ศาสตร์และศิลป์ของ 'สัตยา นาเดลลา' เพื่อประคับประคอง ไม่ให้ไฟของการทำงานมอดดับ

ศาสตร์และศิลป์ของ 'สัตยา นาเดลลา'  เพื่อประคับประคอง ไม่ให้ไฟของการทำงานมอดดับ

เปิดแนวคิดการใช้ชีวิตของ ของ สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) หัวเรือใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่มีวิธีการมองแนวคิดเรื่อง Work-life Balance ใหม่ให้เป็น Work-life Harmony หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างการทำงานและการพักผ่อน

KEY

POINTS

  • สัตยา นาเดลลา หัวเรือใหญ่ของไมโครซอฟท์เชื่อเรื่อง Work-lift Harmony มากกว่า Work-life Balance

  • เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้บริหารของอเมซอน ชอบคําว่า 'เป็นอันหนึ่งอันเดียว' มากกว่าคําว่า 'ความสมดุล' เพราะความสมดุลมักบ่งบอกถึงการแลกเปลี่ยนที่เข้มงวด  

ย้อนกลับไปในช่วงเดือนส.ค. 2562 ไมโครซอฟท์ที่ญี่ปุ่นเริ่มทดลองลดวันทำงานเหลือเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ตามแนวคิด Four-day Workweek โดยหวังต้องการสร้างสมดุลระหว่างการพักผ่อนและการทำงาน (Work-life Balance) ให้พนักงาน หลังจากนั้นไม่นานบริษัทฯ ก็พบว่าพนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity)​ เพิ่มสูงขึ้นถึง 40%

แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือแนวคิดในการทำงานของ สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) หัวเรือใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่มีวิธีการมองแนวคิดเรื่อง Work-life Balance ใหม่ให้เป็น Work-life Harmony หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างการทำงานและการพักผ่อน

“เมื่อก่อนผมเคยคิดว่าเราควรต้องหาสมดุลระหว่างสิ่งที่เรียกว่าการพักผ่อนและสิ่งที่เรียกว่างาน” สัตยาเล่าเมื่อช่วงเดือนพ.ย.เมื่อหลายปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันเขากลับมองเรื่องการทำงานและการพักผ่อน “ในมุมใหม่”

“สิ่งที่ผมพยายามทําคือผสานสานสิ่งที่สนใจอย่างลึกซึ้ง ความสนใจลึก ๆ ของผมกับงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน” สัตยากล่าว

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวคล้ายกับมุมมองของเจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bazos) ผู้บริหารของอเมซอน (Amazon)

“ผมชอบคําว่า 'กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว' มากกว่าคําว่า 'ความสมดุล' เพราะความสมดุลมักจะบ่งบอกถึงการแลกเปลี่ยนที่เข้มงวด” เบโซส์ให้สัมภาษณ์เดือนเม.ย. เมื่อ 7 ปีที่แล้ว พร้อมเสริมว่า

“ทั้งงานและการพักผ่อนคือวงกลมวงเดียวกัน มันไม่ใช้การหาสมดุล”

"ถ้ามีความสุขในการทำงาน ผมก็เป็นคนที่ดีขึ้นที่บ้านคือเป็นพ่อและสามีที่ดีขึ้น และถ้าผมมีความสุขที่บ้าน ผมก็จะมาทำงานด้วยพลังที่ล้นเหลือคือเป็นพนักงานและเพื่อนร่วมงานที่ดียิ่งขึ้น” 

ทั้งนี้สัตยาเล่าว่า Work-lift Harmony ทำให้เขามีพลังและความพึงพอใจในการกลับไปทำงานมหาศาล

นาเดลลามีลูกสามคนกับภรรยาของเขา รวมถึงลูกชายวัย 23 ปี ซึ่งพิการอย่างรุนแรง ดังนั้นเขาจึงทุ่มเทให้กับการค้นหาวิธีสําหรับเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ผู้คนมองเห็นและพูดได้ โดยในเดือนพ.ค. 2561 เขาได้ประกาศโครงการริเริ่มของไมโครซอฟท์มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สําหรับผู้พิการ

“ไมโครซอฟท์เป็นแพลตฟอร์มในการตามหาแพสชั่นของตัวเอง และมันก็สร้างความหมายมหาศาลให้ผมเช่นเดียวกัน สำหรับผมแล้วทั้งหมดเป็นความผ่อนคลายที่สุดสำหรับผมแล้ว”

หากงานของคุณมีความหมายต่อชีวิตนั่นเป็นปัจจัยทํานายความสุขของคุณอย่างมาก โดยในการสํารวจปี 2562 จาก CNBC/SurveyMonkey พบว่า ผู้คน 35% กล่าวว่า "ความหมาย" เป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ก่อให้เกิดความสุขในการทํางาน

อย่างไรก็ตาม การรักษาความกลมกลืนนี้ก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะแม้แต่ความหลงใหลก็สามารถเผาผลาญผู้คนได้ นาเดลลาทิ้งท้าย โดยในเดือนพ.ค.ปีเดียวกันเขาเล่าว่า

"กุญแจสําคัญคือการไม่หักโหมทำงานจนไฟในการทำงานนั้นกลับมาเผาตัวเอง แต่ให้พยายามรักษาไฟนั้นไม่ให้ดับ นั่นแหละแพสชั่นที่แท้จริง"

ที่บ้านผู้บริหารไมโครซอฟท์ผู้นี้พยายามอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุดเมื่อเขาใช้เวลากับลูก ๆ "นั่นคือช่วงเวลาที่ผมต้องการอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด" เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งในเดือนต.ค. 2557  "และนั่นคือสิ่งที่ทําให้ผมสามารถอยู่กับวิธีคิดแบบ Worl-life Harmony ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด"

อ้างอิง

CNBC