' 'ริสแบนด์' หาย(ไม่)ห่วง'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

' 'ริสแบนด์' หาย(ไม่)ห่วง'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

ในปี 2566 มีการแจ้งเหตุคนหายทั้งหมด 2,200 ราย ขณะที่ สัดส่วนจำนวนของคนหายที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงวัย เป็นที่มาของ โครงการ หาย(ไม่)ห่วง ความร่วมมือของ มูลนิธิกระจกเงา และภาคเอกชน ในการใช้ริสแบนด์ นวัตกรรมเรียบง่ายที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย 

KEY

POINTS

  • ในปี 2566 มีการแจ้งเหตุคนหายทั้งหมด 2,200 ราย ขณะที่ สัดส่วนจำนวนของคนหายที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงวัย ที่เวลานี้กลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของสังคมไทย 
  • จึงเป็นที่มาของ โครงการหาย(ไม่)ห่วง ความร่วมมือของ มูลนิธิกระจกเงา และภาคเอกชน ในการใช้ริสแบนด์ นวัตกรรมเรียบง่ายที่ช่วยเหลือผู้พลัดลงได้ โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย 
  • ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนกว่า 3,000 คน ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา ช่วยพาผู้พลัดหลงกลับบ้านอย่างปลอดภัยมาแล้วกว่า 40 คน และสำหรับสามเดือนแรกของปี 2567 ช่วยผู้พลัดหลงกลับสู่อ้อมอกครอบครัวมาแล้ว 15 คน

ในปี 2566 มีการแจ้งเหตุคนหายทั้งหมด 2,200 ราย ขณะที่ สัดส่วนจำนวนของคนหายที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงวัย เป็นที่มาของ โครงการ หาย(ไม่)ห่วง ความร่วมมือของ มูลนิธิกระจกเงา และภาคเอกชน ในการใช้ริสแบนด์ นวัตกรรมเรียบง่ายที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย 

การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย สิ่งที่ตามมา คือ โรคภัยไข้เจ็บ และหนึ่งในนั่นคือ อาการหลงลืม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุพลัดหลง หากดูตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา พบว่า ในปี 2566 มีการแจ้งเหตุคนหายทั้งหมด 2,200 ราย ขณะที่ สัดส่วนจำนวนของคนหายที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงวัย ที่เวลานี้กลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของสังคมไทย 

 

ตามสถิติของกรมกิจการผู้สูงอายุ โดยในปี 2566 มีจำนวนประชากรกลุ่มนี้สูงถึง 20.08% เรียกว่าเข้าเกณฑ์ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society)  โดยกลุ่มผู้สูงวัยที่พลัดหลงหายไปจากบ้าน มักมีอาการหลงลืม หรือเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ทำให้การติดตามช่วยเหลือยิ่งเป็นไปได้ลำบาก 

 

จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่มาของ โครงการหาย(ไม่)ห่วง ความร่วมมือของ มูลนิธิกระจกเงา และภาคเอกชน ในการใช้ริสแบนด์ นวัตกรรมเรียบง่ายที่สามารถช่วยเหลือผู้พลัดลงได้ โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย 

 

\' \'ริสแบนด์\' หาย(ไม่)ห่วง\'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

สูงวัย จิตเวช พลัดหลงมากที่สุด

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของ โครงการหาย(ไม่)ห่วง โดยระบุว่า ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนกว่า 3,000 คน ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา ช่วยพาผู้พลัดหลงกลับบ้านอย่างปลอดภัยมาแล้วกว่า 40 คน และ สำหรับสามเดือนแรกของปี 2567 ช่วยผู้พลัดหลงกลับสู่อ้อมอกครอบครัวมาแล้ว 15 คน

 

“ความโชคดี คือ เราทำ Database มาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว มีระบบฐานข้อมูลบันทึกเคสคนหายทั้งหมด ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจรูปแบบของปัญหาอย่างชัดเจนว่าจริงๆ แล้วคนหายไปจากสาเหตุอะไร แต่ละช่วงเวลาก็มีความแตกต่างกัน”

 

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลมาตลอดทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วปัญหาคนหายมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยในช่วง 5 ปีมานี้ กลุ่มที่พลัดหลงสูญหายส่วนใหญ่ คือ กลุ่มผู้สูงวัย และ ผู้ป่วยจิตเวช ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้พลัดหลงกลุ่มนี้ คือ ให้ข้อมูลตัวเองไม่ได้ ตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญมากในกระบวนการระหว่างให้การช่วยเหลือ

 

ศูนย์ข้อมูลคนหาย เริ่มเข้ามาให้ความสำคัญกับปัญหาคนหายกลุ่มนี้อย่างจริงจัง แต่ด้วยกำลังคนที่ไม่เพียงพอ จึงต้องรอจังหวะโอกาส ที่สุดท้ายก็มีผู้บริจาครายหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคิดและริเริ่มหากลไกป้องกันและติดตามคนหาย

 

จนเป็นที่มาของโครงการที่เจาะจงไปที่กลุ่มผู้สูงวัยที่มีอาการหลงลืม มีภาวะสมองเสื่อม รวมไปถึงผู้ป่วยจิตเวชและบุคคลออทิสติก ที่มีแนวโน้มพลัดหลงออกไปจากบ้านได้ ภายใต้ชื่อ โครงการหาย(ไม่)ห่วง รวมถึง ทรู ที่ช่วยสนับสนุนงานติดตามคนหายมาตั้งแต่ในรายการ True Academy Fantasia และประชาสัมพันธ์ให้คนรับรู้ในวงกว้าง

 

\' \'ริสแบนด์\' หาย(ไม่)ห่วง\'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

 

กลไกช่วยให้หายห่วง

ทั้งนี้ การช่วยให้ระยะเวลาที่พลัดหลงออกจากบ้านสั้นมากที่สุด ช่วยให้พวกเขากลับบ้านได้เร็วที่สุด ก็จะเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้พลัดหลงได้ “เอกลักษณ์” เล่าว่า ก่อนที่ทีมงานศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงาและพาร์ตเนอร์ของโครงการช่วยกันระดมความคิด ทำให้โครงการหาย(ไม่)ห่วง มีกลไกที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้

 

Practical tools อุปกรณ์ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ขอความช่วยเหลือและระบุตัวตนของผู้พลัดหลงได้ โดยแต่ละชิ้นต้องผ่านการลงทะเบียนทั้งผู้สวมใส่และญาติที่สามารถติดต่อได้

Privacy protection ข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งผู้สวมใส่และครอบครัวที่ลงทะเบียนไว้จะอยู่ในระบบฐานข้อมูลที่ออกแบบอย่างรัดกุม และเข้าถึงได้เฉพาะศูนย์ข้อมูลคนหายที่เป็นตัวกลางในการรับแจ้ง ตรวจสอบข้อมูล และประสานงาน

Community engagement การรับรู้ของสังคมทำให้มีผู้คนคอยช่วยกันสังเกต แจ้งเหตุ ช่วยดูแลกันและกัน และเกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหา ถ้าหากมีคนในครอบครัวที่เสี่ยงพลัดหลงก็ลงทะเบียนกับโครงการได้

 

\' \'ริสแบนด์\' หาย(ไม่)ห่วง\'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

 

ริสแบนด์ นวัตกรรมเรียบง่าย

แม้ปัจจุบัน เทคโนโลยีจะเข้ามาบทบาทมากขึ้น แต่ข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ทันสมัย มักจะมาพร้อมกับการถอดชาร์จไฟ ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคในการสวมติดตัว หลังจากที่ทุกฝ่ายช่วยกันคิดอย่างรอบด้าน และทดลองร่วมกันตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี

 

ท้ายที่สุด จึงเลือกใช้อุปกรณ์ที่เรียบง่ายที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย นั่นคือ “ริสแบนด์” หรือ สายรัดข้อมือสีเหลือง ที่มีเพียงสัญลักษณ์หัวใจ QR Code หมายเลขสายด่วน และเลขรหัสขนาดเล็กที่พอสังเกตเห็นได้ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนออกแบบมาจากความเข้าอกเข้าใจและเคารพของสิทธิของสวมใส่ในทุกมิติ

 

“ริสแบนด์นี้ ผ่านการคิดและทดลองมาเยอะมาก ตั้งแต่เรื่องความแข็งแรงคงทนที่ต้องทำเป็นสองชั้น เรื่องไซส์ที่พอดีกับข้อมือที่มีขนาดต่างกัน ที่สำคัญ คือ เรื่องรูปลักษณ์โดยเลือกสีที่ผู้สวมใส่ต้องไม่รู้สึกแปลกแยก แตกต่าง สัญลักษณ์บนริสแบนด์มีเพียงรูปหัวใจ แต่สิ่งสำคัญ คือ เครื่องหมาย QR Code ที่เป็นสัญลักษณ์สื่อสารให้คนสังเกตได้ว่าน่าจะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่สวมไว้ เพราะยุคนี้เราต่างก็คุ้นชินกับการสแกนข้อมูลแบบนี้อยู่แล้ว”

 

นอกจากริสแบนด์แล้ว ยังมีป้าย QR Code ขนาดเล็กที่ใช้รีดติดเสื้อผ้าหรือใช้พกพาได้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ยังคงคำนึงถึงความรู้สึกและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สวมใส่ ไม่ให้รู้สึกถูกตีตราว่าเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลพิเศษ

 

\' \'ริสแบนด์\' หาย(ไม่)ห่วง\'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

 

ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม ริสแบนด์ทุกเส้น จำเป็นต้องลงทะเบียนข้อมูลของทั้งผู้สวมใส่และญาติหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่ติดต่อได้ในกรณีมีเหตุพลัดหลง ซึ่งเอกลักษณ์ยืนยันว่า ข้อมูลทั้งหมดนี้จะได้รับการปกป้องอย่างรัดกุม ตั้งแต่ระบบหลังบ้านที่ออกแบบมาอย่างดี และการจำกัดสิทธิ์ผู้เข้าถึงข้อมูลและใช้ตามวัตถุประสงค์อย่างเคร่งครัด เซิร์ฟเวอร์เก็บรักษาดูแลที่มูลนิธิกระจกเงา

 

“ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญที่สุด จำกัดสิทธิ์ผู้ที่เข้าถึงได้เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ 8 คน โดยใช้ข้อมูลเพื่อการตามหาคนหายเท่านั้น ในกรณีที่มีการสแกน QR Code ที่ริสแบนด์ จะมีข้อความขึ้นในจอมือถือว่า ‘บุคคลนี้ต้องการความช่วยเหลือ โปรดนำส่งสถานีตำรวจใกล้เคียง หรือติดต่อที่หมายเลขสายด่วนของศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา’ เท่านั้น ไม่สามารถระบุถึงตัวตนของผู้สวมใส่ได้”

 

ส่วนวิธีการประกาศที่ต้องเปิดเผยข้อมูลผู้พลัดหลง มีเพียงจำนวนน้อยเท่าที่จำเป็น “ประกาศคนหายที่เห็นเป็นเพียง 30% ของเคสที่รับแจ้งเท่านั้น และต้องได้รับการตรวจสอบและความยินยอมจากญาติ เราคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาเสมอ ขอให้มั่นใจได้ว่าโครงการนี้รับผิดชอบต่อข้อมูลของทุกคนที่สมัครเข้ามา” เอกลักษณ์ กล่าว

 

