งานดี เงินปัง "Creative & Design - สายงานดิจิทัล" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

งานดี เงินปัง "Creative & Design - สายงานดิจิทัล" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

สายงานความคิดสร้างสรรค์ Creative & Design เป็นสายงานที่กำลังมาแรงในยุคที่ใครๆ ก็เป็น Creator ได้ แถมเงินเดือนเริ่มต้นก็สูงมากๆ เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ เรียกได้ว่า งานดี เงินปังสุดๆ ทว่าหากพิจารณา “อัตรา Burn out ” คนสาย Creative& Design ก็พุ่งสูงเช่นเดียวกัน

KEY

POINTS

  • คนทำงานทุกคนมักอยากหาความก้าวหน้าให้กับสายอาชีพของตัวเองทั้งนั้น ยิ่งสายงานดีๆ เงินปังๆ ใครๆ ก็อยากทำ แต่ทำไม? สายงานเหล่านี้ถึงมีอัตราBurn out หรือลาออกมากขึ้น
  • ภาวะหมดไฟ หรือ Burn out เป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายกำลังประสบพบเจอ เพราะความเครียด ความเหนื่อยทุกคนต้องเผชิญ 
  • ลองเช็กตัวเองว่าภาวะ Burn out และการจะลาออกจากงานนั้น เป็นเพราะเบื่องาน หรือเบื่อคน แล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไร?

ขณะที่สายงานดิจิทัล อีกหนึ่งอาชีพที่มาแรง โดยเฉพาะยุค Digital เรียนจบออกมาใครๆ ก็ต้องการตัว แต่เมื่อเข้าสู่ตลาดงาน กลับพบว่ามีอัตราการลาออกมากที่สุด

เกิดอะไรขึ้น? ทำไม “สายงานดี เงินปัง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน” กลับ Burn out ลาออกกันเป็นว่าเล่น

รายงานเมื่อปลายปีที่แล้วจาก International SOS ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกกับ Workforce Resilience Council ผ่านการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงจำนวน 675 คนทั่วโลกเพื่อคาดการณ์ปัญหาที่ต้องรับมือสำหรับธุรกิจในปี 2024

พบว่าส่วนใหญ่ (80%) มองว่าวิกฤตที่มีมานานและต่อเนื่อง (Permacrisis) คือภาวะ Burn out ที่กำลังก่อตัวเพิ่มขึ้นจากความเครียดสะสม โดยมีเพียง 41% ของตัวแทนจากแต่ละองค์กรที่เชื่อว่าบริษัทของพวกเขาสามารถรับมือกับปัญหานี้ได้ ทำให้ภาวะหมดไฟ (Burn out) ถูกยกให้เป็นประเด็นที่ทั้งตัวคนทำงานและองค์กรควรตระหนักถึงมากขึ้น

ประกอบกับข้อมูลจากบทความโดย thrivemyway ระบุว่าคนทำงาน 2 ใน 3 เคยผ่านประสบการณ์ช่วงหมดไฟมาก่อน และอัตราการเกิดก็กำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายองค์กร ส่วนพนักงาน 36% เองก็ชี้ว่าองค์กรไม่มีแผนจะเข้ามาช่วยเหลือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วิธีฮีลใจ รับมือวัน bad day เมื่อต้องเจอชีวิตย่ำแย่ อกหัก หมดไฟ

สั่งเก่งไม่เวิร์ก! หัวหน้างาน-HR ต้องรับมืออย่างไร? เมื่อพนักงาน ‘Burnout’

สายงานที่เสี่ยงภาวะ Burn out มากที่สุดในปี 2567

ความเครียดและความเหนื่อยล้าในแต่ละวันส่งผลให้ “ทุกคน” มีโอกาสที่จะ Burn out ได้ทั้งนั้น และถ้าไม่สามารถจัดการ Work-life balance ได้อย่างเหมาะสม คำว่า "ลาออก" มักจะวนเวียนมาอยู่เสมอ 

สำหรับสาเหตุหลักๆ ของการเกิดภาวะหมดไฟ ได้แก่

  • ไม่รู้สึกถึงการสนับสนุนจากหัวหน้างาน
  • ปัญหาจากชั่วโมงการทำงานที่ไม่สมเหตุสมผล
  • รู้สึกโดนรุกล้ำความเป็นส่วนตัวจากองค์กรตลอดเวลา
  • อย่างไรก็ตาม แม้ว่าใครๆ ก็สามารถ Burnout ได้ แต่อาจมี “บางสายงาน”
  • ที่มีโอกาสหมดไฟได้มากกว่าใครๆ เนื่องจากขาด Work-life balance
  • แบกรับความเครียดของงานในทุกๆ วัน

