“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

ฐานเศรษฐกิจ  เครือเนชั่น เปิดตัว “Climate Center” สำนักข่าวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมลงนามร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทส. สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วน เน้น “ปลุก ปรับ เปลี่ยน” ขับเคลื่อนบรรลุเป้าหมาย Net Zero

KEY

POINTS

  • แกะกล่องสำนักข่าวน้องใหม่ "Climate Center" ส่งต่อข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ด้านClimate Change  สร้างความเข้าใจ ความร่วมมือแก่ประชาชน ดึงทุกภาคส่วนร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • "ปลุก ปรับ เปลี่ยน" บทบาทหน้าที่ของClimate Center จากฐานเศรษฐกิจ เดินหน้าขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 
  • ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ปัญหา เพราะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน

ฐานเศรษฐกิจ  เครือเนชั่น เปิดตัว “Climate Center” สำนักข่าวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมลงนามร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทส. สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วน เน้น “ปลุก ปรับ เปลี่ยน” ขับเคลื่อนบรรลุเป้าหมาย Net Zero

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของทุกคนและทุกหน่วยงานที่ต้องช่วยกันดูแล รักษา และแก้ปัญหา เพราะสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนต้องช่วยกันคิดว่าจะส่งมอบโลกที่น่าอยู่ใบนี้ให้แก่คนรุ่นต่อไปได้อย่างไร

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้มีการออกกติกาที่ส่งผลให้ทุกอย่างต้องปรับ ทั้งเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอน  การใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ  โลกของการค้า อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ “Climate Center” ฐานเศรษฐกิจ จะเป็นหนึ่งในสื่อที่ให้ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ และการตระหนักให้แก่สังคมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ศูนย์ข่าว “Climate Center” จะเป็นข้อมูลความรู้ให้แก่ประชาชน และภาคธุรกิจได้เห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยมือของคุณ ตัวคุณเอง เพื่อส่งมอบสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม โดยจะมุ่งเน้น 3 เรื่อง คือ ปลุก ปรับ เปลี่ยน  นั่นคือ จะเป็นหอเตือนภัย ปลุกทุกคนในภาคสังคมให้เห็นถึงปัญหา เข้าใจในเรื่องเดียวกัน  มีส่วนร่วมในการปรับบริบทของตัวเอง ปรับการทำงานของตัวเอง เพื่อทำให้โลกของเราน่าอยู่มากขึ้น  นำความรู้ นำปัญญาไปสร้างให้ทุกภาคส่วนเปลี่ยน ทำให้โลกมีความยั่งยืน

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว! อุณหภูมิโลกเพิ่ม 1 องศา ทำอายุสั้นลง ‘ครึ่งปี’

รู้จัก "กรม Climate Change" หน่วยเคลื่อนเมืองไทยสู่เป้าหมาย Net Zero

เปิดศูนย์“Climate Center”

วันนี้ (25 มีนาคม 2567) ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ“ฐานเศรษฐกิจ” เปิดตัว “Climate Center” สำนักข่าวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero พร้อมพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง Climate Center และ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  

โดยมี นายบากบั่น บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด ,ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประธานสักขีพยาน) และฉาย บุนนาค ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (ประธานสักขีพยาน) ร่วมลงนาม อีกทั้งได้มีการจัดเวที Special Talk หัวข้อ "Climate Challenges"

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)กล่าวปาฐกถาพิเศษ "บทบาทภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชนกับการรับมือโลกร้อน" ว่าวันนี้สิ่งที่ยากสุด คือการทำความเข้าใจกับประชาชนว่าโลกร้อน  โลกรวนคืออะไร เพราะต้องยอมรับว่าประชาชนสนใจเรื่องความเป็นอยู่ของตัวเองมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งที่โลกเรามีสิ่งที่เกิดขึ้นหลายเรื่อง เช่น โรคโควิด การถดถอยทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ Biodiversity ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่ง Biodiversity  ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะหากโลกนี้ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทุกคนก็จะไม่สามารถอยู่ได้ การตั้งศูนย์ Climate Center จะทำให้เกิดการสื่อสารไปถึงประชาชน และไปไกลได้มากขึ้น

 

