วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways (ดัชนีฯ เคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบ 1,368.21-1,389.79 จุด ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. เป็นต้นมา รวมถึงวานนี้ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมาทดสอบแนวรับ 1,368 จุด ก่อนรีบาวนด์ในภาคบ่าย)

แนวรับ 1,368/1,365 จุด แนวต้าน 1,380/1,384 จุด (EMA 25/50 วัน) ภาพใหญ่ ดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ Down Channel 1,330-1,396 จุด ส่วนภาพระยะสั้น อยู่ระหว่างเลือกข้างว่าจะเป็น Uptrend เพื่อขึ้นไปทดสอบแนวต้านของกรอบที่ 1,395 จุด (เป้าหมาย 1,405/1,416 จุด ตามลำดับ) หรือจะเลือกเป็น Downtrend หากร่วงหลุด 1,350 จุด (เป้าหมาย 1,330 จุด)

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

China-US: การเดินทางเยือนจีนของรมว.คลังสหรัฐฯ Janet Yellen เพื่อหารือเกี่ยวกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของทางการจีน สิ้นสุดลงวันนี้ โดยคาดว่าความเสี่ยง Geopolitical Risks ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ยังคงไม่ลดลง

TH ผลประชุมคณะรัฐมนตรี คาดมีการพิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ การลดค่าจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม รวมทั้งการโอนและค่าจดจานองให้กับอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยจะเพิ่มเป็นราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน การพิจารณางบประมาณปี 2025 ฯลฯ

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy

Weekly Strategy:

ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อตลำดสัปดำห์นี้ คือ ผลประชุมกนง. โดยหากอิงจากการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบ USD ที่ 36.67 บาท/USD อ่อนค่า 6.90% YTD, 2.43% MTD ซึ่งอ่อนค่ากว่ามากเมื่อเทียบกับการแข็งค่าของค่าเงิน USD ที่แข็งค่าเพียง +2.77% YTD, +0.30% MTD เมื่อผนวกกับสัญญาณการเกิด Inverted Yield Curve ขึ้นใน TH Short bond yield (2 ปี) ที่ให้ผลตอบแทน ณ ปัจจุบันที่ 2.19% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ถึง -30 Bps. สะท้อนถึงตลาดมีการคาดการณ์ล่วงหน้าไประดับหนึ่งแล้วว่ากนง. มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยลงในวันที่ 10 เม.ย. 2024 ขณะที่ผลกระทบต่อกระแสเงินทุนเงินไหลออก หาก กนง. ปรับลดดอกเบี้ยก่อนเฟด คาดว่ามีจำกัด หลังจากเกิดกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกไปก่อนหน้าแล้วถึง -6.8 หมื่นล้านบาท YTD

ขณะที่ปัจจัยหนุนจะมาจากแนวโน้มปรับประมาณการ Growth สูงขึ้น จากความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งจากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ (สัปดาห์นี้ มีแถลงความชัดเจนของโครงการ Digital Wallet) หนุนการฟื้นตัวของประมาณการ 2024-25 EPS ซึ่งเริ่มมีสัญญาณของการปรับประมาณขึ้น และลดระดับ MRP ลง ซึ่งจะเป็น Positive ต่อดัชนี SET

กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: คาดดัชนีฯ ยังคงแกว่งตัวในกรอบ “เก็งกำไร” ที่ 1,341-1,369 จุด (MRP 4.59%-4.44%) แนะนำ ใช้เงินบางส่วนเพื่อเก็งกำไร ใน Investment Theme หุ้นรับผลบวกจากการลงทุนภาครัฐ เพื่อลุ้นข่าวดีจากรัฐบาลแถลงความชัดเจนในโครงการดิจิทัล วอลเล็ต และการผ่อนคลายนโยบายการเงิน (วันที่ 10 เม.ย. 2024) และเก็งกำไร หุ้น Commodity Play ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภท Hard Commodity ในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการปรับสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก WTI +20.7% YTD, +4.4% WoW

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

JP: Consumer Confidence เดือน มี.ค. Consensus คาดดีขึ้นเป็น 40 (Vs เดือน ก.พ. 39.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2021) สะท้อนสัญญาณเชิงบวกต่อการบริโภคในประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

US: รายงานความเชื่อมั่นของธุรกิจรายย่อย 620 ราย (NFIB Business Optimism Index) เดือน มี.ค. Consensus คาดปรับตัวสูงขึ้นเป็น 89.5 (Vs เดือน ก.พ. 89.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดรอบ 9 เดือน) โดยปัญหาที่ยังคงสร้างความกังวลอันดับแรก คือ เงินเฟ้อ คุณภาพของแรงงาน (Labor Quality)

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ CPAXT SABINA BCP

 

 

 

 

Strategic daily picks

CPAXT    ปิด 31.00 บาท/แนวรับ 34.00 บาท แนวต้าน 28.75 บาท

รับอานิสงส์เชิงบวกจากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่คาดว่าจะลงสู่ระบบเร็วขึ้น อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้า-บริการสูงสุด 50,000 บาท (Easy E-Receipt) ใน 1Q24 และมาตรการกระเป๋าเงินดิจิทัล (รัฐบาลแถลงความชัดเจนในวันที่ 10 เม.ย 2024) ด้วยจุดเด่นจำนวนสาขารวมกว่า 2,690 สาขา (ค้าส่ง/ค้าปลีก = 168/2,522 สาขา) ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ (Consensus Fair Price 35.6 บาท)

SABINA    ปิด 25.25 บาท/แนวรับ 24.60 บาท แนวต้าน 27.25 บาท

เป็นหุ้น domestic play ที่ได้ประโยชน์จากการกลับเข้าสู่ช่วงของการกระตุ้นทางเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์เชิงบวกต่อการอ่อนค่าของค่าเงินบาท (-6.90%YTD, -2.43%MTD) หนุนรายได้รับจ้างผลิต (OEM) ที่รับรู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น (Consensus Fair Price 31.4 บาท)

BCP   ปิด 45.50 บาท/แนวรับ 43.00 บาท แนวต้าน 47.50 บาท

รับผลบวกจากการสะสมสินค้าคงคลังรอบใหม่ Destocking to Restocking (Commodities) ให้ฐานะหุ้นกลุ่มพลังงานครบวงจร (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ช่วงกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผลการดำเนินงาน 1Q24E มีแนวโน้มเติบโต QoQ รับการฟื้นตัวของค่าการกลั่น การเติบโตของความต้องการใช้ในประเทศ และประโยชน์จากการบริหารร่วมกับ BSRC (เดิมชื่อ ESSO) ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยหนุนระยะสั้นจากจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันมาที่ 86.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล +4.4%WoW (Consensus Fair Price 50.9 บาท)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy