ระวังยากันยุงเถื่อน ออกฤทธิ์แรง ชักเกร็ง จนหมดสติ เลือกใช้อย่างไรปลอดภัย?

ระวังยากันยุงเถื่อน ออกฤทธิ์แรง ชักเกร็ง จนหมดสติ เลือกใช้อย่างไรปลอดภัย?

ระวัง "ยากันยุงเถื่อน" ไม่มี อย. ออกฤทธิ์แรงต่อระบบประสาท บางรายชักเกร็ง จนหมดสติได้ พร้อมแนะเลือกใช้ เลือกซื้อยากันยุงอย่างไรให้ปลอดภัย

"ยุง"ในประเทศไทยมีกว่า 400 ชนิด ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้น เหมาะแก่การเพาะพันธุ์และเสี่ยงเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะหลายชนิด เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอับเสบ โรคเท้าช้าง ฯลฯ ยิ่งช่วงฤดูฝน ยุงมักจะชุกชุมเป็นพิเศษ

ทำให้ยากันยุงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันยุงกัด ซึ่งในขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ ขบวนการลักลอบนำเข้า"ยากันยุงเถื่อน" ไม่มี อย. 

อาการต่อระบบประสาทจาก "ยากันยุงเถื่อน" 

มีผลข้างเคียงจากสารเคมี หากสูดดมควันในปริมาณมาก จะส่งผลต่อระบบประสาททำให้รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชักเกร็ง หรือหมดสติ รวมถึงอาการแพ้ ผื่นแดง คัน และระคายเคือง 

 

ระวังยากันยุงเถื่อน ออกฤทธิ์แรง ชักเกร็ง จนหมดสติ เลือกใช้อย่างไรปลอดภัย?

เลือกใช้ เลือกซื้อยากันยุงอย่างไรให้ปลอดภัย

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนประชาชน อย่าหลงซื้อยากันยุงสินค้าราคาถูก ที่ไม่มี อย. หรือซื้อยากันยุงจากแหล่งขายที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากนำมาใช้อาจจะช่วยให้ไล่ยุงได้จริง แต่ชีวิตของคุณและคนที่คุณรักก็อาจเสี่ยงอันตรายได้เช่นกัน

ข้อควรรู้ก่อนเลือกใช้ยากันยุง

ยากันยุงที่จำหน่ายตามท้องตลาดมีหลายประเภทให้เลือกซื้อ ผู้ใช้ควรประเมินข้อดีข้อเสีย ประสิทธิภาพในการป้องกันยุง และผลข้างเคียงของยากันยุงแต่ละประเภท เพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

ยาทากันยุง

ยาทากันยุง คือ สารป้องกันยุง ในรูปของครีม โลชั่น และสเปรย์สำหรับทาหรือฉีดพ่นตามร่างกาย ช่วยป้องกันยุงเกาะผิวหนังและดูดเลือด มักมีสารเคมีจำพวกดีอีอีที เอทิลบิวทิลอเซติลามิโนโพรพิโนเอต หรือพิคาดิรินเป็นองค์ประกอบหลัก

บางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติหรือใช้สารสกัดจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงแตกต่างกันไปตามชนิดและความเข้มข้นของสารที่เป็นส่วนประกอบ

ผลิตภัณฑ์ทากันยุงจากสารเคมีสังเคราะห์อาจช่วยป้องกันยุงได้นาน 2-5 ชั่วโมง และจำเป็นต้องทาซ้ำหากต้องการประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง

ส่วนผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก น้ำมันแมงกะแซง อาจป้องกันยุงได้ในระยะเวลาสั้นกว่า

อย่างไรก็ตาม ยากันยุงชนิดนี้ใช้ทาบนผิวหนังโดยตรง จึงอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหรือมีอาการแพ้ได้ หากเกิดผื่นแดง รู้สึกคัน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หลังทา ควรหยุดใช้และรีบไปพบแพทย์ทันที 

 

ระวังยากันยุงเถื่อน ออกฤทธิ์แรง ชักเกร็ง จนหมดสติ เลือกใช้อย่างไรปลอดภัย?

 

คำแนะนำในการเลือกซื้อและการใช้ยากันยุงชนิดทา มีดังนี้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และปฏิบัติตามฉลากแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัด
  • ไม่ควรใช้ยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของดีอีอีที เอทิลบิวทิลอเซติลามิโนโพรพิโนเอตหรือพิคาดิริน มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพราะความเข้มข้นของสารเคมีในระดับดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงมากขึ้นและอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ทายากันยุง
  • ควรคอยเฝ้าดูขณะเด็กใช้ยาทากันยุง และหลีกเลี่ยงการทายากันยุงบริเวณมือเด็ก เพราะเสี่ยงต่อการนำนิ้วเข้าปากหรือขยี้ตา
  • ไม่ควรทายากันยุงบริเวณที่เป็นแผลหรือเป็นผื่น
  • ไม่ควรใช้สเปรย์กันยุงฉีดใบหน้าโดยตรง ควรฉีดพ่นลงบนฝ่ามือก่อนนำมาทาบนใบหน้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปาก
  • ฉีดพ่นสเปรย์กันยุงในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้สารเคมีระเหยออกไปได้ง่าย ป้องกันการสูดดม
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสูตรผสมระหว่างครีมกันแดดและยาทากันยุง เพราะอาจทำปฏิกิริยาต่อกันจนส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพลดลง อีกทั้งการทายากันยุงซ้ำบ่อย ๆ อาจทำให้ได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไป

ยาจุดกันยุง

มีทั้งชนิดแท่งและชนิดขดกลม ส่วนใหญ่มีสารในกลุ่มไพรีทอยด์เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ยุงเป็นอัมพาต ทว่าบางผลิตภัณฑ์อาจเป็นสูตรผสมระหว่างสารเคมีกับสารสกัดจากธรรมชาติหรือใช้สารสกัดจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ การสูดดมควันของยาจุดกันยุงอาจทำให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไอ หรือรู้สึกเจ็บคอ และหากสูดดมติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป ทว่าโดยทั่วไปพบผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากสารชนิดนี้น้อยมาก

วิธีเลือกซื้อและใช้ยาจุดกันยุงอย่างถูกต้อง มีดังนี้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
  • ไม่ควรใช้ยาจุดกันยุงในสถานที่ปิด เช่น ภายในบ้านหรือห้องพัก ควรจุดยาไว้นอกประตูหรือนอกหน้าต่างเพื่อป้องกันยุงเข้ามาภายในห้อง
  • วางยาจุดกันยุงที่จุดไฟแล้วไว้บนจานหรือแท่นเสียบโลหะ ให้ห่างจากมือเด็กและสิ่งของที่ติดไฟง่าย
  • ล้างมือหลังจากสัมผัสผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงทุกครั้ง

 

อ้างอิง : ตำรวจสอบสวนกลาง , pobpad