\' \'ริสแบนด์\' หาย(ไม่)ห่วง\'ช่วยผู้สูงวัยพลัดหลงกลับบ้าน

 

5 แอปพลิเคชั่น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สูงวัย

รายงาน World Population Prospects 2022 ขององค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ตัวเลขจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านคน โดยเป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ 10% และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นภายในปี 2593 เป็น 16%

 

ขณะที่ประเทศไทย ในปี 2567 เป็นปีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันจึงพบว่ามีการพัฒนานวัตกรรมสำหรับผู้สูงวัยเพื่อให้การใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้ รวมถึงแอปพลิเคชั่น ที่ตอบโจทย์ไลฟ์ไตล์และสุขภาพ อาทิ

 

กินยา (Kinya)

แอปพลิเคชั่นในสมาร์ตโฟน ที่ช่วยเตือนไม่ให้ลืมกินยาในแต่ละวัน สามารถตั้งเวลากินยา (ทายา หรือฉีดยา) ได้ทุกแบบของการใช้ยา กำหนดปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสมตามประเภทยา ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน ไม่มีข้อมูลส่วนตัวใดๆ ถูกเปิดเผย เพราะถูกพัฒนามาเพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้กินยาตรงเวลาเท่านั้น

 

ยังแฮปปี้ (Young Happy)

แอปพลิเคชั่น สำหรับการพบปะพูดคุยกับเพื่อนวัยเก๋า เข้าถึงเนื้อหาดีๆ และหัวข้อที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสุขภาพ อาหาร เทคโนโลยี ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมเวิร์กช้อปต่างๆ อีเวนต์ พร้อมกับภารกิจเสริมความฟิต ให้ผู้สูงวัยแอคทีฟ ขยับร่างกาย บริหารสมองได้ที่บ้าน

 

Go Mamma

แอปพลิเคชัน บริการรถรับส่งสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้การเดินทางของผู้สูงอายุมีความสะดวกสบายและปลอดภัย ด้วยระบบติดตามรถ พร้อมระบบแจ้งเตือนในกรณีฉุกเฉิน โดยนำแท็กซี่ที่มีอยู่แล้วในอุตสาหกรรมเดินทางสาธารณะ มาออกแบบต่อยอดเป็นนวัตกรรมการบริการรับ-ส่ง เพื่อให้เหมาะกับข้อจำกัดของผู้สูงอายุ และตอบโจทย์ความกังวลของลูกหลาน ด้วยคุณภาพระบบการจัดการ และลดค่าใช้จ่าย เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นที่มีความปลอดภัย ตั้งแต่การคัดเลือกผู้ขับขี่ อบรมการบริการ ระบบติดตามการเดินทาง การจองและจ่ายเงินที่สะดวก มีบริการผู้ดูแลติดตาม

 

“ขิง”(สร้าง-จ้าง) งานวัยเก๋า

ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างอาชีพหลังเกษียณตามความถนัดของแต่ละบุคคล ด้วยการจับคู่ระหว่างกลุ่มผู้สูงวัยที่มีศักยภาพที่จะถูกจ้างงานกับผู้ที่ต้องการจ้างงาน ทั้งภาคเอกชน บริษัทห้างร้าน หน่วยงานของรัฐ หรือกลุ่มบุคคลต่างๆ ช่วยผู้สูงอายุสร้างคุณค่า ลดโอกาสการเกิดภาวะซึมเศร้า

 

Fast Track (Stroke KKU)

แอปพิเคชันที่มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ การเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินมารับ ณ ที่เกิดเหตุ โดยทราบตำแหน่งที่เกิดเหตุแน่ชัดผ่านระบบ จีพีเอส และ การเผยแพร่ความรู้โรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและภาวะเร่งด่วนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มีเครื่องมือคัดกรองด้านสุขภาพ ภาพให้ความรู้ หนังสือและวีดีโอ สามารถเรียกรถพยาบาลจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แทนการโทรศัพท์ 1669 ได้