วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways แนวรับ 1,378/1,373 จุด แนวต้าน 1,387/1,395 จุด (EMA 50/75 วัน) เพื่อรอความชัดเจนของผลประชุมเฟด (ทราบผลคืนวันนี้) ทางเทคนิค ภาพใหญ่ของดัชนีฯ ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น ไปทดสอบแนวต้านของกรอบ Up Channel 1,330-1,400 จุด

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงจะเกิดขึ้น หากดัชนีฯ ร่วงหลุดต่ากว่าแนวรับเดิม 1,373 จุด

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

Opportunity Day: SIS VL PPS NAM PRM SYMC ASP AIMCG NNCL INET SMT BGC PHG SALEE KK POLY BLC FTI KCC HUMAN BCPG SAWAD SCC NRF PTTEP TTA SJWD

Thailand: วันนี้จนถึงวันพรุ่งนี้ สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 วาระที่ 2-3 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท +9.3% เมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ 3.185 ล้านล้านบาท หลังจากโหวตผ่านวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 311 ต่อ 117 เสียง เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2024 โดยตลาดคาดว่าสภาผู้แทนฯ จะมีมติอนุมัติ ก่อนส่งต่อให้ทางวุฒิสภาพิจารณารับรองในวันที่ 25-26 มี.ค. จากนั้นสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำ ร่างฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ วันที่ 3 เม.ย. เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป (รายละเอียดของพ.ร.บ. จะเป็นสัดส่วนรายจ่ายประจำ 72.85% รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง 3.4% รายจ่ายชำระคืนเงินกู้ 3.4% และรายจ่ายลงทุน 20.56% โดยปกติร่างพ.ร.บ. งบประมาณ จะสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2023 เป็นต้นมา แต่ความล่าช้าของการเลือกตั้งนายกฯ ส่งผลให้เกิดการล่าช้าและส่งผลกระทบต่อ 4Q23 และรวมถึง 1Q24E GDP Growth เพราะรัฐบาลไม่สามารถใช้จ่ายงบลงทุนได้)

Germany: สุนทรพจน์ประธานอีซีบี Lagarde ในงาน Institute for Monetary and Financial Stability conference in Frankfurt

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน

 

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

US FOMC Meeting: คาดคงดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องที่ 5.25-5.5% และมีโอกาสปรับ Dot Plot ลดดอกเบี้ยลงเหลือแค่ 1 ครั้งในปีนี้ ความสำคัญของการประชุม FOMC ครั้งนี้ อยู่ที่มุมมองของเฟดต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า หากอิง DOT PLOT ล่าสุด อัตราดอกเบี้ยจะปรับลดจาก 5.4% ในปี 2023E ลง 3 ครั้ง สู่ 4.6% ในปี 2024E สอดคล้องกับมุมมองตลาดผ่าน CME FedWatch ที่คาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลง 3 ครั้ง ไปที่ 4.50% อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา 1. ภาวะเศรษฐกิจร่วมกับอัตราเงินเฟ้อผ่าน ตัวเลข Nominal GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน) ปัจจุบันที่ 6.3% (อิงจาก CPI 3.2% YoY, GDP ล่าสุด +3.1% YoY) ที่ยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 5.5% 2. อัตราเร่งรายเดือนของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มเร่งขึ้นต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากเงินเฟ้อในตะกร้าบริการของสหรัฐฯ (สัดส่วน 60%) ยังไม่มีท่าทีจะปรับตัวลง (ค่าเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมา ยังเร่งตัวในระดับ 0.3% MoM) และ 3. อัตราเงินเฟ้อปัจจุบัน (3.2% YoY ในเดือน ก.พ.) ที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายเฟดที่ 2.0% YoY และยังมีแนวโน้มที่จะเริ่มเร่งตัวตั้งแต่ 2H24E หลังหมดปัจจัยช่วง High base ปัจจัยดังกล่าว สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบัน ยังไม่สามารถกดดันเงินเฟ้ออุปสงค์ได้ดีพอที่จะทำให้เฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายลงในเร็ว ๆ นี้ KTX คาดเฟดมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรกใน 4Q24E และปรับมุมมอง DOTPLOT ลงมาที่ 1 ครั้ง (จากเดิม 3 ครั้ง) ซึ่งเป็น Negative Sentiment ระยะสั้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง

 

 

