Bank Sector วัฏจักรดอกเบี้ยใกล้พีค กดดันมาร์จิ้นธนาคาร
จากการขึ้นดอกเบี้ยระลอกล่าสุดในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2566 เราพบว่าธนาคารขนาดใหญ่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ (CASA) ประมาณ 5bps
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นปรับเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจึงอาจจะทำให้ต้นทุนเงินฝากเพิ่มขึ้นมากลบยีลด์สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เรายังกังวลต่อมาร์จิ้น (NIM) ของ BBL เพราะธนาคารเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย CASA เร็วขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยต่างประเทศที่หยุดขึ้นอาจจะทำให้มาร์จิ้นของสินเชื่อต่างประเทศ (คิดเป็นประมาณ 20% ของสินเชื่อรวม) ไม่ขึ้นต่อ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว NIM ก็ใกล้ถึงจุดสูงสุดเช่นกัน
เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะใกล้ขึ้นสุดแล้ว จากสัญญาณตัวแลขเงินเฟ้อที่ลดลงแรงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และเข้าใกล้ศูนย์ ในขณะที่โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศแผ่วลง บวกกับหลายประเทศในเอเชียหยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแล้วมาเป็นเวลา 6 เดือน เราจึงไม่เห็นเหตุผลที่ธปท.จะยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก
NII ธนาคารใหญ่อาจจะไม่โตเท่าเดิม
NIM ของธนาคารทุกแห่งเพิ่มขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นตั้งแต่กลางปี 2565 โดย NIM ของ BBL เพิ่มขึ้นมาที่สุดถึง +70bps ตั้งแต่เริ่มมีการขึ้นดอกเบี้ยในกลางปี 2565 รองลงมาคือ KTB ที่ +44bps, SCB ที่ +43bps, KBANK ที่ +27bps, TTB ที่ +16bps, TISCO ที่ +25bps และ KKP ที่ +7bps ทั้งนี้ NIM ที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ NII ของ BBL โตถึง +24% ในปี 2565 และ +38% YoY ใน 1Q66 ในขณะที่ของ NII ของ KTB เพิ่มขึ้น +8% ในปี 2022 และ 22% ใน 1Q66 ส่วน NII ของ KBANK และ SCB โตในระดับปานกลาง ซึ่ง NII ที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ รักษาสมดุลของรายได้ค่าธรรมเนียมที่ขาดไป และช่วยให้ธนาคารสามารถเพิ่มสำรองพิเศษสำหรับล้างหนี้เสียได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น +14% ในปี 2565 และ
+14% YoY ใน 1Q66
ปรับประมาณกำไร KTB เพิ่ม แต่ปรับลดคำแนะนำด้วยอัพไซด์ที่จำกัด
เนื่องจากกำไรสุทธิของ KTB ใน 1Q66 คิดเป็น 29% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา ดังนั้น เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566/2567 ขึ้นอีก 5%/7% เพื่อสะท้อนถึง 1) กำไรจาก FVTPL 2) การปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM เป็น 2.92%/2.92% (จากเดิมที่ 2.8%/2.8%) 3) การปรับเพิ่มสมมติฐาน credit cost เป็น 120/100bps (จากเดิมที่ปีละ 100 bps) ทั้งนี้ เมื่อใช้ PBV ที่ 0.75x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2566 ใหม่ที่ 21 บาท แต่เนื่องจากราคาหุ้นเหลือ upside จำกัด เราจึงปรับลดคำแนะนำนจากซื้อเป็นถือ
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน.