‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น 'พื้นที่สุขภาวะ'

‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น 'พื้นที่สุขภาวะ'

สสส. จับมือ กทม., กลุ่ม we!park และภาคี Healthy Space Alliance เปิด "พัก กะ Park" กิจกรรมที่มาพัฒนาสวนสาธารณะรวมถึงพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม นำร่องอุทยานเบญจสิริ 24 และ 31 มี.ค. นี้ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ปัง ห่างไกลโรค NCDs

KEY

POINTS

  • สสส. จับมือ กทม., กลุ่ม we!park และภาคี Healthy Space Alliance เปิด "พัก กะ Park" กิจกรรมที่มาพัฒนาสวนสาธารณะรวมถึงพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม
  • พื้นที่สุขภาวะคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สุขภาพของคนในเมืองดีขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่สังคมไทยกำลังเป็นสังคมผู้สูงวัย และคุณภาพสิ่งแวดล้อมกำลังเข้าขั้นวิกฤติ
  • จากการผลักดันให้เกิดพื้นที่สุขภาวะ ทำให้ สสส. ค้นพบแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม 9 ด้านสำคัญ ที่นำไปสู่ผลสำเร็จของโครงการ และเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศอย่างยั่งยืน
  • กิจกรรม ‘พัก กะ Park’ มีในวันที่ 24 และ 31 มี.ค.2567 ณ อุทยานเบญจสิริ จะประกอบด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนา บริหารจัดการ และขยายแนวร่วมนักพัฒนาพื้นที่สาธารณะ

สสส. จับมือ กทม., กลุ่ม we!park และภาคี Healthy Space Alliance เปิด "พัก กะ Park" กิจกรรมที่มาพัฒนาสวนสาธารณะรวมถึงพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม นำร่องอุทยานเบญจสิริ 24 และ 31 มี.ค. นี้ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ปัง ห่างไกลโรค NCDs

จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพถึง 4 เรื่อง สูบบุหรี่ครองแชมป์ ตามด้วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนอันดับสามคือกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ และสี่ มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ตอกย้ำด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 กดอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2562 เหลือ 68.1 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2566

ด้วยตัวเลขที่น่าเป็นห่วงนี้ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance) จัดกิจกรรม พัก กะ Park หวังจุดประกายให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะโดยมีพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วมมารองรับอย่างเพียงพอ

‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น \'พื้นที่สุขภาวะ\'

นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เผยถึงความสำคัญของพื้นที่สุขภาวะว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นพื้นที่รอบตัว ไม่ว่าจะบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน และพื้นที่รอบตัวทุกคนของแต่ละช่วงวัย โดยที่ผ่านมา สสส. และภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมแนวคิดพื้นที่สุขภาวะ ด้วยการปรับพื้นที่ว่าง เส้นทางสัญจร พื้นที่สวนสาธารณะ สวนส่วนกลางชุมชน และพื้นที่ในสถานที่ของทั้งภาครัฐและเอกชน ให้คนในชุมชนบริเวณรอบข้างดำเนินชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉงด้วยความปลอดภัย

“ทั่วโลกเทรนด์เรื่องสุขภาพมาแรง เกิดจากคนเริ่มเห็นความสำคัญว่าสิ่งรอบตัวเราถ้าสภาพแวดล้อมมันไม่เอื้อจะนำไปสู่การมีสุขภาพไม่ดี ทำให้เราเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงเป็นที่มาของการที่ สสส. เล็งเห็นว่าเราเป็นองค์กรที่ทำเรื่องสุขภาพ จุดประกาย กระตุ้น สานและเสริมพลัง เราจึงจุดประกายให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ หรือแม้กระทั่งจุดประกายให้ตัวเราเองมีสุขภาพดี ปลอดจากสิ่งที่ทำลายสุขภาพ เข้าไปสู่พื้นที่ที่เรียกว่าพื้นที่สุขภาวะ”

‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น \'พื้นที่สุขภาวะ\' นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.

เรื่องการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่เทรนด์ของโลกก็เป็นเช่นเดียวกัน เหมือนกับที่ ยศพล บุญสม หัวหน้ากลุ่ม we!park และผู้ประสานงานเครือพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ บอกว่าพื้นที่สุขภาวะคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สุขภาพของคนในเมืองดีขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่สังคมไทยกำลังเป็นสังคมผู้สูงวัย และคุณภาพสิ่งแวดล้อมกำลังเข้าขั้นวิกฤติ

“เราเห็นสัญญาณถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั้งร่างกายและสภาพจิตใจ ซึ่งหลายเมืองทั่วโลกก็ประสบปัญหานี้ เลยเกิดรูปแบบของการพัฒนามากขึ้น แต่สัญญาณเชิงบวกก็มี คือพฤติกรรมคนให้ความสำคัญเรื่องสุขภาวะมากขึ้นหลังโควิด-19 ก็จะเริ่มเห็นเอกชนที่พยายามผสานพื้นที่สุขภาวะเข้าไปอยู่ในการพัฒนาโครงการมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะเริ่มเห็นแล้วว่านี่คือโซลูชัน แต่จะทำอย่างไรให้โซลูชันนี้ไปอยู่ในทุกพื้นที่ของเมือง

