เปิดโผ หุ้น SET50 ตั้งแต่ต้นปี 67 บวก - ลบ มากสุดกว่า 25%

เปิดโผ หุ้น SET50 ตั้งแต่ต้นปี 67 บวก - ลบ มากสุดกว่า 25%

เปิดโผ หุ้น SET50 ตั้งแต่ต้นปี 67 บวก - ลบ มากสุดกว่า 25% หุ้น TURE บวก 25.74% ส่วน หุ้น KCE ติดลบหนักสุด 25%

ดัชนี SET50 จัดเป็นหุ้นที่เชื่อว่าดีที่สุดในตลาดหุ้นไทย เป็นหุ้น 50 อันดับแรกที่ผ่านเกณฑ์ที่เข้มข้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ Market Capitalization สูง พื้นฐานแข็งแกร่ง และเกณฑ์ที่สำคัญคือ ไม่เป็นหุ้นที่ผิดชำระหนี้ที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท ฉะนั้นแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่จึงมักเลือกลงทุนใน ดัชนี SET50 

สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย ให้ข้อมูลกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า สำหรับในหุ้น SET50 หลัก ๆ เป็นกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร และกลุ่ม ICT ซึ่งกลุ่มธนาคารยังคงดูไม่ค่อยดีนัก ส่วนกลุ่มพลังงานเหมือนจะดูดีขึ้น เพราะว่าเศรษฐกิจ IMF มีการอัพเดต จีพีดีโลกขึ้น เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจสหรัฐมีการฟื้นตัว มีโมเมนตัมค่อนข้างดี เพราะฉะนั้นกลุ่มพลังงานจะเป็นตัวรับโฟล์แทนกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตาม มองว่า ตลาดหุ้นไทยคาดหวังการฟื้นตัวค่อนข้างลำบาก เป็นการแกว่งตัวอยู่ที่บริเวณ 1,360 - 1,400 จุด จนกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของดิจิทัลวอลเลต

ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นมาบ้างจาก 1,360 จุด ขึ้นมายืนที่ 1,380 - 1,390 จุด แต่ถือว่ายัง Underperform เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ เนื่องจากในตลาดหุ้นต่างประเทศบวกไปแล้วกว่า 5% 

ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิประมาณ 25,000 -30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากกลุ่มธนาคารที่ Outlook เศรษฐกิจไทยที่ไม่ค่อยดี ซึ่งจีพีดีเศรษฐกิจไทยปีนี้แตะที่ 3% ค่อนข้างยาก ถ้าไม่มีดิจิทัลวอลเลต จึงเป็นผลทำให้ต่างชาติมองว่า มีความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยภายในประเทศ

อีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญมาก ๆ หากดูที่เศรษฐกิจของสหรัฐ ดูเหมือนจะออกมาดีกว่าที่หลาย ๆ คนคาดการณ์ไว้ หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ ตัวเลขภาคการจ้างงาน และตัวเลขจีดีพีที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลทำให้การคาดการณ์ของอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ที่เดิมคาดการณ์ว่าจะลดครั้งแรกในเดือนมี.ค. นี้ และจะลดทั้งหมดประมาณ 6 -7 ครั้ง แต่มีการปรับลดลงมาที่ประมาณ 3 - 4 ครั้ง 

เพราะฉะนั้นระยะสั้น ๆ จะเห็นได้ว่า บอนด์ยีล กับตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มเด้งกลับขึ้นมา นั่นแสดงภาพสะท้อนว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะยืนอยู่ในกรอบบริเวณประมาณ 5% ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัว เนื่องจากว่า หากใน 2 -3 เดือนข้างหน้า ถ้าไม่มีดิจิทัลวอลเลต และยังประสบกับภาวะกับเงินฝืดอยู่ ขณะที่จีดีพี downside ทำให้บ้านเราอาจจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 

