อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ "เมล็ดพันธุ์" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ "เมล็ดพันธุ์" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

“ไผ่” เป็นไม้โตเร็ว 4 ปีตัดขายได้ เป็นไม้เศรษฐกิจ ใช้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้อย่างยั่งยืน อันเป็นที่มาของ “ไผ่กู้ชาติ”

ไผ่ เป็นไม้ที่มีคุณประโยชน์สูง โตเร็ว 4 ปีตัดขายได้และไม่ต้องปลูกใหม่ ทำเป็นไม้เศรษฐกิจได้ ผมสอนเรื่อง sustainable design ไผ่ จึงเป็นแมททีเรียลที่น่าสนใจใช้ออกแบบอาคาร

เมื่อนักศึกษาศึกษาเรื่องไผ่ จึงต้องมีสตูดิโอให้เขาแสดงออก เป้าหมายของเราคือ เพาะเมล็ดพันธุ์ให้กับคนรุ่นใหม่

อาจารย์ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ดูแลสถาบันไผ่กู้ชาติ เล่าถึงโครงการเพาะ เมล็ดพันธุ์ กับ กรุงเทพธุรกิจ เพื่อสืบต่อแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน 

 

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”      อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์

“ไผ่กู้ชาติ” มีที่มาอย่างไร

“เรานำเสนอผลงานของนักศึกษาจากคณะสถาปัตย์ฯ ม.รังสิต ที่นำมาจัดแสดงในงาน “สุขสยามรักษ์โลก” นำเสนอ การแปลงร่างของไผ่ วัสดุท้องถิ่นสู่งานสถาปัตยกรรม ที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ชื่อของ สถาบันไผ่กู้ชาติ เริ่มจากแนวคิดของอดีตอธิการบดี ม.รังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ท่านมองว่า ไผ่ เป็นไม้โตเร็ว มีประโยชน์สูง สามารถทำเป็นไม้เศรษฐกิจได้ และสามารถแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างของเกษตรกรไทย แต่การนำไผ่มาใช้ในแต่ละภาคส่วนยังไม่ชัดเจนนัก เลยคิดกันว่าจะทำอย่างไร

มี อาจารย์วิชา มหาคุณ เป็นที่ปรึกษา ท่านก็คิดว่าเราน่าจะตั้งเป็น สถาบันไผ่กู้ชาติ เริ่มมาเมื่อ 3-4 ปีก่อน”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”     สตูดิโอในม.รังสิต

โดยคณะสถาปัตย์ฯ ม.รังสิต เป็นแม่งาน

“ครับ ผมอยู่คณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งจะแตกออกเป็นสตูดิโอย่อย ๆ ออกมาเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ตามความสนใจของเขา สตูฯ ของผมทำเรื่อง sustainable design

ไผ่ เป็นแมททีเรียลท้องถิ่นที่น่าสนใจ ใช้ออกแบบอาคารได้ เป้าหมายของผมคือปลูกเมล็ดพันธุ์บางอย่างในตัวเด็ก ๆ ถ้าเขาไปใช้แมททีเรียลที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ปูน เหล็ก มันมีแต่จะหมดลงไป เหล็กต้องนำเข้า ปูนต้องระเบิดภูเขา พวกนี้มันจะค่อย ๆ หมดไป ดังนั้นเราจึงมองหาแมททีเรียลที่โลกให้กับมนุษย์มาและสร้างเป็นอาคารได้ คือแมททีเรียลประเภทไม้ สตูฯ ของเราจึงเรียนรู้การใช้ไผ่และไม้จริง”

 

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”      หนึ่งในผลงานของนักศึกษา ม.รังสิต ที่นำไปสร้างที่เซี่ยงไฮ้

ไผ่ สามารถสร้างอาคารได้แข็งแรงขนาดไหน

“เมื่อเราอยากให้เด็กยุคนี้สนใจเรื่องเหล่านี้ เราต้องทำให้เขามองเห็นคุณค่าหรือมูลค่าที่ทัดเทียมกับคอนกรีต ซึ่งคุณค่าเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการออกแบบ โดยการทำให้คนทั่วไปยอมรับได้ พอเราสอนเขาเราพาเด็ก ๆ ไปเจอกูรูก่อน พาเด็ก ๆ เดินทางทั่วประเทศเลย เพื่อให้เห็นว่าแต่ละภูมิภาคเขาใช้ไผ่ประเภทไหนบ้าง โดยคณะสถาปัตย์ฯ เน้นงานออกแบบงานอาคารเป็นส่วนใหญ่ พอเด็ก ๆ ได้ไปเห็นตัวอย่างจริง เห็นรูปแบบงานสถาปัตย์ฯ ที่สามารถครีเอทได้จากไผ่ เขาจะเกิดแรงบันดาลใจ

เราไปภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ที่เพชรบุรี ให้ดูทุกประเภทของงานออกแบบจากไผ่ ที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ไผ่สร้างเป็นสเตเดี้ยมคือ โรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่ เป็นสเตเดี้ยมไม้ไผ่ขนาดใหญ่

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

หลังจากน้อง ๆ ไปเห็น เขาก็จะคิดว่า ...ทำไมไผ่ ถึงทำอะไรออกมาได้ขนาดนี้ ก็เกิดแรงบันดาลใจ ยิ่งเดินทางมากก็ยิ่งเกิดแรงบันดาลใจมาก หรืองานไผ่ในงานตกแต่งเช่น ทำหุ้มเสา (ผลงานกรกต อารมย์ดี) หรือที่ร้าน Buffalo อัมพวา, ร้านข้าวใหม่ปลามัน ผมก็พาน้อง ๆ ไปดู เขาจะเห็นว่าวัสดุชนิดเดียวแต่มีหลายขนาด สามารถทำโครงสร้างอาคาร และทำให้เกิดความอ่อนช้อยได้”

เกิดแรงบันดาลใจแล้ว สตูดิโอของอาจารย์จึงเป็นที่ปล่อยพลัง

“ใช่ครับ ต้องมีเวทีให้เขาแสดงออก ประจวบกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประกวด แบมบู พาวิลเลี่ยน ร่วมกับสวนนกที่หนานซา ประเทศจีน (Nansha Wetland Park สวนสาธารณะและสวนนกน้ำในเขตหนานซา เมืองกว่างโจว มณฑลกว่างตงหรือกวางตุ้ง) ที่จีนเขาจัดประกวดมา 20 ปีแล้ว เมื่อเราเห็นเลยเกิดแนวคิดว่า น่าจะมาแลกเปลี่ยนกัน เราเลยคุยกับ ม.เชียงใหม่ ว่าให้น้อง ๆ ส่งผลงานเข้าประกวดด้วย

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

   ทำโมเดลงานไม้ไผ่

ปรากฏว่าปีแรกที่ ม.รังสิต ส่งผลงานเข้าประกวด ที่เกิดจากแรงบันดาลใจของน้อง ๆ ที่เขาได้ไปสัมผัสของจริง ประกอบกับอีกหลาย ๆ อย่างนะครับ ผลงานของน้อง ๆ ได้รับคัดเลือกแทบทุกรางวัล เช่น ชนะเลิศ 2 รางวัล, รองชนะเลิศ 2, รองชนะเลิศอันดับ 2 อีกสองรางวัล เราได้หลายรางวัล ประกวดไปเมื่อปี 2563”

ผลงานของน้อง ๆ นำไปสร้างที่จีนได้อย่างไร

“ตอนแรกเราประกวดในประเทศก่อน ต่อมาจีนจะนำผลงานที่ชนะหรือที่ได้รับคัดเลือกของแต่ละประเทศไปสร้างที่นั่น และให้คนจีนโหวตกันด้วยว่าจะสร้างอันไหน ทีนี้คนโหวตผลงานของเรา แต่เป็นผลงานที่ไม่ได้รางวัลอะไร แต่ได้รับโหวตให้สร้างใน 2 พาวิลเลี่ยน คือจีนเขานำไปสร้างไว้ตามหอชมเมืองต่าง ๆ

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”      ดอกโบตั๋นที่สวนนกน้ำหนานซา ประเทศจีน

แต่บังเอิญเจอโควิด เราก็ติดต่อกับจีนทางออนไลน์ จากจุดนั้นทำให้น้อง ๆ เขาเห็นว่าเรามีศักยภาพ และมีความภาคภูมิใจด้วยว่าเขาก็ผลิตผลงานออกมาได้แล้วนำไปสร้างจริง ปัจจุบันจีน นำผลงานของ ม.รังสิต ที่นำไปสร้างแล้วมี 3 ผลงาน

