5 วิธีลดภาวะหดหู่หลัง 'หยุดยาว' เตรียมใจให้พร้อม ก่อนกลับมาทำงาน

5 วิธีลดภาวะหดหู่หลัง 'หยุดยาว' เตรียมใจให้พร้อม ก่อนกลับมาทำงาน

ภาวะหดหูหลังหยุดยาว (Post-holiday blues) เกิดได้จากการกลับมาสู่ภารกิจหรือกิจวัตรประจําวันแบบเดิมหลังจากการหยุดยาว เราจะมีวิธีการดูแลจิตใจตัวเองอย่างไร เพื่อให้ใจพร้อมกายพร้อมกลับมาทำงาน

Key Point :

  • หลังจากวันหยุดยาว หลายคนอาจจะรู้สึกว่ายังพักผ่อนไม่เต็มที่ เครียด และหดหู่เมื่อนึกถึงงานที่รออยู่ตรงหน้า 
  • ภาวะ Post-Vacation Blues นั้นไม่ใช่โรคทางจิตเวช ส่วนมาก อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว จะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
  • กรมอนามัย แนะ 5 วิธีสํารวจอารมณ์ตนเองในช่วงหลังวันหยุดยาว เพื่อให้พร้อมกลับมาทําหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

การพักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงหยุดยาวที่ผ่านมา ทำให้หลายคนได้ฟื้นฟูกําลังกายและกําลังใจของตนเองกลับมาจนพร้อมสําหรับการทํางานในช่วงเวลาต่อจากนี้ แต่หลายคนอาจจะยังมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรู้สึกว่า มีความเครียด เมื่อคิดถึงเรื่องการเรียนและการทํางานที่รออยู่ตรงหน้า จนเกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะหดหูหลังหยุดยาว (Post-holiday blues) ซึ่งเกิดได้จากการกลับมาสู่ภารกิจหรือกิจวัตรประจําวันแบบเดิมหลังจากการหยุดยาว

 

หากมีภาวะหดหู่หลังหยุดยาวนี้ จะมีความรู้สึกเหนื่อยแม้ได้พักผ่อนมาอย่างต่อเนื่องแล้ว รู้สึกเครียด วิตกกังวล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่อยากกลับไปเรียนหรือทํางาน แม้คนส่วนมากจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก และสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ แต่ก็จะสามารถรบกวนสมรรถภาพของตนเองได้ในช่วงกลับไปสู่ภารกิจเดิม ทําให้ทําหน้าที่ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพในช่วงแรก ยิ่งหากเป็นการหยุดต่อเนื่องที่ยาวนานแล้ว โอกาสจะเกิดภาวะหดหู่หลังจากหยุดยาวก็จะสูงขึ้นกว่าการหยุดช่วงสั้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช อธิบายว่า ตามหลักจิตวิทยา ภาวะ Post-Vacation Blues นั้นไม่ใช่โรคทางจิตเวช ส่วนมาก อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว จะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นอาการซึมเศร้าเหล่านี้ก็จะหายไปเอง เพราะคนปกติจะปรับตัวได้หลังจากเริ่มต้นใช้ชีวิตตามปกติ แต่ถ้าคิดว่าตัวเราเองมีอาการแบบนี้บ่อย ลองใช้วิธีเหล่านี้เผื่อจะช่วยให้การปรับตัวครั้งหน้าดีขึ้น

 

หาก “หมดไฟ” ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

 

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่า เป็นอาการป่วยที่มีผลมาจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน และควรได้รับการดูแลจากแพทย์ก่อนรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต สาเหตุจาก การเผชิญกับความเครียดในที่ทำงานเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน

 

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลัง ชอบคิดลบต่อความสามารถของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานประเมินว่าเรามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม และที่พบบ่อยคือ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและคนรอบข้างแย่ลง

 

ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือ หยุดพักเพื่อจัดการความเครียด แต่ถ้าไม่สามารถลาหยุด ควรตั้งสติ ปรึกษาคนที่ไว้ใจได้ เพื่อวางแผนจัดระบบการทำงานใหม่ และถ้าหากสัมพันธภาพของหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานคือต้นเหตุหนึ่ง เราควรโอนอ่อนผ่อนตามบ้าง เลี่ยงเผชิญกับบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย เพื่อไม่ให้เราแบกความทุกข์มากจนเกินไป หากยังไม่เป็นผลเท่าไหร่ ควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เรารู้สึก อยากพักตลอดเวลา ไม่อยากกลับมาทำงาน หรืออยากลาออกจากงาน

 


5 วิธี เตรียมใจก่อนกลับมาทำงาน


กรมอนามัย แนะวิธีสํารวจอารมณ์ตนเองในช่วงหลังวันหยุดยาว และการดูแลจิตใจตัวเองด้วย 5 วิธีการ ดังนี้



1) วางแผนชีวิตล่วงหน้า เพื่อลดความสับสนและความกังวลใจ ถึงภารกิจที่ต้องทําหลังจากกลับมารับผิดชอบต่อจนสิ้นปี

2) บันทึกสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ชีวิตมีเป้าหมายมากขึ้น อาจปรับจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปีใหม่ก็ได้เช่นกัน

3) พูดคุยกับคนรอบข้าง ถึงความสุขที่ผ่านมาในช่วงวันหยุดหรือ ความกังวลใจที่จะต้องกลับมาทํางาน

4) ไม่เทียบตัวเองกับคนอื่น เพราะแต่ละคนมีกิจกรรมและความชอบที่แตกต่าง กัน ความสุขจึงเป็นสิ่งที่นํามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ 

5) หาความตื่นเต้นใหม่ ๆ เสมอ เช่น การเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ทํากิจกรรมที่สนุกและตื่นเต้น หรือวางแผนการเดินทางครั้งถัดไป เพื่อให้ชีวิตมีสีสัน และสภาพจิตใจพร้อมรับมือกับทุกปัญหาในอนาคต