เปิดพอร์ต 5 เศรษฐีนีหุ้นไทย แห่งปี 2566 มั่งคั่งระดับหมื่นล้านบาท

เปิดพอร์ต 5 เศรษฐีนีหุ้นไทย แห่งปี 2566 มั่งคั่งระดับหมื่นล้านบาท

เปิดพอร์ต 5 เศรษฐีนีหุ้นไทย แห่งปี 2566 มั่งคั่งระดับหมื่นล้านบาท ดาวนภา เพชรอำไพ เจ้าของอาณาจักร MTC รวยสุดกว่า 31,680 ล้านบาท

ปัจจุบันบทบาทของสตรีมีมากขึ้นในทั่วทุกมุมโลกและทุกมิติ ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงในด้านการลงทุน เฉกเช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ซึ่งถึงแม้ในปี 2566 จะไม่สดใสมากนัก เหล่าบรรดาเซียนหุ้นหรือนักลงทุนรายใหญ่มูลค่าสินทรัพย์ปรับลดลงตามราคาหุ้ แต่ยังมีสตรีที่ถูกจัดเป็นเศรษฐีนีหุ้นไทยหลายรายที่มีความมั่งคั่งจากมูลค่าหุ้นนับพันล้าน หมื่นล้านบาท 

ทั้งนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มี เศรษฐีนีแห่งปี 2566 ที่มีความมั่งคั่งระดับหมื่นล้านบาท 

เปิดพอร์ต 5 เศรษฐีนีหุ้นไทย แห่งปี 2566

1.ดาวนภา เพชรอำไพ มูลค่าพอร์ต 31,680 ล้านบาท

ดาวนภา เพชรอำไพ เจ้าของอาณาจักร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิส ประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถและสินเชื่อส่วนบุคคล ซิ่ง ปัจจุบัน ดาวนภา ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ส่วนสามี ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร

ปัจจุบันดาวนภา ถือหุ้นใหญ่ MTC อันดับ 1 จำนวน 720,000,000 หุ้น หรือ 33.96% มูลค่า 31,680 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 44.00 บาท) 

สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 3/66 ของ MTC บริษัทมีกำไร 1,285.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.62% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไร 1,205.28 ล้านบาท ด้านรายได้รวมอยู่ที่ 6,299 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,114 ล้านบาท หรือ 21.49%

ขณะที่ช่วง 9 เดือน มีกำไร 3,555.31 ล้านบาท ลดลง 10.25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 3,961.45 ล้านบาท

2.พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอปุย มูลค่าพอร์ต  25,604.53 ล้านบาท 

พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ลูกสาว นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ “หมอเสริฐ” เจ้าของอาณาจักร BDMS หรือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบี เอ็น เอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล และเจ้าของธุรกิจสนามบิน และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

ปัจจุบัน หมอปุย ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BDMS และล่าสุด หมอปุยได้รับรางวัลแพทย์สตรีดีเด่น สาขาการบริหาร 2566 จากสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ปัจจุบันพบว่า หมอปุย ถือหุ้นใหญ่ 3 หลักทรัพย์รวมมูลค่า 25,604.53 ล้านบาท 

  • หุ้น BA (บมจ.การบินกรุงเทพ) ลำดับ 4 จำนวน 136,300,000 หุ้น หรือ 6.49% มูลค่า 2,003.61 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 14.70 บาท)

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2566  BA มีรายได้รวม 5,625.50 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 42.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีกำไรสุทธิ 1,910.40 ล้านบาท เติบโต 582.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 มีจำนวนผู้โดยสารที่ขนส่งรวมทั้งสิ้น 0.97 ล้านคน เพิ่มขึ้น 21.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของจากปี 2565

ส่วนผลประกอบการ 9 เดือนปี 2566 มีกำไรสุทธิ 3,456.6 ล้านบาท เป็นกำไรจาการดำเนินงาน 3,183.6 ล้านบาท ปรับปรุงดีขึ้น 367.2% จากรายได้บัตรโดยสารของธุรกิจสนามบิน และรายได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินเป็นหลัก ในส่วนค่าใช้จ่ายปรับสูงขึ้น 34.3% ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้น คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าซ่อมบำรุงอากาศยาน

  • หุ้น BDMS (บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ) ลำดับ 3 จำนวน 823,880,410 หุ้น หรือ 5.18% มูลค่า 21,214.92 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 25.75 บาท)

สำหรับผลประกอบการ BDMS ไตรมาส 3/66 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 274,717 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9% จากงวดเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 31.3% จากไตรมาสก่อน ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 743,752 ล้านบาท ลดลง 14% จากงวดเดียวกันปีก่อน  

ทั้้งนี้ บริษัทในกลุ่ม HELTH-การแพทย์ มีกำไรสุทธิงวดไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 9,036 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.4% จากงวดเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 37.9% จากไตรมาสก่อน ขณะที่งวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 22,568 ล้านบาท ลดลง 20.8% จากงวดเดียวกันปีก่อน 

  • หุ้น ONEE  (บมจ.เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) ลำดับ 2 จำนวน 596,500,000 หุ้น หรือ 25.05% มูลค่า 2,386 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 4.00 บาท)

สำหรับผลประกอบการของบริษัท ในไตรมาสที่ 3/2566 โดยระบุว่ามีรายได้รวม 1,750.5 ล้านบาท กำไรสุทธิ 153.5 ล้านบาท แบ่งตามกลุ่มธุรกิจในเครือ ONEE เริ่มจากรายได้จากการบริการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมถึงบริหารเวลาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่ง ONEE มีทั้งช่องวัน 31 ที่เป็นสถานีโทรทัศน์ของตนเอง และช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ที่ ONEE รับบริหารจัดการและเป็นตัวแทนการตลาด ซึ่งมีรายได้อยู่ที่ 726.5 ล้านบาท

