วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOJ Meeting

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOJ Meeting

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,395 จุด (EMA 75 วัน)/1,400 จุด แนวรับ 1,378/1,373 จุด จากแนวโน้มรับผลบวกหาก BOJ ส่งสัญญาณยุติดอกเบี้ยนโยบายติดลบ

อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นคาดมีจำกัด เพื่อรอลุ้นผลประชุมเฟดคืนพรุ่งนี้ ทางเทคนิค ภาพใหญ่ของดัชนีฯ ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น ไปทดสอบแนวต้านของกรอบ Up Channel 1,330-1,400 จุด อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงจะเกิดขึ้นเช่นกัน หากดัชนีฯ ร่วงหลุดเส้น EMA 25 วัน (1,382 จุด) และยืนยันด้วยการร่วงต่ากว่าแนวรับเดิม 1,373 จุด

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

Opportunity Day: SAT MSC SAFE SINO LEO STECH TPIPL PRIME SELIC SYNEX SGP EGCO SCM TPAC UBA NEX AWC I2

US: การคัดเลือกตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน ในรัฐ Arizona, Florida, Illinois, Kansas, Ohio

ECB: สุนทรพจน์รองประธานอีซีบี Luis de Guindos ในงานที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOJ Meeting

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ :

BOJ Meeting: คาดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม -0.1% เป็นครั้งสุดท้าย หรืออาจมี Surprise ยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณในระหว่างการแถลงต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาของญี่ปุ่น สัปดาห์ก่อนว่า BOJ อาจจะยังไม่ยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมเดือน มี.ค. นี้ เพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมก่อนการประชุมในวันที่ 25-26 เม.ย. โดยข้อมูลเหล่านี้ รวมถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ (ทังกัน) และการแสดงความเห็นจากบรรดาผู้จัดการสาขาของ BOJ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ BOJ จะทำการเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจรายไตรมาส ซึ่งรายงานดังกล่าวจะช่วยให้ BOJ

 

 

 

สามารถประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 50 คน ซึ่งจัดทำโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กบ่งชี้ว่า โอกาสที่ BOJ จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุม 25-26 เม.ย. นั้น อยู่ที่ระดับ 54% ส่วนโอกาสสำหรับการประชุมเดือน มี.ค. อยู่ที่ 54% (จากเดิม 8%) หลังสภาลูกจ้างและนายจ้าง ตกลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรับขึ้นค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดรอบ 30 ปี ที่ +5.28% (Vs คาด +4.1%) และ Nominal Wage Growth เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น +2% YoY ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายสูงสุดของ BOJ

การแข็งค่าของเงินเยนอาจช่วยหนุนกระแสเงินบาท (หนุนกระแส Fund Flows เข้าไทย): เมื่อพิจารณา 1. อัตราเงินเฟ้อโตเกียวเดือน ก.พ. ที่เร่งตัวขึ้นมาที่ 2.6% YoY (Vs 1.8% YoY ในเดือนก่อน) ซึ่งกลับมาสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% 2. ค่าจ้างเดือน ม.ค. เร่งตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน ปรับขึ้นมาที่ 2.0% YoY (Vs 0.8% YoY ในเดือนก่อน) และ 3. 4Q23 GDP (ครั้งสุดท้าย) ที่พลิกกลับมาขยายตัว 0.1% QoQ ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค (Technical recession) ปัจจัยดังกล่าวทำให้ BoJ อาจส่งสัญญาณถึงการยกเลิกมาตรการนโยบายทางการเงินผ่อนคลายพิเศษ ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนกลับเข้าสู่ทิศทางแข็งค่า ทั้งนี้ หาก BoJ ส่งสัญญาณ Hawkish ตามที่เราคาด จะหนุนให้เงินเยนแข็งค่าต่อเนื่อง จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ด้วยวิธี Correlation Matrix Model พบว่าค่าเงินบาท/USD มีความสัมพันธ์กับค่าเงินเยน/USD ด้วยค่าสหสัมพันธ์สูงถึง 72% และมากกว่า 69% ในกรณีของดัชนีค่าเงิน USD ดังนั้น หากค่าเงินเยน/USD แข็งค่า จะส่งผลต่อแนวโน้มค่าเงินบาท/USD มีโอกาสแข็งค่ากว่าดัชนีค่าเงิน USD มีนัยถึง ไทยอาจได้อานิสงส์เชิงบวก จากการไหลเข้าของกระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย

