Hyperfund กองทุนคริปโทลวงโลก ที่สร้างความเสียหายกว่า 6 หมื่นล้านบาท

Hyperfund กองทุนคริปโทลวงโลก ที่สร้างความเสียหายกว่า 6 หมื่นล้านบาท

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และ ก.ล.ต.สหรัฐฟ้อง 3 ผู้ต้องหาขบวนการ Hyperfund กองทุนคริปโทลวงโลก โครงการหลอกลงทุนแบบพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ ในยุครุ่งเรื่องของตลาดคริปโท โดยการันตีรายได้ 300% จากการเปิดเหมืองคริปโทปลอม สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท

Keypoint:

  • DOJ และ SEC เปิดเผยข้อกล่าวหาในขบวนการฉ้อโกง Cryptocurrency HyperFund มูลค่า 1.9 พันล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 6.6 หมื่นล้านบาท
  • 3 ผู้ต้องหา ต้นตอกองทุนคริปโทลวงโลก เสี่ยงโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี
  • HyperFund เปลี่ยนชื่อไปเรื่อย เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ ทั้ง HyperTech, HyperCapital, HyperVerse และ HyperNation

ในวงการคริปโทเคอร์เรนซี่ มีการหลอกลวง ทั้ง อาชญากรรมแบบพอนซี่ (Ponzi Scheme) หรือวิธีการอีกหลายรูปแบบ ซึ่งมีหลายโปรเจต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยอ้างว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนได้มากมายในระดับสิบเท่าร้อยเท่าของเงินลงทุน จนทำให้นักลงทุนต้องเกิดความเสียหายสูญเงินไม่น้อย เมื่อรวมยอดมูลค่าความเสียหายในแต่ละเคส 

โดย  ไฮเปอร์ฟันด์(Hyperfund) เป็นหนึ่งในกองทุนคริปโทลวงโลก โดยสัญญาว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากถึง 300% จากการระดมทุนเพื่อขุดคริปโท ซึ่งไม่มีอยู่จริง ที่ต้องการหลอกนักลงทุน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่นักลงทุนรุ่นใหม่ มีความพยายามหลอกลงทุนไปทั่วโลก

HyperFund ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ HyperTech, HyperCapital, HyperVerse และ HyperNation มีการเปลี่ยนชื่อให้มีความคล้ายเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกจับได้ จนท้ายที่สุดได้สร้างมูลค่าความเสียหายมากถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 6.6 หมื่นล้านบาท

การันตีผลตอบแทน 300%

ลีและผู้สมรู้ร่วมคิดขายสัญญาการลงทุนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของ HyperFund และอ้างว่านักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนระหว่าง 0.5% ถึง 1% ในแต่ละวัน จนกว่าการลงทุนเดิมจะเพิ่มเป็นสองเท่าหรือสามเท่า โดยมีรายได้จากการขุดคริปโทจำนวนมหาศาล

ซึ่ง HyperFund เริ่มบล็อกการถอนเงินของนักลงทุน ในเดือนกรกฎาคม 2563 แต่นั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DOJ) เริ่มดำเนินคดีกับการหลอกลวงตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 และปัจจุบัน

3 ผู้ต้องหาลวงเงินนักลงทุน

เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ได้ประกาศข้อกล่าวหาทางคดีอาญาต่อ 2 ต้นตอลวงโลก และผู้ร่วมฉ้แโกงอีก 1 ราย

ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ หรือ ก.ล.ต.ดำเนินคดีทางแพ่ง โดยได้ตั้งข้อหาบุคคลสองคนในจำนวนดังกล่าว ฐานมีส่วนร่วมในโครงการหลองลงทุนแบบพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ (Crypto pyramid scheme) ปี 2564

ผู้ถูกต้องหาในคดีอาญาคือ แซม ลี(Sam Lee) พลเมืองออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถูกกล่าวหาว่าร่วมก่อตั้ง HyperFund รวมถึงผู้สนับสนุน HyperFund อีกสองคน ได้แก่ ร็อดนีย์ เบอร์ตัน(Rodney Burton)และ เบรนด้า ชุงก้า(Brenda Chunga) 

ลี วัย 35 ปีหรือที่รู้จักในชื่อ Xue Lee ถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดในข้อหาฉ้อโกงหลักทรัพย์ กับ เบอร์ตันวัย 54 ปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Bitcoin Rodney” ถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1 กระทงในการดำเนินธุรกิจการเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต และอีกกระทงหนึ่งดำเนินธุรกิจส่งเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ชายทั้งสองต้องเผชิญกับโทษจำคุกสูงสุดห้าปีหากถูกตัดสินว่ามีความผิด

ชุงก้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bitcoin Beautee ยอมรับผิดในข้อหาสมคบคิด 1 กระทงในการฉ้อโกงหลักทรัพย์และการฉ้อโกงทางสาย ซึ่งเธอต้องเผชิญกับโทษจำคุกสูงสุดเท่าเดิม หลังจากที่ก.ล.ต. ระบุว่าเธอได้รับเงินมากกว่า 3.7 ล้านดอลลาร์จากทั้งแพลตฟอร์ม HyperFund และจากนักลงทุน  ด้านนายลีก็ถูกตั้งข้อหาโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วยข้อหาการละเมิดเดียวกัน



 

อ้างอิง cnbc