UK: รายงานเงินเฟ้อเดือน ก.พ. โดย Consensus คาด +0.7% MoM, +3.5% YoY (Vs เดือน ม.ค. -0.6% MoM, +4% YoY) ส่วน Core CPI เดือน ก.พ. คาด +0.7% MoM, +4.6% YoY (Vs เดือน ม.ค. -0.9% MoM, +5.1% YoY) สัญญาณลดลงต่อเนื่องของเงินเฟ้อ จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ BOE มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลดลงในช่วงกลางปีนี้

China: Loan Prime Rate ประเภท 1 ปี และ 5 ปี โดย KTX คาดหากจีนต้องการบรรลุเป้าหมายเติบโต 5% ในปีนี้ จำเป็นที่ทางการจะต้องใช้แรงส่งที่มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งการออกพันธบัตรรัฐบาลแบบยาวนานพิเศษ (Ultra-Long), การอัดฉีดเงินเข้าระบบ (RRR) และ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยในวันนี้ Consensus คาดจีนจะปรับลด Loan Prime Rate 1 ปี และ 5 ปี 10 bps ลงมาที่ 3.35% และ 3.85% (Vs 3.45% และ 3.95%) ตามลำดับ (Figure 1) หากจีน ยังดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะเห็นการปรับเพิ่มประมาณการ EPS ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อ Earnings yield ให้ปรับตัวขึ้นตาม หนุนการเร่งตัวต่อเนื่องของดัชนี (Re-rate) ทั้งนี้ Earnings yield ของดัชนี CSI 300 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับ Earnings yield ของดัชนี SET สูงถึง 85% (ข้อมูลระหว่างปี 2019-ปัจจุบัน) ตลาดหุ้นไทยจะได้อานิสงส์เชิงบวกไปซื้อ-ขายในระดับ PE ratio ที่สูงขึ้นเช่นเดียวกับตลาดหุ้นจีนที่ปัจจุบันกลับมาซื้อขายกันที่ 11.0 เท่า

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ GLOBAL SCGD SCCC

 

Strategic daily picks

GLOBAL    ปิด 16.90 บาท/แนวรับ 16.30 บาท แนวต้าน 17.80 บาท

บริษัทตั้งเป้ายอดขายต่อสาขา (SSSG) เฉลี่ยทั้งปี 2024 เติบโตราว 5% ใกล้เคียงกับปี 2023 พร้อมรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยทั้งปีที่ราว 26% เติบโตเล็กน้อยจากปี 2023 ที่ 25.6% โดยบริษัทจะมุ่งขยายฐานสินค้าแบรนด์ร้านค้านของตัวเอง (House Brand) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มี GPM สูงราว 30-35%

SCGD    ปิด 7.90 บาท/แนวรับ 7.70 บาท แนวต้าน 8.65 บาท

บริษัทเดินหน้าโครงการลงทุนปรับปรุงเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่โรงงาน Prime Dai Lac ที่จังหวัดกว๋างนาม ใกล้เมืองดานัง ภาคกลางของเวียดนาม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าใหม่ในกลุ่ม “กระเบื้องเซมิพอร์ซเลน” เพื่อรักษาศักยภาพความเป็นผู้นำอันดับ 1 ธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวในเวียดนาม รวมทั้งการขยายตลาดส่งออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ คาดว่าจะใช้งบลงทุนรวม 6.01 หมื่นล้านเวียดนามดอง (ประมาณ 89.2 ล้านบาท) ซึ่งคาดจะดำเนินการแล้วภายในปี 2024 โดย Bloomberg Consensus ให้มูลค่าเหมาะสมที่ 13.20 บาท

SCCC   ปิด 143.00 บาท/แนวรับ 139.50 บาท แนวต้าน 147.50 บาท

บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 827 ล้านบาท (+191.6% YoY) และรายได้จากการขายสุทธิ 9.63 พันล้านบาท หนุนกำไรสุทธิปี 2023 อยู่ที่ 2.68 พันล้านบาท (+44.4% YoY) และรายได้จากการขายสุทธิ 4.22 หมื่นล้านบาท เป็นผลจากการดำเนินโครงการลดต้นทุนภายในอย่างต่อเนื่อง พร้อมจ่ายเงินปันผล 7.00 บาท/หุ้น โดย Bloomberg Consensus ให้มูลค่าเหมาะสมที่ 152.67 บาท

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ จับตา FOMC Meeting และนโยบายดอกเบี้ยจีน