เช่น ผลงานชื่อ ดอกโบตั๋น และอีก 2 ผลงาน จีนขอแบบไปสร้างต่อตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ดอกโบตั๋น เรามาสร้างไว้ที่ ม.รังสิต ด้วย เป็นศาลาดอกโบตั๋น เหมือนกัน แต่ที่ของเราเป็นดอกโบตั๋นบาน ที่จีนเป็นโบตั๋นดอกตูม ไซส์ที่จีนคือ 4 x 4 x 4 ที่ไทยศาลาใหญ่กว่านิดหน่อยคือ 5 x 5 x 5 พอสร้างเสร็จก็สร้างอิมแพ็คให้ผู้คนพอสมควร กลายเป็นแลนด์มาร์คของพื้นที่ การใช้สอยคือเป็นศาลานั่งพักผ่อนอยู่กลางน้ำ มาเช็คอิน มาเรียนรู้”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”     ศาลาดอกโบตั๋น ที่ ม.รังสิต

ถ้าไม่ติดโควิดก็น่าจะมีอีกหลายผลงานได้ไปสร้างที่จีน

“ใช่ครับ จีนเขาจัดประกวดเขาให้รางวัล ให้ค่าก่อสร้าง ตอนนั้นเราได้รางวัลรวมทุกรางวัลประมาณ 2 แสนบาท เราก็แบ่งเงินนั้นไปสร้างศาลาไผ่ด้วย ค่าก่อสร้างจีนทำให้หมด ทุกปีเขาจะออกให้เราไปสร้างร่วมกับเขา แต่พอมีโควิดเลยใช้การออนไลน์

หลังจากนั้นเราก็ไปสร้างอีกหนึ่งศาลา บนดอยที่ อ.กัลยาณิวัฒนา เชียงใหม่ เป็นศาลากลางทุ่งเลย เราได้ทุนจากน้อง ๆ ที่ได้เงินรางวัลมาแบ่งเงินมาก้อนหนึ่ง และอีกก้อนจากมูลนิธิ ศ.อัน นิมมานเหมินท์ และจากรายวิชาของมหาวิทยาลัย ไปร่วมกันสร้างศาลา”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

    อีกหนึ่งผลงานของนักศึกษา ม.รังสิต ที่สวนนกน้ำหนานซา

ค่าก่อสร้างศาลาไม้ไผ่ ตัวเลขกลม ๆ ประมาณเท่าไหร่

“ค่าก่อสร้าง ถ้านับแค่แมททีเรียลอย่างเดียวประมาณ 5 หมื่น ไม่รวมค่าแรงงานน้อง ๆ ที่มาช่วยกันทำ ค่าที่พัก อาหาร อีกสารพัด ถ้ารวมวัสดุสิ้นเปลืองด้วยน่าจะอยู่ที่ 1 แสนบาท แต่ศาลาที่สร้างใน ม.รังสิต เกือบ 5 แสนบาท”

ความแข็งแรงคงทนของไม้ไผ่

“ที่เชียงใหม่ เนื่องจากระยะเวลาก่อสร้างของเราค่อนข้างสั้น ดังนั้นรากฐานที่เป็นปูนที่เราทำไว้จะไม่แข็งแรงมาก ลมมาแรง ๆ เริ่มโย้ ชาวบ้านเขาใช้วิธีง่าย ๆ คือปลูกแตงร้าน ปลูกฟัก ไปคลุมมันไว้ มันก็ยึดอยู่ได้ ถ้าเรามองอาจดูไม่สวยงาม

ความคงทน ตัวไผ่ถ้าไม่โดนน้ำโดยตรงอยู่ได้เป็นสิบ ๆ ปี เราเคยไปสำรวจอาคารไม้ไผ่ อายุเยอะที่สุด 80 ปีขึ้น อยู่ภาคเหนือ เป็นบ้านธรรมดา แต่ต้องไม่โดนน้ำโดยตรง ดังนั้นทุกฐานของอาคารไม้ไผ่จะรองด้วยหินหรือปูนเป็นหลัก เพราะเวลาน้ำเข้าจะเข้าด้านที่เป็นหน้าตัด ถ้าด้านที่เงา ๆ ที่เป็นลำไผ่ ฝนโดนไม่เป็นไร เวลาออกแบบเราต้องหาทางแก้โดยคำนึงว่าทำยังไงให้ส่วนที่เป็นปล้องไม้ไผ่โดนน้ำน้อยที่สุด