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

ว่ากันว่า สายงานที่เสี่ยงมีภาวะBurn out มากที่สุดในปี 2567 นั้น ได้แก่ 

  • สายงานCreative & Design 
  • สายงานสังคมสงเคราะห์
  • สายงานด้านกฎหมาย
  • สายงาน Business Development และ Sales
  • สายงาน พนักงานค้าปลีก
  • สายงานด้านเทคโนโลยี (Tech Industry)
  • สายงานด้านดิจิทัล
  • งานบริการด้านสุขภาพ
  • หน่วยงานบริการในสภาวะฉุกเฉิน
  • บุคลากรด้านการศึกษา

จากผลสำรวจแนวโน้มการจ้างงานในไทยปี 2566 โดย Work & Reward (WTW) ระบุว่า ปัจจุบันจำนวนพนักงานในตำแหน่งเฉพาะทางด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 20% โดยมีตำแหน่งยอดนิยม อย่าง Cloud Computing Engineering, Machine Learning, Full Stack Development และ Technology Product Development

งานดี เงินปัง  "สายงานดิจิทัล-เทคโนโลยี" อัตราการลาออกพุ่ง

โดยบริษัทกว่า 60% เชื่อว่า ความสามารถในการดึงดูดและรักษาบุคลากรด้านดิจิทัล คือ สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Organization ได้อย่างราบรื่นมากที่สุด ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นกว่าเมื่อปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 42% และมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ ผลักให้ สายอาชีพด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาด โดย Digital Marketing จะกลายเป็นอาชีพที่ติดอันดับดาวรุ่งในปี 2566 และอีกงานที่มาแรง และได้ค่าตอบแทนสูงสุด คือ งานในสาย Data Science และ Business Intelligence

ถึงแม้จะเป็นสายงานยอดนิยมของใครหลายคนในยุคนี้ แต่สายงานดิจิทัลตลอดจนเทคโนโลยีกลับมีอัตราการลาออกสูงสวนทางกับความต้องการในตลาด ด้วยอัตราการลาออกที่มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปถึง 9% โดยตำแหน่งงานที่มีพนักงานลาออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ

  • Application Development (Internet/Web Application Development)
  • Data Science และ Business Intelligence
  • IT Architecture (Systems Design)
  • Digital Marketing
  • Agile / Scrum Master Project / Program Management

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

Gen Y เดอะแบกผู้ Burnout และลาออก สูงที่สุด

ข้อมูลผลสำรวจของ (Met life,2021) พบว่า Millennial หรือ Gen Y ที่มีอายุอยู่ที่ 26-40 ปีนั้นมีโอกาสจะ Burnout มากที่สุดถึง 42% ตามมาด้วย 34 % ของ Gen Z, 27% Gen X และ 21% Baby Boomers ตามลำดับ

พบอีกว่าพนักงานที่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้า Gen Z มักจะมีความสุขในการทำงานมากขึ้นนับเป็น 52% แบ่งเป็น

  • Productive (+58%)
  • Engaged (+120%)
  • Successful (+129%)
  • Motivated (+140%)

เมื่อเทียบกับการได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานจาก Gen อื่นๆ ซึ่งโดยรวมดูแล้วจะดีกับองค์กรแต่ในความเป็นจริงหัวหน้างาน Gen Y นั้นต้องเสียสละหลายๆ อย่างเพื่อได้มาซึ่งผลลัพธ์นี้ โดยรู้สึกกดดันที่ต้องแบกรับความหวังขององค์กรและพนักงานใต้บังคับบัญชา ก่อให้เกิดการ Burnout และความเครียดสะสมเมื่อเทียบกับปี 2020

จากคำแนะนำจากหลายๆ งานวิจัย มีทางออกให้กับหัวหน้า Gen Y ไว้ 3 วิธี คือ

1.   ลาออก

สำหรับหลายๆคนการลาออกเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด อ้างอิงจากผลการศึกษาของ McKinsey & Co สาเหตุของการ burnout มาจาก

  • Toxic behavior (70%)
  • ขาด Inclusivity มี bias มีลูกรัก (11%)
  • Sustainability งานโหลดงานเกินเวลา (8%)
  • อื่นๆ (11%)

2.   Remote work หรือให้ทำงานที่ไหนก็ได้

  • 69% บอกว่า work from home ทำให้ไม่เครียด
  • 66% บอกว่า remote work ทำให้มี work-life balance

3.   ลด Social media

  • งานวิจัยพบว่าคนที่ใช้ social media บ่อยๆ มีโอกาส depress สูงกว่าคนใช้น้อยถึง 13-66%

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

สถิติกับการ “ลาออก” อัตรา Turnover rate

ข้อมูลเชิงสถิติรวบรวมมากจาก Oracle NetSuite (2022)

