ก.ล.ต. ขยายผลSTARK ‘ปั่นหุ้น -ตรวจผู้สอบบัญชี’ หากพบทำผิดจ่อฟันเพิ่ม

ก.ล.ต. ขยายผลSTARK  ‘ปั่นหุ้น -ตรวจผู้สอบบัญชี’ หากพบทำผิดจ่อฟันเพิ่ม

ก.ล.ต. เผยอยู่ระหว่างการขยายผลเพิ่มเติม กรณี STARK สร้างราคาปั่นหุ้น-ตรวจผู้สอบบัญชี’ หากพบการกระทำความผิด กล่าวโทษเพิ่มเติม ยันคำสั่งยึดอายัดทรัพย์ มุ่งป้องกันการเสียหายในการยักย้ายถ่ายเทสินทรัพย์ ขณะที่ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้

นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การดำเนินการกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หลังจากวานนี้( 6 ก.ค.)สำนักงานกลต.ได้ประกาศแจ้งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลและนิติบุคคล จำนวน 10 ราย ตามคำสั่งสำนักงานก.ล.ต. ที่ ส. 88/2566 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 267 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้วนั้น

หลังจากนี้ ทางก.ล.ต.ยังมีการดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน เพื่อขยายผลการกระทำความผิดเพิ่มเติมต่อไป  อย่างเช่น กรณีการสร้างราคาหุ้น หรือ ปั่นหุ้น ทางก.ล.ต. ได้ประสานความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)  ทั้งนี้ หาก ตลท. ตรวจสอบพบพฤติกรรมการกระทำดังกล่าว จะต้องนำข้อมูลมาให้กับทางก.ล.ต.  แต่ได้รับข้อมูลหรือไม่อย่างไร ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ซึ่งที่ผ่านมาข้อมูลการซื้อขายหุ้นทาง ก.ล.ต. เข้าไปตรวจสอบ

“การสร้างราคาปั่นหุ้น ต้องมีการตรวจสอบพฤติกรรมนำไปสู่การกระทำความผิด  3 เรื่องคือ 

1 . ข้อมูลที่ใช้ในตลาดฯ  เป็นข้อมูลการแพร่ข่าว ต้องไม่เป็นเท็จ หากใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ มีผู้เสียหายได้รับผลกระทบถือว่ากระทำความผิด

2.สร้างการซื้อขายที่ผิดปกติ หรือการปั่นหุ้น ต้องมีการตรวจพฤติกรรมการซื้อขายที่มีความผิดปกติดังกล่าวหรือไม่

3.การขายหุ้นบิ๊กลอต ใช้อะไรที่คนอื่นไม่รู้หรือไม่” 

ส่วนประเด็นของผู้สอบบัญชี ทางก.ล.ต.มีหน้าที่ตรวจสอบสอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน รวมถึงบริษัทย่อยด้วยนั้นก.ล.ต. มีกระบวนการพิจารณาอยู่แล้ว ตามหลักการของการตรวจสอบว่า ใครผิดใครถูก ถ้าผิดสามารถดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต ตามที่ ก.ล.ต. เห็นชอบได้ ส่วนการทำงานร่วมกับกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ ในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบหลักฐาน

นายธวัชชัย กล่าวว่า ในกระบวนการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงจนนำไปสู่การกล่าวโทษตามกฎหมายได้นั้น ก.ล.ต. จำเป็นต้องพิจารณาในทุกๆคนที่มีพยานและหลักฐานเกี่ยวข้องก่อน ทั้งนี้มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องส่วนไหนบ้างที่ สามารถดำเนินการได้ก่อนจะเร่งรัดดำเนินการ ซึ่งการดำเนินการเพิ่มเติมจะมีการทยอยออกมา โดยยังมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการบังคับใช้กฎหมาย ทั้ง ปอส. ดีเอสไอ และปปง. 

อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.ประกาศแจ้งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลและนิติบุคคล จำนวน 10 ราย  พบว่า การกระทำทุจริตการแต่งบัญชี และอาจมีเหตุยักย้ายถ่านเททรัพย์สินทรัพย์ จึงมีคำสั่งดังกล่าวซึ่ง ก.ล.ต.มีคณะกรรมการก.ล.ต.ที่พิจารณาอย่างเป็นขั้นตอน เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และมีปรึกษาที่ปรึกษากฎหมายของสำนักงานซึ่งก.ล.ต.เคยใช้คำสั่งนี้เมื่อ10กว่าปีก่อนเช่นกัน 

“จะเห็นว่าคำสั่งอายัด ผู้ที่ถูกกล่าวโทษมีทั้งบุคคลและนิติบุคคล เข้าเหตุตามกฎหมายที่จะใช้ได้ จึงสั่งการอายัด และผู้ถูกกล่าวโทษทั้ง10ราย มีความรับผิดรวมกัน สำหรับมูลค่าความเสียหาย เป็นไปตามมูลหนี้รวมตามงบการเงินของบริษัท มูลค่าทั้งสิ้น 38,000 ล้านบาท”

อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ทักทวงคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินดังกล่าว ก็สามารถมาทักทวงได้ว่า มีผลกระทบหรือมีพฤติกรรมไม่ได้เป็นการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน 

และยืนยันว่า การฟื้นฟูกิจการ ตามกฎหมายล้มละลาย เพื่อแก้ไขธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง  ไม่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของก.ล.ต. โดย ขั้นตอนบังคับใช้กฎหมาย ก.ล.ต. มุ่งกระทำความผิดมาลงโทษ 

นางพัฒนพร ไตรพิพัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายบังคับใช้กฎหมาย ก.ล.ต. กล่าวว่า แม้จะมีคำสั่งยึดอาทรัพย์สินดังกล่าว ธุรกิจยังสามารถดำเนินการได้ และจ่ายเงินเดือนพนักงานได้  

"คำสั่งดังกล่าวไม่ได้เป็นการยับยั้งการดำเนินธุรกิจ แต่มุ่งป้องกันการเสียหายในการยักย้ายถ่ายเทสินทรัพย์ ไม่ได้จงใจทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ "

นอกจากนี้ ก.ล.ต. คงจะไปขออำนาจศาลขยายระยะเวลาเพิ่มเติม หากทางดีเอสไอ ยังไม่สามารถดำเนินการอายัดทรัพย์สินของบุคคลและนิติบุคคล จำนวน 10 ราย ได้ภายใน 180 วัน  และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินและการดำเนินการอายัดทรัพย์สินให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือเวียนดังกล่าวที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะนำส่งให้ดีเอสไอ

“ ก.ล.ต.  พยามยามรวบรวมหลักฐานและตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด และยังจะมีการตรวจสอบขยายผลเพิ่มเติม  ส่วนการดำเนินไปถึงตัวผู้กระทำความผิด นั้นอยู่ที่ว่า ดีเอสไอจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยทางก.ล.ต. พร้อมให้การและให้ข้อมูลที่ผ่านมาก็ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด” 

ก.ล.ต. ขยายผลSTARK  ‘ปั่นหุ้น -ตรวจผู้สอบบัญชี’ หากพบทำผิดจ่อฟันเพิ่ม

ขณะเดียวกัน  ตลอดช่วงบ่ายวันนี้ ทางตัวแทน ก.ล.ต. ได้ลงมารับข้อเรียกร้องและอยู่ระหว่างการพูดคุยกับตัวแทน พนักงานบริษัทลูกของ STARK ได้แก่ บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด , บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด  และ บริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์ จำกัด รวมตัวพนักงานกันมากว่า 3 รถบัส  เดินทางมาเรียกร้อง ก.ล.ต. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากคำสั่งของก.ล.ต.ให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลและนิติบุคคล จำนวน 10 ราย ดังกล่าว

โดยที่ปรึกษา บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด  รายหนึ่ง กล่าวว่า หลังจากมีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์ดังกล่าวของทาง ก.ล.ต. ประกาศออกมา ในช่วงเช้าวันนี้ ทางคู่ค้าซัพพายเออร์ต่างๆ ก็เกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัทว่าจะสามารถดำเนินการผลิตและส่งมอบออเดอร์ได้ต่อหรือไม่  ขอรอดูสถานการณ์

ทางพนักงานมีความกังวลว่า หากมีการยึดอายัดทรัพย์สินจะไม่สามารถผลิตได้หรือไม่ หากธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ในอนาคต หรือแม้แต่ในช่วงระยะสั้น แค่เพียงวันเดียว  ก็จะกระทบต่อการทำงาน หยุดการผลิต การส่งสอบ ย่อมส่งผลต่อการจ่ายเงินเดือนพนักงาน  จึงขอให้ก.ล.ต.มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว 

“ เฟ้ลปส์ ดอด์จ เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสายไฟ เบอร์1ในไทยและอาเซียน หลังมีประกาศก.ล.ต. สั่งให้ยึดอายัดทรัพย์ดังกล่าว ทำให้กระทบต่อการทำงานและครอบครัวอย่างหนักในทันที เราเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ได้รับผลกระทบ ขณะที่บริษัทนี้ยังมียอดขายราวหมื่นล้านบาทต่อปี ยังมีแบ็คล็อค8พันล้านบาท และธุรกิจยังมีกำไร ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,000คน ทั้งโรงงานสาขาบางพลีและ ระยอง รวมถึงไทยเคเบิ้ลกลับได้รับผลกระทบ”