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

เพราะบ้านเราฝนตกตลอดปี ถ้าน้ำเข้าไปด้านในร่องจะเป็นเชื้อรา ส่วนชั้นเปลือกหน้าไผ่โดนน้ำได้ไม่เป็นไร และส่วนฐานไม่ควรให้น้ำขัง จึงต้องยกฐานขึ้นมาให้พ้นน้ำ หรือต้องมีอะไรรองไว้ เช่น ก้อนอิฐหรือปูน ถ้าน้ำท่วมยังไม่เท่าไหร่ ถ้าฝนตกแล้วอยู่อย่างนั้นจะกร่อนไปเรื่อย ๆ ยกเว้นน้ำท่วมตลอดเวลา

สิ่งน่ากังวลคือต้องกันไม่ให้ความชื้นเช้า ดังนั้นฝนตกโดนหน้าไผ่จะไม่เป็นไร แต่ถ้าฝนเข้าไปในช่องจะมีปัญหา เวลาเราดีไซน์เราจะประกอบทะลุปล้องให้น้ำไหลออกหมด และใช้อุดปลายด้วยปลอกเหล็ก กันไม่ให้เกิดผลกระทบ หรือตัดไม้ไผ่ที่ปล่องใหญ่กว่าครอบเอาไว้”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”     โมเดลงานไม้ไผ่ที่จัดแสดงในงาน "สุขสยามรักษ์โลก" ที่ไอคอนสยาม

เปรียบเทียบงานก่อสร้างไผ่ในจีนกับไทย เขาก้าวหน้ากว่าเราแค่ไหน

“จีนเขาเข้าใจงานไผ่ดีและทำงานเร็ว เทคนิคการทำเป็นอุตสาหกรรม เลยมีความรวดเร็วในการก่อสร้าง แม่นยำ และสามารถปรับแก้อย่างปัจจุบันทันด่วนได้ เครื่องมือในกระบวนการทำไผ่ของจีนมีเยอะมาก ม.รังสิตได้ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในจีนด้วย ที่จะหาเครื่องมือมาทำงานไผ่ของเรา เราทำ MOU กันไว้ รอเปิดประเทศเมื่อไหร่คงได้แลกเปลี่ยนกันมากกว่านี้

เราอยากได้ know how การผลิตจากเขา ถามว่าสกิลล์ในการทำไผ่ของบ้านเรา เราก็มีในแบบของเรา แต่ค่อนข้างจำกัดมากกว่า เพราะจีนตอนนี้ทำไผ่เป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว ของเราเป็นอินดิวิดวล

ที่จริงจีนต้องการมาต่อยอดบ้านเราด้วย อยากให้เด็กของเราไปเรียนที่จีน จีนก็อยากส่งคนมาฝึกที่เรา และอยากให้ปลูกไผ่กัน ในจีนพื้นที่แม้เยอะกว่าแต่เขาใช้หมดทุกปีเลยนะ กลายเป็นว่าปลูกไม่พอใช้

จีนเขาทำไผ่อัดเป็นเรื่องธรรมดาเลย คล้ายไม้อัดแต่ใช้ไผ่แทนเศษไม้ปกติ เนื้อผิวเป็นไม้ไผ่เลย มีตัวลายไผ่อยู่ ซึ่งบ้านเราเริ่มทำแล้ว สำหรับคนที่ชื่นชอบไผ่จะเห็นผิวลายไม้ไผ่ เขาทำกระทั่งเสาที่เหมือนเหล็กแต่เป็นไผ่ เขาสร้างทั้งอาคารเลยแต่ดูไม่ออก จีนไปไกลมาก ถ้ามีโอกาสก็อยากพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

ที่จีนเขาสร้างเป็นอาคารหลายชั้น แต่เขาจะไม่ใช่ไผ่ลำอย่างนี้เท่าไหร่ เขาจะแปรรูปเลย พอแปรรูปคราวนี้เข้าระบบอุตสาหกรรม เป็นอาคารที่เราเห็นนี้ใช้ไผ่ทั้งหมด โดยที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นไผ่

ไผ่มีข้อดีคือโตเร็ว 4 ปี ใช้ได้แล้ว ในขณะที่ไม้พวกนี้ใช้เวลาเป็นสิบ ๆ ปี เพราะฉะนั้นเมื่อใช้ไผ่ ก็ทำให้มีวัสดุทดแทน ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมได้ สร้างงานเกษตรกร