ขณะที่รายได้จากการบริหารลิขสิทธิ์ เติบโตจากไตรมาสก่อนถึงร้อยละ 24.4 คิดเป็นรายได้อยู่ที่ 269.8 ล้านบาท ส่วนรายได้จากการผลิตรายการวิทยุ ทำรายได้อยู่ที่ 68.4 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจรับจ้างผลิตและบริการ ทำรายได้อยู่ที่ 65.1 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการบริการรับจัดคอนเสิร์ตและบริหารกิจกรรมที่ในช่วงที่ผ่านมามีรายได้อยู่ที่ 255.8 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 74.2 จากไตรมาสก่อน

ส่วนผลการดำเนินงาน 9 เดือนอยู่ที่ 325.71 ล้านบาท และมีรายได้ 4,788.22 ล้านบาท 


3.จรีพร จารุกรสกุล มูลค่าพอร์ต 18,743 ล้านบาท

จรีพร จารุกรสกุล เจ้าของอาณาจักร WHA Group ดำเนินกิจการด้านโลจิสติกส์ 4 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจพัฒนาและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจให้บริการสาธารณูปโภคและพลังงาน และธุรกิจให้บริการด้านดิจิทัล ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร, รองประธานกรรมการบริษัท, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) WHA

ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่ 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวมกว่า 18,742.69 ล้านบาท

  • หุ้น WHA (บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น) ลำดับ 1 จำนวน 3,481,188,569 หุ้น หรือ 23.29% มูลค่า 18,450.30 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 5.30 บาท)

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/66 มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรทั้งสิ้น 2,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% และกำไรสุทธิ 623 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 141% โดยเป็นรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติ 2,706 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% และกำไรปกติ 609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2565 

ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรทั้งสิ้น 8,434 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 2,012 ล้านบาท โดยหากพิจารณาถึงผลประกอบการปกติ บริษัทฯ มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติ 8,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% และกำไรปกติ 1,932 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100% 

  • หุ้น WHAUP (บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์) ลำดับ 3 จำนวน 73,836,600 หุ้น หรือ 1.93% มูลค่า 292.39 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 3.96 บาท)

สำหรับ ผลการดำเนินงาน WHAUP ไตรมาส 3/66 บริษัทฯ รับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติ จำนวน 1,191 ล้านบาท และมีกำไรปกติ 475 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72% และ 426% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ ซึ่งรวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,844% จากปีก่อน

ขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติ จำนวน 3,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% และมีกำไรปกติ จำนวน 1,123 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 165% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 304% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน


4.ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ มูลค่าพอร์ต 17,272.50 ล้านบาท 

ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ ผู้ร่วมก่อตั้งอาณาจักร คาราบาว กรุ๊ป โดยมี เสถียร เสถียรธรรมะ และ แอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) ร่วมกัน ปัจจุบัน ณัฐชไม ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG

ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่ CBG ลำดับ 2 จำนวน 210,000,000 หุ้น หรือ 21.00% มูลค่า 17,272.50 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 82.25 บาท)

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3/66 CBG มีกำไรสุทธิ 529.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากงวดเดียวกันปี 65 ที่มีกำไร 475.28 ล้านบาท โดยบริษัทฯ มีต้นทุนปรับตัวลดลงและแผนการควบคุมค่าใช้จ่าย ส่วนงวด 9 เดือน 66 มีกำไร 1,274.93 ล้านบาท ลดลง 32% จากงวดเดียวกันปี 65 ที่มีกำไร 1,877.98 ล้านบาท

 

5.ธิดา แก้วบุตตา มูลค่าพอร์ต 8,875 ล้านบาท 

ธิดา แก้วบุตตา ทายาทอาณาจักร "ศรีสวัสดิ์ เงินด่วนทันใจ" ธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ก่อตั้งโดยฉัตรชัย - นางจริยา แก้วบุตตา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลยุทธ์องค์กร บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น หรือ SAWAD

ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่ 2 หลักทรัพย์ มูลค่ากว่า 8,875.21 ล้านบาท  

  • หุ้น SAWAD (บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น) ลำดับ 1 จำนวน 204,763,746 หุ้น หรือ 14.91% มูลค่า 8,856,032,014.5 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 43.25 บาท)

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3//66 /บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิรวม 1,424.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,251.14 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยราว 4,646.54 ล้านบาท และรายได้อื่นราว 605.26 ล้านบาท รวมรายได้อยู่ที่ 5,251.80 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 60.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนผลการดำเนินงาน 9 เดือนมีกำไรสุทธิรวม 3,968.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,507.42 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 13,601.41 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 59.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

  • หุ้น SCN (บมจ.สแกน อินเตอร์) ลำดับ 6 จำนวน 11,989,800 หุ้น หรือ 1.00% มูลค่า 19,183,680 ล้านบาท (คำนวณราคาปิด ณ 7 ธ.ค.66 ที่ 1.60 บาท)

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2566 มีรายได้ที่ 480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 55 ล้านบาท หรือ 131% เมื่อเทียบกับปี 2564 

ส่วนผลงาน 9 เดือนอยู่ที่ 140.28 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าอยู่ที่ 324.92 เท่ากับขาดทุนอยู่ที่ 56.83% 

 

เปิดพอร์ต 5 เศรษฐีนีหุ้นไทย แห่งปี 2566 มั่งคั่งระดับหมื่นล้านบาท