เรามองว่ากลไกการพัฒนาจะไม่ใช่แค่รัฐอย่างเดียวแล้ว จะเป็นกลไกความร่วมมือ โดยเฉพาะเอกชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการพัฒนาต่อจากนี้

อีกข้อค้นพบหนึ่งคือโมเดลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะมีหลากหลายโมเดลมาก อาจเป็นพื้นที่รัฐลงทุนโดยรัฐ พื้นที่รัฐลงทุนโดยเอกชน หรือแม้กระทั่งพื้นที่เอกชนลงทุนโดยเอกชนเอง อีกประเด็นคือพื้นที่สุขภาวะมีมิติหลากหลายมาก ทั้งมิติเรื่องช่วยลดมลพิษ เป็นพื้นที่รับน้ำ เป็นพื้นที่อาหาร เป็นพื้นที่เชิงวัฒนธรรม เป็นพื้นที่เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นอกจากนี้เรายังค้นพบว่าเราไม่ได้มองแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เราพูดถึงสวนที่ขยับสู่ย่าน เพราะฉะนั้นหลายพื้นที่ต่อเนื่องกันคือโครงข่ายของพื้นที่สีเขียว พื้นที่สุขภาวะที่จะทำให้ย่านและเมืองดีไปด้วยกัน”

‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น \'พื้นที่สุขภาวะ\' ยศพล บุญสม หัวหน้ากลุ่ม we!park

จากการผลักดันให้เกิดพื้นที่สุขภาวะ ทำให้ สสส. ค้นพบแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม 9 ด้านสำคัญ ที่นำไปสู่ผลสำเร็จของโครงการ และเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศอย่างยั่งยืน  อาทิ  การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสุขภาวะคน และสุขภาวะเมือง  ซึ่งในไทยพบแนวโน้มที่พัฒนาได้ 6 แบบ คือ 1.การออกแบบที่สอดรับกับผู้ใช้งานทั้งสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบพลเมือง (Active Citizen) และเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน (Child -Friendly city) 2.การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3.การลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน4.การสร้างพื้นที่สุขภาวะ เช่น สวน 15 นาที 5.สร้างกิจกรรมทางกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ลดภาวะความเครียดและอาการวิตกกังวล และ 6.ความมั่นคงทางด้านอาหาร,

แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว สู่การสร้างเสริมสุขภาวะคนและสุขภาวะเมือง ซึ่งพัฒนาได้ 6 ประเภท คือ พื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะแก่คนในชุมชน, พื้นที่เชื่อมต่อเมืองเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน, พื้นที่วิถีชีวิตและธรรมชาติชุมชนริมน้ำ, พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์จากส่วนร่วมของชุมชน, พื้นที่แปลงเกษตรสำหรับคนเมือง และพื้นที่ความหลากหลายทางชีวะภาพของธรรมชาติในเมือง, การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสู่โครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียว โดยการเชื่อมโยงพื้นที่ขนาดเล็กแทรกเข้าไปในเมืองอย่างเท่าเทียมเข้าถึงง่ายจากชุมชน สู่พัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวระดับย่าน เป็นต้น

‘พัก กะ Park’ กิจกรรมที่จะเปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็น \'พื้นที่สุขภาวะ\'

ด้าน พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลว่า กทม. ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย สนับสนุนนโยบายการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพคนเมือง ที่ผ่านมา กทม. ผลักดันให้เกิดพื้นที่สาธารณะเมือง ภายใต้นโยบาย “สวน 15นาที” ล่าสุด ในปี 2566 เกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบสวน 15 นาที (Pop Park) กระจายในทุกกลุ่มเขตพื้นที่กรุงเทพฯ 24 แห่ง ที่สำคัญเกิดการดูแลร่วมกันจากคนในพื้นที่และชุมชน ทั้งนี้ กทม. เตรียมพัฒนาพื้นที่นำร่องให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างของกรุงเทพฯ ร่วมกับสสส. และมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผ่าน “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร สวน 15 นาที” เพื่อสานต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานสำหรับการขับเคลื่อนนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุงเทพฯ สร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางกายและทางใจสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม

สำหรับกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 และ 31 มี.ค.2567 ณ อุทยานเบญจสิริ จะประกอบด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนา บริหารจัดการ และขยายแนวร่วมนักพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 3 กลุ่ม ได้แก่ นิทรรศการ 10 แนวโน้มการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะประเทศไทยตามเป้าหมายสากล ปี 2573 พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ, เสวนาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ และกิจกรรม Green Eco Play เช่น ดนตรีในสวน เดินเมืองดูไม้ ปั่นจักรยาน ซุมบ้า เป็นต้น ซึ่งกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ ในครั้งนี้ สสส. มุ่งมั่นให้เกิดความตระหนักในการพัฒนาพื้นที่ของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติการ ต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 150 แห่งใน 50 เขตพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยติดตามไฮไลท์กิจกรรม และตารางเวลาได้ที่ https://web.facebook.com/profile.php?id=100093086599098