คุณสมบัติของไผ่ เป็นตัวดึงน้ำได้ดีด้วย รากไผ่ใหญ่มาก ให้แร่ธาตุในดินสูง ไม่ใช้น้ำเยอะ คือตัวเขาเป็นตัวกักเก็บน้ำไว้เอง พอฝนตกปกติน้ำจะไหลไปเรื่อย น้ำใต้ดินก็จะลงไป รากไผ่จะช่วยเก็บกักไว้ เวลาจะทำเกษตรจะปลูกอะไรก็แล้วแต่เรามักจะปลูกกล้วยเป็นไม้พี่เลี้ยงที่จะดึงน้ำไว้ ทำให้ไม่ต้องรดน้ำข้าง ๆ บ่อย เพราะกล้วยดึงน้ำในพื้นที่ข้างเคียงเช่นเดียวกับไผ่

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”     ศาลากลางทุ่งที่เชียงใหม่

ที่จีนเขาใช้ไผ่แก้ปัญหาเรื่องป่าด้วย เมื่อก่อนมลพิษที่จีนเยอะ พอปลูกไผ่เข้าไปมันก็เป็นป่าไผ่ แล้วตัดมาแปรรูปมันก็ครบวงจร”

ต่อจากนี้คือพัฒนางานออกแบบและส่งประกวดต่อ

“จากที่เราได้รางวัลมาเราเลยแยกออกมาตั้งเป็นอีกวิชาหนึ่งเลย เป้าหมายจริง ๆ ต้องการ ปลูกเมล็ดพันธุ์ของความยั่งยืน เข้าไปในตัวเด็กทุกคน ทำยังไงให้น้อง ๆ ให้ออกแบบทุกอย่างด้วยความยั่งยืน เราพาเดินทางไปเจอกูรูของแต่ละภาค เพื่อให้เห็นว่าไผ่ทำอะไรได้บ้าง มีคุณสมบัติยังไง การเรียนรู้คือจากประสบการณ์จริงของพี่ ๆ เหล่านั้น”

เด็กรุ่นใหม่สนใจเรื่อง sustainable แค่ไหน

“ผมว่ามีส่วนหนึ่งที่เขาสนใจจริงจัง เพราะเขาเติบโตมาในยุคที่วิกฤติเรื่องสิ่งแวดล้อม เราในฐานะสถาปนิก ที่จริงส่วนหนึ่งคือทำลายโลกนะ

เพราะฉะนั้นวิชาที่เราสอนออกแบบก็ไม่ได้สอนแค่การออกแบบ เราสอนให้เห็นวงจรเหล่านี้ สอนให้เห็นตัวเองด้วยว่า เช่นพาน้องไปก็ไปในที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ อยู่กับชาวบ้าน วันแรกร้องโอดโอย ไม่คุ้น เจอส้วมนั่งยองก็ไม่คุ้นแล้ว แล้วเด็กเราคุณหนูทั้งนั้น

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

แต่พอผ่านวันที่สองที่สาม พอเริ่มชินเริ่มมีเวลา เริ่มซึมซับ เริ่มจัดระเบียบตัวเอง เริ่มรู้สึกว่าจากที่ตัวเองคิดว่าชั้นต้องเล่นเกม กว่าจะตื่นก็เที่ยง มันไม่มีสัญญาณ เล่นเกมก็ไม่สนุก  งั้นก็นอนเร็วตื่นเช้า พอตื่นเช้าก็เห็นโลกมากขึ้นเวลาเหลือมากขึ้น ทำกิจกรรมก็ต้องทำกับข้าวกันเอง ล้างจานเอง ดูแลกันและกัน มีเวลานั่งพูดคุยกันมากขึ้น กลายเป็นไม่มีใครร้องกลับบ้านเลย

พอกลับมามหาลัยมานั่งคุยกันในสตูฯ ทุกคนพบว่าคิดถึงบรรยากาศแบบนั้น แต่พอกลับมาแบบเดิมทุกคนก็ตื่นเที่ยงเหมือนเดิม ผมว่าน่าจะเป็นความรับผิดชอบแรกที่เขารู้จัก ได้เรียนรู้