 

 

มาตรการนโยบายทางการเงินผ่อนคลายพิเศษ ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนกลับเข้าสู่ทิศทางแข็งค่า ทั้งนี้ หาก BoJ ส่งสัญญาณ Hawkish ตามที่เราคาด จะหนุนให้เงินเยนแข็งค่าต่อเนื่อง จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ด้วยวิธี Correlation Matrix Model พบว่าค่าเงินบาท/USD มีความสัมพันธ์กับค่าเงินเยน/USD ด้วยค่าสหสัมพันธ์สูงถึง 72% และมากกว่า 69% ในกรณีของดัชนีค่าเงิน USD ดังนั้น หากค่าเงินเยน/USD แข็งค่า จะส่งผลต่อแนวโน้มค่าเงินบาท/USD มีโอกาสแข็งค่ากว่าดัชนีค่าเงิน USD มีนัยถึง ไทยอาจได้อานิสงส์เชิงบวก จากการไหลเข้าของกระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย

Australia: คาดธนาคารกลางมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม 4.35% เป็นครั้งที่สอง หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ย 425 Bps ตลอดสองปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี RBA ส่งสัญญาณพร้องเปลี่ยนแปลงนโยบายดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อไม่ปรับลดลงมาตามกรอบเป้าหมาย

US ยอดขายบ้าน Housing Starts เดือน ก.พ.: Consensus คาด +7% MoM เป็น 1.42 ล้านหน่วย ดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับดือน ม.ค. ที่ -14.8% MoM เป็น 1.331 ล้านหน่วย

EU ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เดือน มี.ค.: Consensus คาดว่า ZEW Economic Sentiment ปรับดีขึ้นเป็น 28 เทียบกับ 25 ในเดือน ก.พ. สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ GFPT SIS HUMAN

 

Strategic daily picks

GFPT   ปิด 12.20 บาท/แนวรับ 11.70 บาท แนวต้าน 12.80 บาท

แนวโน้ม 1Q24E คาดกำไรเพิ่ม YoY, QoQ (ปกติ 1Q กำไรอ่อน QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล) จากปริมาณส่งออกราว 8 พันตัน เพิ่ม YoY, QoQ จากความต้องการซื้อตลาดยุโรปที่เพิ่ม แต่อาจกระทบกับปริมาณขายให้อ่อนลงใน 2Q24E ด้านอัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มดีขึ้น QoQ จากราคาไก่ทรงตัว 40 บาท ราคาโครงไก่ปรับขึ้นต่อเป็น 17 บาท (จากราคาเฉลี่ย 14.50 บาท ใน 4Q23) และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลด

SIS     ปิด 26.75 บาท/แนวรับ 25.50 บาท แนวต้าน 28.75 บาท

ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท เสี่ยวหมี่ ประเทศไทย เป็นตัวแทนจำหน่ายสมาร์ทโฟนและสินค้า AIOT ภายใต้แบรนด์ เสี่ยวหมี่ อย่างเป็นทางการ โดยปี 2024 ตั้งเป้าขยายจุดจำหน่ายสินค้าให้มากถึงกว่า 6 พันร้านค้าทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังจ่ายเงินปันผล 1.05 บาท/หุ้น ในวันที่ 15 พ.ค. นี้

HUMAN    ปิด 12.00 บาท/แนวรับ 11.60 บาท แนวต้าน 12.90 บาท

บริษัทจ่ายเงินปันผล 0.14 บาท/หุ้น (XD=2 พ.ค. และ PD=23 พ.ค. 2024) นอกจากนี้ ปี 2024 มีแผนลงทุนในผลิตภัณฑ์และตัวธุรกิจหลัก ส่วนการ M&A อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งคาดภายใน 2-3 ปีข้างหน้า จะมีรายได้เป็น 2 เท่าของรายได้ปัจจุบัน จากการที่ให้ Workplaze เป็นเรือธงที่เจาะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าองค์กร พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 2024 จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 15% โดย Bloomberg Consensus ให้มูลค่าเหมาะสมที่ 13.43 บาท

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOJ Meeting

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOJ Meeting