธิบายไว้ถึงเหตุผลที่ตึกเหล่านี้มักถูกทุบทิ้ง คือ “ด้วยรูปลักษณ์ที่เก่าล้าสมัย สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ครบครัน หรือการใช้พื้นที่ที่หละหลวมไม่คุ้มกับราคาที่ดินในปัจจุบัน”

การจะอนุรักษ์อาคารโมเดิร์น จึงไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดที่ “อายุ” หรือ “ความเก่า” แบบที่เราคุ้นกันในทำเนียบโบราณสถานของหน่วยงานรัฐได้ แต่อาคารเหล่านี้มี “คุณค่า” ในเชิงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในฐานะประจักษ์พยานของการพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคใหม่ ที่หากไม่รักษาไว้ ก็อาจสูญหายไปตลอดกาล

 

อ้างอิง : asa.or.th , culture.go.th , suthichai live , เพจ Foto_momo