ฝีดาษลิงอาการ รักษาฝีดาษลิง กทม.ที่ไหน เช็กที่นี่ วิธีสังเกตอาการโรค 4 ระยะ
ฝีดาษลิงอาการ รักษาฝีดาษลิง กทม.ที่ไหน เช็กที่นี่ ซึ่งล่าสุดตัวเลข 'โรคฝีดาษลิง' ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
รักษาฝีดาษลิง กทม.ที่ไหน เช็กที่นี่ ซึ่งล่าสุดตัวเลข 'โรคฝีดาษลิง' ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ป่วยเดือนสิงหาคมประมาณ 80 ราย ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในเขตที่มีสถานที่ท่องเที่ยว
โดย กทม.มี คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK Pride Clinic) ซึ่งเปิดอยู่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และมีอนามัยซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับสถานศึกษาในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเจริญพันธุ์ และเน้นย้ำให้การสื่อสารในทุกเรื่องที่ต้องควรระวัง ในส่วนโรคฝีดาษลิงก็จะเน้นย้ำและสื่อสารให้หนักมากขึ้น
พิกัดจุดรักษาฝีดาษลิงในพื้นที่ กทม.
ศูนย์บริการสาธารณสุข
1.ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ ณ อาคาร 4 ชั้น 3 โทร. 0-2587-0618 ต่อ 303
2.ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ณ ชั้น 1 โทร. 0-2246-1553 ต่อ 104
3.ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย ณ ชั้น 4 โทร. 0-2282-0473 ต่อ 405
4.ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง ณ ชั้น 2 โทร. 0-2391-6082 ต่อ 206
5.ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ ณ ชั้น 3 โทร. 0-2349-1816-7
6.ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา ณ ชั้น 3 โทร. 0-2233-6329 ต่อ 105
7.ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง ณ อาคารข้างสำนักเขต ชั้น 2 โทร. 0-2277-2660 ต่อ 204
8.ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ณ ชั้น 2 โทร. 0-2465-0014 ต่อ 203
9.ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี ณ ชั้น 3 โทร. 0-2860-8210 ต่อ 311
10.ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง-นุชเนตร ณ ชั้น 3 โทร. 0-2476-6495 ต่อ 1311,1312
11.ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 บุคคโล ณ ชั้น 1 โทร. 0-2468-5297
12.ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย ณ ชั้น 1 โทร. 0-2249-1385, 02-249-1376
13.ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี ณ อาคาร 1 ชั้น 2 โทร. 0-2391-6082 ต่อ 206
14.ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชรอุทิศ ณ อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 1 โทร. 0-2421-2147-9 ต่อ 602
15.ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 สังวาลย์ ทัสนารมย์ ณ ชั้น 3 โทร. 0-2536-0163
16.ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา ณ ชั้น 1 โทร. 0-2548-0495
โรงพยาบาลสังกัด กทม. จำนวน 5 แห่ง
1.โรงพยาบาล หน่วยบริการผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรม ชั้น 3 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี โทร. 0-2220-8000 ต่อ 10350
2.โรงพยาบาลตากสิน Love Care Clinic โทร.09-8539-9746
3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ห้องตรวจจิตเวช ชั้น 2 อาคาร 72 พรรษามหาราชินี โทร.0-2289-7024-25
4.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คลินิกประกันสังคม โทร.0-2421-2122 ต่อ 8913
5.โรงพยาบาลสิรินธร คลินิกพิเศษอายุรกรรม ชั้น 2 โทร. 0-2328-6900-19
4 ระยะอาการโรคฝีดาษลิงตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงหายจากโรค
ระยะที่ 1 เรียกว่า ระยะฟักตัว : ระยะตั้งแต่รับเชื้อ จนเกิดอาการ ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ โดยจะอยู่ในช่วง 5-21 วันหลังจากได้รับเชื้อ
ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะไข้ หรือระยะก่อนออกผื่น : ระยะนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1-4 วัน จะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีแผลในปาก และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตถือเป็นอาการเฉพาะของโรคฝีดาษลิง
ระยะที่ 3 เรียกว่า ระยะออกผื่น : อาการระยะนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บางรายอาจะเป็นนานถึง 4 สัปดาห์ จะมีผื่นหรือตุ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตามร่างกาย โดยจะเริ่มจากผื่นแบน แล้วเป็นผื่นนูน ต่อด้วยตุ่มน้ำใส และตุ่มน้ำขุ่น หรือตุ่มหนอง จนกระทั่งเป็นผื่นแผลแห้งเป็นขุย เมื่อตุ่มหนองต่าง ๆ แห้งหมด จะถือว่าหมดระยะแพร่เชื้อ
ระยะที่ 4 เรียกว่า ระยะฟื้นตัว : ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
การป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากฝีดาษลิง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัตว์ป่า หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ สวมหน้ากาก หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น
การรับประทานอาหาร
ทานอาหารที่ปรุงสุก สด ใหม่เสมอ การดูแลตัวเองแบบนี้ ไม่ใช่แค่ลดความเสี่ยงจากฝีดาษลิง แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงจากไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 ได้ไปพร้อมๆ กัน และแม้ว่าจะยังไม่เคยมีการระบุชัดเจนว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ Safe Sex ไว้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนหรือจะให้ดีเว้นระยะการมีกิจกรรมในช่วงนี้ไปก่อน ก็เป็นการลดความเสี่ยงได้