Climate Center คล้ายกับ Climate club

“ตอนนี้โลกกำลังสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งเรื่องของ ดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา หมีขั้วโลกผอมแห้งตาย หรือไฟป่า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในโลกใบนี้ และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งความเสี่ยงของโลกในขณะนี้และ 10 ปีต่อจากนี้ที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงแบบสุดขั้น การเปลี่ยนแปลงขั้นวิกฤตต่อระบบโลกการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น อีกไม่ถึง 6 ปี นาฬิกาสภาพอากาศนับถอยหลังชะตาโลก” นายจตุพร กล่าว

ปลัดทส. กล่าวต่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดพิบัติภัยรุนแรง และบ่อยครั้ง อาจนำไปสู่ความสูญเสียที่มากขึ้น ที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการเร่งแก้ปัญหาเรื่องของ Climate Change แต่จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP 28 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) ที่ผ่านมา ต้องการลดก๊าซเรือนกระจกลง เพิ่มอีก 3% จาก 40% ที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องมาทบทวนว่าจะทำอะไรได้บ้าง

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

“Climate Center คล้ายๆ กับ Climate club หรือการขยายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แลกเปลี่ยน การลงทุนต่างๆ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักให้แก่ภาคประชาชน ซึ่งประเทศไทยแม้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ได้ แต่หากอุณหภูมิสูงมากขึ้น เราจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนมีความจำเป็นอย่างมาก” นายจตุพร กล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการจัดทำแผนจากระดับโลกไปสู่การขับเคลื่อนภายในประเทศ NDC Action Plan 2021-2030  โดยได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ 5 เรื่องสำคัญ คือ

1.การขับเคลื่อนและติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา

2.พัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องมือ/กลไกสนับสนุนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก

3.เสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วม/เครือข่ายความร่วมมือรัฐ เอกชน และภาคประชาชน

4.เตรียมความพร้อมการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของประเทศ 

5.ส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ อีกทั้งในแต่ละสาขาจะมีการกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจน

ร่างพ.ร.บ. Climate Changeแล้วเสร็จปี67

นายจตุพร กล่าวต่อว่า นอกจากเรื่องการจัดทำแผนดังกล่าวแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญ คือ กฎหมาย โดยขณะนี้บริษัทใหญ่ๆ ได้มีการดำเนินการตามกฎหมายและกลไกที่ทั่วโลกกำหนด ไม่เช่นนั้นจะเจอกับภาษี ขณะนี้ ทส.กำลังเร่งดำเนินการร่างพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.... ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเสร็จ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 ก่อนที่จะไปประชุม Cop 29

“ร่างพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.. จะช่วยให้การขับเคลื่อนเรื่องนี้มีความชัดเจน ชอบธรรม รวมถึงจะมีกลไกคาร์บอน  ซึ่งเป็นเรื่องของระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระบบภาษีคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน”ปลัดทส. กล่าว

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

ตั้งศูนย์Climate Change รายจังหวัด

นายจตุพร กล่าวอีกว่า ทุกคนต้องประสบปัญหาเรื่องนี้ ทางทส.ได้มีการจัดตั้งศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยจะมีหน้าที่เป็นศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เรียนรู้และคลังข้อมูลสำหรับประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  ศูนย์ข้อมูล วิเคราะห์ แปลผลและพัฒนาฐานข้อมูลกลาง เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการรายงานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก

รวมทั้งเป็นศูนย์พยากรณ์ พัฒนาเครื่องมือ และระบบพยากรณ์ คาดการณ์ความเสี่ยง และภัยธรรมชาติ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อการรองรับปรับตัวของประชาชน และศูนย์ประสานและสื่อสาร ซึ่งเรื่องนี้สำคัญที่สุด ต้องประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนและเชื่อมโยงทุกจังหวัด มุ่งเน้นการปรับปรุงการบริหารจัดการพิบัติภัยทั้งระบบ คำนึงถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ จะเป็นการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศระยะที่ 1 (งบยุทธศาสตร์ปี 2567) หาโปรแกรมจัดทำแผนที่สำคัญ Carbon Map  หา Server สำหรับงานพัฒนาระบบและการเชื่อมโยง หาอุปกรณ์สำหรับการวิเคราะห์ ประมวลผล เสนอข้อมูล และประสานงานกับจังหวัด  โดยจะมีการพัฒนาระบบ และการเชื่อมโยง โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางข้อมูลเปิดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (งบแผนบูรณาการดิจิทัล) ข้อมูลก๊าซเรือนกระจกรายสาขาระดับประเทศ ข้อมูลก๊าซเรือนกระจกรายสาขาระดับจังหวัด ให้เกิด NAC Tracking และ Carbon Map (อย่างน้อย 2 สาขา )”นายจตุพร กล่าว