โดยเฉลี่ยทุกปีอัตราการลาออกจะอยู่ที่ประมาณ 18% โดยแบ่งเป็น

  • ลาออกโดยไม่สมัครใจ 6%
  • ลาออกโดยสมัครใจ 13%

พนักงาน Talent ลาออกที่ 3% ต่อปี

พนักงานในสายงานบริหารและวิชาชีพจะมีอายุงานเฉลี่ย 4.9 ปี โดยเฉพาะตำแหน่งงานด้านกฎหมาย สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมมักจะมีอายุงานที่นาน ส่วนผู้ที่ทำงานในสายงานบริการจะมีอายุงานเฉลี่ยต่ำสุดที่ 2.9 ปี และผู้ให้บริการด้านอาหารมีอายุงานเฉลี่ยต่ำสุดที่ 1.9 ปี

การลดอัตราการลาออกนั้นมีความสำคัญด้วยเหตุหลายประการ

  1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานใหม่มาแทนที่ ต้นทุนของการสรรหาพนักงานใหม่นั้นสูงถึง 1.5-2 เท่าของเงินเดือนพนักงาน
  2. นั่นหมายความว่าการที่บริษัทเสียพนักงาน 1 คน ที่มีรายได้ 2,500,000 บาทต่อปี ทางองค์กรจะต้องจ่ายมากถึง 5,000,000 บาทเพื่อหาพนักงานใหม่มาแทนที่
  3. และแม้อัตราการออกจะไม่สูงมาก แต่หากบริษัทมีพนักงาน 100 คนซึ่งได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 150,000 บาท ต้นทุนในการหาพนักงานใหม่อาจสูงถึง 88 ล้านบาทต่อปี

66% ของพนักงานยอมตกลงเข้าทำงานและค้นพบภายหลังว่าไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ ครึ่งหนึ่งจะลาออกภายใน 6 เดือนหรือเร็วกว่านั้น

การเสียพนักงานที่เก่งไปถือเป็นความเสียหาย แต่การจ้างคนผิดก็เสียหายหนักไม่ต่างเช่นกัน โดยจะเสียเฉลี่ยประมาณ 500,000 บาท ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นกับ 3 ใน 4 บริษัทเลยทีเดียว

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

50% ของคนที่ลาออก เพราะวัฒนธรรมองค์กรเป็นพิษ

  • 28% ของพนักงานใหม่จะลาออกในช่วง 90 วันแรก (3 เดือน)
  • 50% ของคนที่มีการศึกษาสูงและมีบุตรกล่าวว่าวัฒนธรรมองค์กรมีส่วนสำคัญมากกับการทำงาน การลาออกจากองค์กรเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรอาจจะสร้างความเสียหายได้ถึง 75 หมื่นล้านบาทในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
  • 74% ของคนที่ลาออกเคยประสบปัญหา Burnout สืบเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ

ค่าตอบแทนมักถูกมองว่าเป็นเหตุผลอันดับ 1 ที่ทำให้พนักงานลาออก แต่ความจริงแล้ว ค่าตอบแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นอันดับที่ 4 ของเหตุผลที่พนักงานลาออก

  • รองจากการพัฒนาอาชีพ (Career development)
  • ความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต (Work-life balance)
  • ผู้จัดการ (Manager)

พนักงาน 12% ลาออกจากงานเพื่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (work-life balance) ที่ดีขึ้น เป็นเหตุผลอันดับต้นๆ ของการลาออกและ เพิ่มขึ้นถึง 20% ตั้งแต่ปี 2013 เหตุผลหลักในการลาออกของส่วนนี้คือการจัดตารางเวลา และการเดินทาง เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งถึง 403% ในทศวรรษที่ผ่านมา

นอกจากนั้น การทำงานนอกสถานที่ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ (Remote work) ทำให้อัตราการลาออกลดลงถึง 25% และ23% ของพนักงานประจำยินดีที่จะลดค่าจ้างมากกว่า 10% เพื่อที่จะได้ทำงานจากที่บ้านบ้าง (WFH)

วิธีแก้อาการเบื่องาน สำหรับคนกำลังหมดไฟ

วิธีแก้อาการเบื่องานที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ จะมีอะไรบ้าง รีบไปอ่านกันโดยพลัน ก่อนจะสายเกินแก้ไขเบื่องาน

1. ค้นหาต้นตอที่เป็นสาเหตุของการเบื่องาน

ทุกครั้งที่เราพบเจอกับปัญหาอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่ควรทำคือ หาสาเหตุของปัญหานั้นให้เจอก่อนว่า มันคืออะไรกันแน่ เฉกเช่นเดียวกันกับอาการเบื่องาน เมื่อเรารู้สึกเซ็งกับงานทุกวันนี้เต็มแก่ อยากลาออกให้รู้แล้วรู้รอด ก็ต้องสาเหตุของมันเช่นเดียวกัน ว่าเป็นเพราะอะไร

สิ่งสำคัญในการหาสาเหตุก็คือ ควรมองให้รอบด้าน ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ อย่าใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง และคิดว่าสิ่งอื่นๆ แย่เสมอไป จนลืมมองกลับมาที่ตัวเอง เพราะบางครั้งสาเหตุในการเบื่องานที่แท้จริงแล้ว อาจมาจากตัวเราเองก็เป็นได้ เมื่อพบเจอต้นตอของปัญหาเป็นที่เรียบร้อย ค่อยดำเนินการหาวิธีแก้ไขเป็นลำดับต่อไป

2. เช็คให้ชัวร์ว่า “เบื่องาน” หรือ “เบื่อคน”

สืบเนื่องจากข้อแรกหากเช็คให้ชัวร์แล้วว่าสาเหตุหลักไม่ได้มาจากตัวเราเองแน่ๆ ก็ต้อง Double Check ซ้ำสองว่า สาเหตุที่เราเบื่องานนั้น แท้จริงแล้วคืออะไร ส่วนที่ใหญ่ที่หลายคนประสบพบเจอ ก็มีแค่อยู่แค่ประเด็นก็คือ ไม่ “เบื่องาน” ก็ “เบื่อคน”

เคยมีผลวิจัยจากหลายๆ ที่เคยกล่าวไว้ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจเลือกออกจากงาน แท้ที่จริงมีสาเหตุมาจากคนที่ในทำงาน บางคนถึงขั้นจำยอมทิ้งงานที่รัก สวัสดิการที่ดีจากบริษัท เพียงเพราะทนพฤติกรรมและนิสัยแย่ๆ ของคนในที่ทำงานไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมทีม ซึ่งปัญหาหลักๆ มักจากเกิดเรื่องราวความไม่เท่าเทียมกัน ความไม่ยุติธรรม ปัญหาการสื่อสาร สไตล์การทำงานที่ไม่เข้ากัน ไปจนถึงโชคร้ายเจอเพื่อนร่วมงาน Toxic

เพราะฉะนั้นแล้วให้ลองชั่งใจดูว่า ถ้าเราตัดคนออกไปจากออฟฟิศเรา แล้วเราจะมีความสุขขึ้นหรือไม่ ถ้าสุดท้ายแล้วผลออกมาว่าใช่ ให้ฟันธงไปเลยว่าคุณกำลังเบื่อ “คน” แต่ไม่ได้เบื่อ “งาน” แน่นอน 

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

3. มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

บางครั้งการวิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันเสมอไป แต่เราควรนำประเด็นนี้มาใช้แก้ปัญหาในบางเรื่องเช่นเดียวกัน เพราะการสร้างทัศนคติในเชิงบวกหรือการมองโลกในแง่ดี ก็สามารถช่วยได้ เพราะจริงๆ แล้ว การที่คนเราต้องทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ทุกวันเป็นนาน ย่อมก่อให้เกิดอาการเบื่อแน่นอน แล้วยิ่งถ้าเราไปหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ว่าทำไป ก็จะมีแต่เบื่อขึ้นเรื่อยๆ ความคิดนั้นก็จะบั่นทอนให้เรามีความสุขในการทำงานที่ลดลงไปอีก

เพราะฉะนั้นเราควรมองมุมกลับ ปรับมุมมอง ให้ลองหาข้อดีอื่นๆ ในงานที่ทำอยู่ หรือลองหาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในออฟฟิศของเรา เช่น การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี, การมีหัวหน้าที่เข้าใจและซัพพอร์ตเรา, สวัสดิการออฟฟิศสุดปัง, การเดินทางมาทำงานแสนสบาย ฯลฯ เพียงแค่เราหาจุดบวก ก็สามารถเกิดแรงจูงใจใหม่ๆ ให้เราอยากตื่นขึ้นมาทำงานได้มากขึ้นแล้ว

4. เบื่องาน เพราะงานที่ทำจำเจ

หากคุณรู้สึกว่างานที่อยู่ตลอดเป็นอะไรที่ซำ้ๆ เดิมๆ ทำเหมือนเดิมแทบทุกวัน หรือรู้สึกว่างานที่ทำมันดูจะง่ายเกินไป ทั้งที่จริงๆ คุณก็สามารถทำงานนั้นได้อย่างดีเยี่ยม แต่บางครั้งก็รู้สึกว่านี่คือ Comfort Zone ของตัวเองในการทำงาน เพราะเคยชินกับสิ่งนั้น ผสานกับกลัวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นั่นก็อาจเป็นสัญญาณของการเบื่องานได้เช่นเดียวกัน

