ยอดเทรด 'หุ้นจีน' ด้วยบัญชีมาร์จิ้นพุ่ง สวนทางปริมาณขายชอร์ต หลังทางการคุมเข้ม

ยอดเทรด 'หุ้นจีน' ด้วยบัญชีมาร์จิ้นพุ่ง สวนทางปริมาณขายชอร์ต หลังทางการคุมเข้ม

ปริมาณหนี้ของบัญชีเทรดหุ้นแบบมาร์จิ้นของหุ้นจีน (Margin Debt) เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับยอดการขายชอร์ตที่ลดลงหลังรัฐบาลจีนออกกฎควบคุมตลาดทุนหนัก หวังกระตุ้นความเชื่อมั่นนักลงทุน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานวันนี้ (14 พ.ย.66) ว่า ปริมาณหนี้จากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยบัญชีมาร์จิ้นในตลาดหุ้นจีน (Margin Debt)  เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับยอดการขายชอร์ตที่ลดลง เป็นผลมาจากการริเริ่มบังคับใช้กฎระเบียบที่ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูตลาดหุ้นที่อยู่ในขาลง

สภาวะหุ้นจีนย้อนหลัง โดยยอดคงค้างมาร์จิ้นรวม (Margin Balance) ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้นเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2565 ขณะที่ยอดการวางหลักทรัพย์บางส่วน (Leveraged Positions) ขยับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกันหลังจากหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ปรับลดอัตราส่วนเงินฝาก (Deposit Ratio) ​สําหรับการซื้อขายดังกล่าว

ในขณะเดียวกันมูลค่ารวมของหุ้นในประเทศของจีนที่ขายชอร์ตก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2565 โดยเป็นผลมาจากกฎที่กองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) ที่ต้องการขายชอร์ตหุ้นจะต้องถือ 100% ของมูลค่าของธุรกรรมในบัญชีของพวกเขาในขณะที่นักลงทุนรายอื่นจําเป็นต้องถือ 80%

 

ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวด้านกฎระเบียบดังกล่าวเป็นไปตามคํามั่นสัญญาในการประชุมโปลิตบูโรเมื่อเดือนก.ค.ที่จะ "กระตุ้นตลาดทุน และเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน"

ขณะที่ความพยายามอื่นๆ ได้แก่ การชะลอการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) การลดยอดขายของผู้ถือหุ้นชั้นนําบางราย และการลดอากรแสตมป์ในการทําธุรกรรมหุ้น อย่างไรก็ตามดัชนี CSI 300 ก็ยังลดลงมากกว่า 7% ในปีนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่เพอร์ฟอร์มแย่ที่สุดในโลก

อ้างอิง

Bloomberg 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์