ทั้งนี้หากไทยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1 - 2 ครั้ง ขณะที่สหรัฐกลับไม่ลดอัตราดอกเบี้ย หรือลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ตรงนี้ถือว่าน่ากังวลมาก เพราะจะส่งผลให้ระหว่างยีลด์ของไทยและสหรัฐจะห่าง จึงเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้ต่างชาติเทขายหุ้นไทยทันที 

และมีการขายหุ้นกลุ่มแบงก์ เนื่องจากว่า NIM ของหุ้นกลุ่มธนาคารเริ่มพีคแล้ว กำลังจะผ่านจุดสูงสุดและกำลังจะลดลง เพราะจึงมีความเสี่ยง เพราะเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ได้มีการเติบโต มิหนำซ้ำมาร์จิ้นยังเจอแรงกดดัน กลุ่มธนาคารจึงเป็นเป้าหมายหลักในการขายออกของนักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจหุ้น SET50 ตั้งแต่ต้นปี 67 ผลตอบแทนราคาบวก - ลบ มากสุดกว่า 26% (ใช้ราคาปิด ณ วันที่ 15 ก.พ.67) 

โดยหุ้น SET50 ที่บวกมากสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีดังนี้ 

เปิดโผ หุ้น SET50 ตั้งแต่ต้นปี 67 บวก - ลบ มากสุดกว่า 25%

1.บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) TRUE

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +25.74%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 9.00 / 5.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 6.35 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 219,405.84 ล้านบาท

2.บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) AWC

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +13.48%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 6.10 / 3.40 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 4.04 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 129,289.47 ล้านบาท

3.บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) BH

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +11.26%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 272.00 / 204.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 247.00 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 196,336.83 ล้านบาท

4.ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +10.18%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 1.88 / 1.29 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 1.84 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 178,670.50 ล้านบาท

5.บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) TOP

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +6.98%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 58.00 / 42.25 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 57.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 128,445.55 ล้านบาท

6.บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) GPSC

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +6.70%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 71.50 / 37.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 51.75 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 145,920.99 ล้านบาท

7.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) BGRIM

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +6.42%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 42.00 / 21.80 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 29.00 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 75,600.10 ล้านบาท 

8.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +6.28%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 74.25 / 58.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 63.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 907,141.95 ล้านบาท 

9.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) MINT

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +5.93%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 35.00 / 25.75 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 31.25 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 174,868.69 ล้านบาท

10.บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TU

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ +4.67%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 16.30 / 12.40 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 15.70 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 73,085.58 ล้านบาท

ส่วนหุ้น SET50 ที่ลบมากสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีดังนี้ 

1.บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) KCE

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -25.00%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 57.50 / 35.50 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 41.25 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 48,761.15 ล้านบาท

2.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) BTS

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -21.38%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 8.25 / 5.40 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 5.70 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 75,055.54 ล้านบาท 

3.บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) CRC

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -15.85%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 47.50 / 32.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 34.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 208,069.50 ล้านบาท

4.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -15.76%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 20.50 / 15.40 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 15.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 216,628.95 ล้านบาท 

5.บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) SCGP

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -15.28%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 53.75 / 30.25 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 30.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 130,934.07 ล้านบาท 

6.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) SCC

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -13.73%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 342.00 / 262.00 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 264.00 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 316,800.00 ล้านบาท

7.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) BANPU

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -13.24%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 11.50 / 5.75 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 5.90 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 59,111.53 ล้านบาท

8.บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) EA

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -11.86%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 86.25 / 36.50 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 39.00 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 145,470.00 ล้านบาท

9.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -11.85%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 141.50 / 118.50 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 119.00 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 281,949.98 ล้านบาท

10.บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) CBG

  • ผลตอบแทนราคา YTD ที่ -10.91%
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุด 52 สัปดาห์ 106.00 / 61.25 บาท 
  • ราคา ณ 15 ก.พ.67 ที่ 73.50 บาท 
  • มาร์เก็ตแคป 73,500.00 ล้านบาท