วิธีแก้คือลองหาโอกาสคุยกับหัวหน้างานเกี่ยวกับการรับงานใหม่ๆ หรือโปรเจคต์พิเศษที่จะช่วยพัฒนาทักษะและท้าทายความสามารถของคุณให้มากขึ้น นอกจากนี้ก็ควรลองที่จะหาข้อมูลถึงตำแหน่งงานสายอื่นๆ ในบริษัทดูด้วย ลองไปพูดคุยกับทีมอื่น ว่าเขาทำงานกันอย่างไร เหนือบ่ากว่าแรงของเราไหม และคุณสมบัติที่เรามี สามารถนำมาปรับมาใช้มากน้อยเพียงใด แล้วค่อยหาทางขยับขยายเพื่อเป็นตำแหน่ง แต่ข้อสำคัญเลยก็คือคุณต้องแน่ใจตัวเองจริงๆ ก่อนนะ ว่าคุณกล้าที่จะก้าวออกจาก Comfort Zone ของงานเดิมจริงๆ มิฉะนั้นอาจกลายเป็นการหนีเสือปะจระเข้ ย้ายไปแล้ว รู้สึกแย่กว่าเก่า ก็อาจจะกลายเป็นผลเสียกว่าเดิมก็ได้

5. เปลี่ยนสไตล์การทำงาน หรือ เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน

วิธีต่อมาคือลองปรับเปลี่ยนสไตล์การทำงานของตัวเองดูบ้าง เช่น ถ้าปกติคุณเป็นคนที่ทำงานแบบมีระเบียบแบบแผน ทุกอย่างต้องเป๊ะตามตาราง ลองปรับด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นลงไปบ้าง เพื่อจะได้ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป หรือหากมองกลับกัน หากคุณเป็นคนที่ทำงานแบบชิลจนเกินไป จนขาดการวางแผนที่ดี ก็ลองหันมาจริงจังด้วยการจัดตารางงานใหม่ วางแผนลำดับความสำคัญแบบเป็นขั้นเป็นตอน ก็อาจช่วยให้งานของคุณราบรื่นไปได้เช่นกัน

นอกจากนี้คุณยังควรลองเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของตัวเองดูด้วย เช่น การแบ่งเวลาการทำงานกับชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสม แยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจน ใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนแบบ Work Life Balance และไม่ควรนำเรื่องงานกลับมาเครียดต่อที่บ้านเป็นอันขาด

6. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด แม้เราจะก้าวเข้าสู่การเป็นมนุษย์เงินเดือนเต็มตัวแล้วก็ตาม แต่เราก็ควรหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาทักษะที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะบางครั้งคุณอาจไม่รู้ตัวว่าจริงๆ แล้วสาเหตุที่เบื่องาน อาจเกิดมาจากการติดขัดเรื่องทักษะบางอย่าง จึงอาจทำให้งานที่ทำอยู่ สะดุดไปบ้างในบางครั้ง

หากมีโอกาสจึงควรหาเวลาเทคคอร์สเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับงานของตัวเอง หรือหากอยากก้าวไปอีกขั้น ก็ลองเทคคอร์สที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายงานตัวเองก็ได้ เพราะเผื่อได้จับผลัดจับผลูได้ย้ายสายงาน จะได้นำทักษะใหม่ๆ ไปปรับเข้ากับงานได้อย่างดีเยี่ยม โดยสมัยนี้มีคอร์สออนไลน์ให้เลือกเรียนมากมาย แถมบางที่ยังฟรีและมีใบประกาศฯ ให้อีกด้วยนะ

7. มองหาความท้าทายในที่ทำงาน

เมื่อคุณกล้าออกจาก Comfort Zone หรือได้ลองเทคคอร์สเพิ่มเติมแล้ว ก็ถึงเวลาเริ่มต้นในการมองหาความท้าทายใหม่ๆ สักที หากยังไม่กล้าพอที่จะย้ายสายงาน ก็ลองปรึกษาหัวหน้าเพื่อขอรับผิดชอบในโปรเจคต์พิเศษหรือชิ้นงานที่ยากขึ้นดูก่อน ไม่อย่างนั้นก็ถามลองเพื่อนร่วมทีมว่าต้องการความช่วยเหลือบ้างไหม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะของคุณได้เป็นอย่างดี

โดยการลองทำงานใหม่ๆ ที่ยากขึ้นนั้น จะเป็นส่วนช่วยในการกระตุ้นสมองและอารมณ์ของคุณให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้น แถมยังมีส่วนช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มเติม ได้เติบโตในสายอาชีพ ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เมื่อโอกาสในเลื่อนตำแหน่งมาถึง

8. ค้นหางานอดิเรกใหม่ๆ

บางครั้งการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบ Full Time ทำให้เราลืมที่จะมองหาความสุขรอบตัวไปบ้าง เพราะเรามัวแต่โฟกัสอยู่กับงานมากเกินไป จนก่อให้เกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรลองที่หางานอดิเรกทำ อาจจะเริ่มต้นจากงานอดิเรกที่คุณเคยทำอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ทำ หรือจะลองค้นหาอะไรใหม่ๆ ทำในเวลาว่างก็ได้เหมือนกัน