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ปลัดทส. กล่าวด้วยว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำคัญ

  • ภาครัฐ

ต้องกำหนดนโยบาย มาตรการ งบประมาณ และแรงจูงใจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

  • ภาคเอกชน 

ส่งเสริมการลงทุนที่มีการคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม

  • ภาคประชาสังคม

สนับสนุน/เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับเครือข่ายระดับท้องถิ่น

  • ภาคสื่อสารมวลชน

สื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของประชาชน

  • ภาคการศึกษา

ปรับปรุงหลักสูตร/สร้างสื่อการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมงานศึกษาวิจัย 

  • ภาคประชาชน

ลดการใช้พลังงาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางใช้ระบบขนส่งสาธารณสะ ลดการเกิดของเสียในครัวเรือน ปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว และเตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยง และผลกระทบ

  • องค์กรระหว่างประเทศ

สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ และงบประมาณ

“การสื่อสารเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงวภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการทำความเข้าใจกับภาคประชาชน สื่อมวลชน จึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ประเทศตั้งไว้  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแต่ละจังหวัด ฉะนั้น Climate Center จะเป็นอีกหนึ่งศูนย์ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ไม่มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาไกลตัว” นายจตุพร กล่าว

เสริมให้คนตระหนักมากขึ้น

ด้าน นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าว Special Talk หัวข้อ "Climate Challenges" ว่าภาครัฐมีขีดจำกัด และขีดความสามารถที่จะขับเคลื่อนเรื่องของ Climate Change เพียงลำพัง แต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน ตอนนี้มีหลายสิ่งที่ได้รับผลกระทบต่อ Climate Change ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงความหลายทางชีวภาพ หญ้าทะเลที่ลดน้อยลงกระทบต่ออาหารของพะยูน หรือผลกระทบทางเศรษฐกิจ อากาศร้อนมากขึ้น  

“ประเทศภาคี Cop รวมถึงประเทศไทย ต่างดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องของ Climate Change ให้ได้ตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 แต่มีการคาดการณ์ว่าสิ้นศตวรรษนี้ อุณหภูมิสูง 4 องศา ซึ่งมนุษย์อาจปรับตัวได้ แต่สิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจจะอยู่ไม่รอด  ดังนั้น ต้องมาทบทวนว่าจะทำอย่างไรให้มีการเร่งรัดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และเชื่อว่า Climate Center จะเข้ามาช่วยเสริมสร้างให้พี่น้องประชาชนมีความตื่นตัว และตระหนักมากขึ้น “นายปวิช กล่าว

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero

ปรับตัวต่อผลกระทบ Climate Change

นายปวิช กล่าวต่อว่า การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ทั้ง 6 สาขา ได้แก่ ป่า เกษตร ท่องเที่ยว สาธารณสุข ทรัพยากร และตั้งถิ่นฐาน ต้องร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ของประชาชน และพัฒนาฐานข้อมูล งานศึกษาวิจัย องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้แต่ละภาคส่วนมีกลไกการขัยเคลื่อนให้ครอบคลุมทุกมิติ

ภาครัฐได้มีกลไกการขับเคลื่อนการทำงานให้ครอบคลุมทุกมิติ  

  • นโยบาย บูรณาการเป้าหมาย Net Zero ขับเคลื่อน BCG Model ,จัดทำ NDC Action Plan  และมี กลไกเชิงสถาบันในการกำกับดูแล
  • การเงิน/การลงทุน จะต้องมีแหล่งทุน
  • องค์กร/กฎหมาย/ระเบียบ จะต้องผลักดัน พ.ร.บ. Climate Change และเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน
  • การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต เช่น การปลูกป่า หรือ การทำงานร่วมกับชุมชน  
  • การพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรม ต้องมีเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

“ที่สำคัญ ต้องมีส่วนร่วมมีเครือข่ายภาคพี่น้องประชาชน เด็กเยาวชน  ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วน และสื่อมวลชนจะที่เข้ามาสื่อสารให้กว้างมากขึ้น  เพื่อให้ประชาชนได้อยู่บนโลกใบนี้ มีความสุข และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมคาร์บอนต่ำ และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ของชาติ” นายปวิช กล่าว

“Climate Center” สำนักข่าวด้าน Climate Change ปลุก ปรับ เปลี่ยน สู่ Net Zero