ตอนนี้บ้านเราเริ่มมีนักออกแบบจากไผ่เยอะขึ้น หรือเป็นกระแส แต่ผมคิดว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป คนเริ่มสนใจเรื่องไผ่ถือว่าดี

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

สตูฯ เราทำมูลค่าจากงานสถาปัตย์ฯ ไม้ไผ่ เป็นเรื่องหนึ่ง อีกเรื่องที่เราตระหนักคือ อย่างน้อย ๆ ถ้าน้อง ๆ ผมจะบอกเขาตั้งแต่ปี 1 ว่าใครมีที่ไปปลูกต้นไม้ไว้เลย โดยเฉพาะไผ่ จะแบ่งปลูกเท่าไหร่ยังไง สถาปัตย์ฯ เรียน 5 ปี คุณได้ทุนเริ่มต้นชีวิตแล้ว ไม่ต้องอะไรมาก ถ้าขี้เกียจก็ตัดขายมาทั้งลำ จะมีเงินเก็บแล้วโดยที่ไม่ต้องลงทุนลงแรง ลงครั้งเดียวยาว ๆ ลืม ๆ

แล้วถ้าเขาจบจากเรา ได้เมล็ดพันธุ์ความคิดนี้ไปบ้าง อย่างน้อย ๆ เวลาเขาไม่มีอะไรทำกลับบ้านไป ถ้ามีที่เขาลงไปตัดไม้ที่เขามี เอามาทำที่อยู่อาศัย ดูแลครอบครัว ทำอะไรที่เลี้ยงตัวเองได้ก่อนที่จะซื้อมือถือ ผมว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง

ปัจจุบันนี้มีน้อง ๆ ที่มองเห็นและมีศักยภาพ เขากลับไปชุมชนตัวเอง ถ้าที่บ้านฐานะดี พ่อแม่บางคนเป็นผู้นำชุมชน นักการเมืองท้องถิ่น พอลูกขยับตัว พ่อแม่ก็ต้องขยับด้วยช่วยสนับสนุน

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

    งานสถาปัตยกรรมจากไม้ไผ่ แข็งแรงและอ่อนช้อย

ผมชอบตรงนี้แหละ ปลูกเมล็ดพันธุ์คิดดีเข้าไปในคนเหล่านี้ มันก็เปลี่ยนพ่อแม่ด้วย ยังไงก็แล้วแต่ ถ้าเขาคิดเริ่มทำแล้ว ก็ต้องมีการผลักดัน และเขาก็จะดึงเพื่อนที่อาจศักยภาพไม่มี แต่เอามารวมทีมกันสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง แล้วจะเกิดการขยับตัว มัวรอทุกอย่างไม่ได้ โดยเฉพาะภาครัฐ

คณะสถาปัตย์ฯ เราเชี่ยวชาญแต่ละแบบเช่น sustainable design, futuristic ผมวางเป้า sustainable ไว้และอยากร่วมงานกับ futuristic สาเหตุเพราะว่าผมไปดูงานของน้อง ๆ ฟิวเจอริสติก มันไม่มีวัสดุที่จะสร้างแล้ว

ดังนั้น ฟิวเจอร์ของเราควรย้อนที่แบ็ค ทู เบสิก ทำยังไงให้ของที่เบสิกที่สุดได้กลับไปเป็นฟิวเจอริสติกให้ได้ น้องอยากไปดวงดาวแต่มันไม่มีแมททีเรียลพอจะพาไปดวงดาว พลังงานแทบจะหมดไปอยู่แล้ว จะเผาถ่านไม้ไผ่เพื่อขับเคลื่อนยานอวกาศไปดวงดาวจะลำบาก ในใจคืออยากจะเบลนด์ทุกอย่างเข้าหากัน

อ.ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ เพาะ \"เมล็ดพันธุ์\" แห่งความยั่งยืนด้วย “ไผ่กู้ชาติ”

อยากให้เห็นตัวเอง แล้วจะเห็นโลก เห็นโลกก็จะเห็นอนาคต ผมเชื่อว่าแต่ละอย่างเปลี่ยนชีวิตน้องเขา ไม่ว่าเขาจะเดินไปทางไหนก็แล้วแต่

วันหนึ่งเมล็ดพันธุ์ที่เราฝังไว้มันต้องโตแน่ ๆ...”

ดูผลงานของ “ไผ่กู้ชาติ” ที่ FB: arch RSU BAMBOO & WOOD STUDY