โดยกิจกรรมที่น่าสนใจ ก็อย่างเช่น การลองเทคคอร์สพิเศษ, การเข้าฟิตเนสหรือคลาสออกกำลังกาย, การเล่นหุ้น, การเยี่ยมนิทรรศการ, การออกไปเดินทางท่องเที่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวช่วยในการบรรเทาความเครียดได้เป็นอย่างดี

9. หากิจกรรมทำแก้เครียดระหว่างวันทำงาน

สำหรับงานอดิเรก อาจจะต้องหาวันหยุดหรือวันว่างๆ ในการไปทำกิจกรรม แต่ถ้าเป็นระหว่างวันเวลาทำงาน เราก็สามารถหากิจกรรมสั้นๆ เพื่อ Take a break จากงานเครียดๆ ได้เหมือนกัน เช่น

  • บันทึกเรื่องราวดีๆ ที่เคยทำ ลงในสมุดสักเล่ม
  • หาร้านอาหารอร่อยๆ ทานช่วงมื้อกลางวัน
  • ออกไปเดินเล่นรับลม หรือหาซื้อของว่างยามบ่าย
  • พยายามหาเวลาลุกจากโต๊ะไปที่อื่น สักประมาณ 5-10 นาที
  • เปิดเพลงฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย
  • คุยเล่นเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องงานกับเพื่อนร่วมทีมบ้าง
  • จัดโต๊ะทำงานให้ดูเก๋ไก๋สวยงาม เพื่อสร้างมู้ดในการทำงาน
  • วางแผนหาข้อมูลท่องเที่ยวหรือหากิจกรรมทำช่วงวันหยุด

10. ตั้งเป้าหมาย ลองมองหาสิ่งใหม่

พยายามตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองว่าการที่เราทำงานที่บริษัทนี้ เรามีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องการให้เส้นทางอาชีพของเราประสบความสำเร็จมากแค่ไหน เพราะทุกๆ เป้าหมายที่เราตั้งไว้ ล้านแล้วแต่เป็นแรงผลักดันให้เราสามารถมีแรงฮึดต่อสู้กับทุกสิ่งอย่างได้เสมอ ซึ่งทุกๆ การตั้งเป้าหมาย อย่าไปคำนึงถึงอุปสรรคที่จะเข้ามา หรือคิดว่าเราไม่สามารถต่อสู้กับปัญหาได้ ขอแค่คุณมีกำลังใจที่ดี และเชื่อว่าความสามารถของคุณไปถึง แค่นี้ก็จะอาจช่วยให้บรรเทาอาการเบื่องานลงได้

แต่สุดท้ายถ้าลองพยายามทุกสิ่งแล้ว ก็ยังเบื่อกับงานปัจจุบันที่ทำอยู่จริงๆ ก็อาจจะต้องถึงเวลามองหางานใหม่ เพราะไม่แน่ใจถ้าได้คุณได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อนร่วมงานใหม่ๆ อาการเบื่องานอาจจะหายไปก็ได้

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

รวมเหตุผลในการลาออก ควรบอกบริษัทอย่างไรดี

1. ต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพ

เหตุผลนี้จริงๆ แล้วอาจดูค่อนไปทางเชิงลบกับบริษัทเก่าอยู่เช่นกัน จึงอาจต้องหาวิธีที่ดีในการพูด เพราะโดยปกติแล้ว คนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพ หากงานเก่ามาถึงทางตันและไม่สามารถขยับให้สูงขึ้นได้ ก็ควรต้องแจ้งความจริงกับที่ทำงานเก่า 

2. สไตล์การทำงานไม่ตรงกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมทีม

ปัญหาสุดคลาสสิกที่สามารถเจอได้ในทุกออฟฟิศ หากจะว่าไปแล้ว เรื่องของคนก็ถือเป็นหนึ่งเหตุผลหลักลำดับต้น ๆ ที่มนุษย์เงินเดือนอยากลาออกเพื่อหนีปัญหานี้  ดังนั้นหากจะแจ้งเรื่องลาออกกับหัวหน้าด้วยเหตุผลนี้ ก็อาจต้องหาเหตุผลอื่นมาสนับสนุนด้วยเช่นกัน 

3. อยากเปลี่ยนสายงาน

คนเราย่อมมีความถนัดหลายด้าน บางครั้งเมื่อทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกวันเป็นเวลานาน ก็อาจเกิด อาการ Burn Out หรือรู้สึกอิ่มตัวได้ ดังนั้นการแจ้งเหตุผลในการออกว่าอยากเปลี่ยนสายงาน จึงถือเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้น

4. ต้องการเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น

ข้อนี้ถือเป็นอีกเหตุผลยอดฮิตของคนที่คิดอยากลาออกจากงานเก่าเช่นเดียวกัน การลาออกเพื่ออัปเงินเดือนจึงถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่แล้ว กว่าจะมีการปรับเงินเดือนก็ต้องใช้เวลา 6 เดือน - 1 ปี เป็นอย่างต่ำ ดังนั้นการไปทำงานที่ใหม่เพื่อ อัปเงินเดือน จึงถือเป็นทางลัดที่หลายคนเลือก 

5. มองหาเงื่อนไขการทำงานที่ยืดหยุ่น

ในยุคที่เทรนด์เรื่อง Work Life Balance เป็นเรื่องสำคัญ เพราะชีวิตคนเราไม่ได้มีแต่เรื่องงานอย่างเดียว ไหนจะสภาวะทางเศรษฐกิจหรือสังคมต่างๆ ที่ก่อให้ความเครียดได้เช่นกัน ดังนั้นหากรู้สึกว่างานปัจจุบันส่งผลให้คุณเครียดเป็น 2 เท่า แล้วอยากได้ความยืดหยุ่นที่มากขึ้นจากที่ทำงานใหม่ ก็สามารถใช้เหตุผลนี้ได้

6. วางแผนในการเรียนต่อ

การ วางแผนเรียนต่อ ถือเป็นเหตุผลที่ดีเลยทีเดียว เพราะเรื่องของการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด แถมบางครั้งการทำงานในบางตำแหน่งที่สูงขึ้น อาจต้องใช้วุฒิการศึกษาที่สูงตามไปด้วย บริษัทจึงเข้าใจได้ว่าพนักงงานต้องการพัฒนาตัวเอง และมีความมุ่งมั่นใจที่ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการเติบโตในสายงาน

7. ประสบกับปัญหาสุขภาพ

เรื่องโรคภัยไข้เจ็บก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดได้เช่นกัน ยิ่งในยุคนี้ที่โรคภัยใหม่ ๆ อุบัติขึ้นมากมาย การใช้เหตุผลนี้จึงถือว่าเหมาะสม โดยโรคที่ใช้เป็นเหตุผลควรมีความสมเหตุสมผล ที่สามารถนำมาประกอบเหตุผลในการลาออกได้

8. ต้องใช้เวลาดูแลครอบครัว

ครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ดังนั้นหากในครอบครัวมีเราแค่คนเดียวที่สามารถทำหน้าที่นั้นได้ หรือสามารถออกจากงานเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลคนในครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือการออกจากงานเพื่อเป็นแม่บ้านเต็มตัวและดูแลลูก ดังนั้นเหตุผลข้อนี้จึงมีความสมเหตุสมผลเหตุผลในการลาออก

9. ต้องย้ายกลับต่างจังหวัด

สำหรับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างถิ่นกับออฟฟิศ เช่นคนที่อยู่จังหวัดอื่น แต่มาทำงานในกรุงเทพฯ ก็อาจแจ้งเหตุผลในการลาออกได้ว่า มีเหตุผลทางครอบครัวหรือเหตุผลส่วนตัวอื่น ๆ ที่ต้องย้ายไปกลับอยู่ที่ถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งไม่สะดวกต่อการทำงาน ไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้ ฉะนั้นแล้วการย้ายที่อยู่จึงเป็นเหตุผลในการลาออกที่เหมาะสม

10. ต้องไปรับช่วงต่อในการดูแลธุรกิจของครอบครัว

บางครอบครัวก็เป็นครอบครัวที่มีกิจการเป็นของตัวเองอยู่แล้ว และมักจะให้ลูกออกไปหาประสบการณ์ในการทำงานจากการทำงานในองค์กรสักระยะ เพื่อตักตวงความรู้และทักษะต่าง ๆ แล้วกลับมาปรับใช้กับธุรกิจของครอบครัว เมื่อถึงเวลาหนึ่งลูก ๆ จึงต้องกลับไปดูแลกิจการของที่บ้านต่อ จึงสามารถใช้เป็นเหตุผลในการลาออกได้

11. อยากเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง

บางคนเมื่อทำงานเก็บเงินไปสักระยะ อาจรู้สึกว่าอิ่มตัวกับงานในระบบบริษัท เบื่อกับการเป็นลูกน้องและอยากออกมาเป็นเจ้านายตัวเอง ด้วยการเริ่มต้นธุรกิจสักอย่างของตัวเองอย่างจริงจัง อีกทั้งยุคนี้ที่หลายคนหันมาค้าขายออนไลน์กันมากขึ้น การเริ่มธุรกิจของตัวเองจึงถือเป็นการลาออกจากงานที่สมหตุสมผลอีกข้อหนึ่ง

12. มีเป้าหมายในชีวิตที่ต่างจากองค์กร

คนที่ทำงานไปสักระยะ ก็มักจะได้เรียนรู้ถึงเป้าหมายขององค์กรได้มากขึ้น หากสุดท้ายแล้วเป้าหมายของตัวเราเองไม่ตรงกับสิ่งที่องค์กรตั้งไว้ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะมองหาเป้าหมายใหม่ของตัวเอง เพราะอย่างไรเสียเป้าหมายขององค์กรก็เป็นสิ่งที่ตั้งไว้มานานและยากที่จะเปลี่ยนแปลง การจะรั้งพนักงานไว้ ก็อาจจะเป็นการเสียเวลาทั้งสองฝ่าย

งานดี เงินปัง \"Creative & Design - สายงานดิจิทัล\" ทำไม?อัตราBurn out ลาออกสูง!

13.ไม่สะดวกในการเดินทาง

เรื่องของการเดินทางอาจใช้เป็นข้ออ้างได้ยาก เพราะตอนเริ่มต้นทำงานทางบริษัทจะระบุสถานที่ตั้งของออฟฟิศไว้ให้อยู่แล้ว แต่กรณีที่ออฟฟิศซึ่งเคยทำงานแบบ Work from home มาก่อน และจ้างพนักงานที่ทำงานแบบ Remote Work ทำให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะทางในการเดินทางเข้าออฟฟิศ แต่หลังจากมีการเปลี่ยนนโยบายให้เข้าออฟฟิศ จึงทำให้เดินทางไม่สะดวก จุดนี้สามารถใช้เป็นเหตุผลในการลาออกได้

14. วางแผนไปทำงานต่างประเทศ

การไปทำงานในต่างประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงในยุคนี้ สำหรับการหาโอกาสใหม่ ๆ ให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตหรือการฝึกภาษา รวมทั้งการเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่บางครั้งการทำงานในประเทศอาจไม่ตอบโจทย์

15. อยากไปทำตามความฝันของตัวเอง

บางครั้งเรื่องของการทำงานและเรื่องความฝัน อาจไม่ได้มาคู่กันเสมอไป งานแรกที่หลายคนทำอาจไม่ใช่สิ่งที่ตรงใจ แต่ต้องทำไปก่อนเพื่อรายได้ของตัวเอง แต่สุดท้ายแล้วบางคนอาจฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส เชฟ นักร้อง หรือนักแสดง เมื่อมีโอกาสเหล่านี้เข้ามา หลายคนจึงตัดสินใจลาออกจากงานที่ทำอยู่แล้วเลือกอาชีพในฝัน

เหตุผลในการลาออก เพื่อเขียนในใบสมัคร

ได้เห็นตัวอย่างเหตุผลในการแจ้งออกจากที่ทำงานเก่าไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงขั้นตอนต่อมาของการสัมภาษณ์งานที่ใหม่กันบ้าง แน่นอนว่าต้องเจอคำถามตอน สัมภาษณ์งาน จากที่ทำงานใหม่เช่นกัน ถึงเหตุผลในการลาออก จากที่ทำงานเดิม เราจึงได้ยกตัวอย่าง ของเหตุผลที่ควรใช้และไม่ควรใช้มาฝากกัน

เหตุผลการลาออกจากที่ทำงานเก่า ที่ควรใช้

  • การปรับลดพนักงงานขององค์กร เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • บริษัทเก่าปิดกิจการ
  • ที่ทำงานเก่าไกลบ้าน เลยเลือกสมัครงานที่นี่ เพราะใกล้บ้านมากขึ้น
  • ที่ทำงานใหม่ตอบโจทย์เรื่องการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
  • อยากเพิ่มก้าวหน้าในสายอาชีพของตัวเอง หรือความท้าทายในการรับตำแหน่งที่สูงขึ้น
  • อยากลองทำงานในสายอาชีพใหม่ ที่ตนเองมีความถนัดในด้านนี้เช่นกัน
  • เหตุผลการลาออกจากที่ทำงานเก่า ที่ไม่ควรใช้
  • มีปัญหาเรื่องคนหรือเข้ากับหัวหน้าที่ทำงานเก่าไม่ได้
  • อยากได้เงินเดือนมากขึ้น เพราะบริษัทใหม่อาจมองว่าคุณหวังเรื่องเงิน มากกว่าความก้าวหน้าทางอาชีพ
  • ไม่พอใจในบริษัทเก่า หรือพูดถึงบริษัทเก่าแง่ลบ ตอนสัมภาษณ์งานใหม่
  • งานที่บริษัทเก่าเยอะเกินไป หรือมีการจัดการเรื่องงานที่ไม่เหมาะสม

การลาออกจากงานไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวล แต่เรื่องสำคัญคือการให้เหตุผลที่ดี เหมาะสม และควรเป็นไปในทางที่ไม่กระทบกับที่เก่าหรือภาพลักษณ์ของตนเอง ที่สำคัญไม่ควรพูดแง่ลบถึงบริษัทเก่า ควรเน้นเหตุผลจำเป็นหรือความก้าวหน้าส่วนบุคคล

อ้างอิง: jobsdb ,linkedin