‘ยูเออี’ ใช้เกลือทำ ‘ฝนเทียม’ แก้ปัญหา ‘ขาดแคลนน้ำ’

‘ยูเออี’ ใช้เกลือทำ ‘ฝนเทียม’ แก้ปัญหา ‘ขาดแคลนน้ำ’

“สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หรือ “ยูเออี” หันใช้ “ฝนเทียม” ที่มี “เกลือธรรมชาติ” เป็นองค์ประกอบหลัก เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่เป็นผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่าการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

KEY

POINTS

  • สหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ผู้คน 1,800 ล้านคนทั่วโลก จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในตะวันออกกลางที่จะกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำมากกที่สุด ประชากรประมาณ 83% ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหา “ความเครียดน้ำ” (Water Stress) ซึ่งเป็นภาวะขาดแคลนน้ำจืดในระดับสูง
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หรือ “ยูเออี” กำลังแก้ปัญหาภัยแล้งนี้ด้วยการทำ “ฝนเทียม” (Cloud Seeding) ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีช่วยสร้างเมฆจนก่อให้เกิดเป็นฝน นับเป็นวิธีที่ถูกกว่าและได้ผลทันตา
  • ปรกติแล้วการทำฝนเทียมมักจะใช้สารเคมีหลากหลายประเภท แต่การทำฝนเทียมที่ในยูเออีนั้นไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายใด ๆ ในการดำเนินงาน มีเพียงแต่ “เกลือ” เป็นองค์ประกอบหลัก

“สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หรือ “ยูเออี” หันใช้ “ฝนเทียม” ที่มี “เกลือธรรมชาติ” เป็นองค์ประกอบหลัก เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่เป็นผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่าการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หรือ “ยูเออี” หันใช้ “ฝนเทียม” ที่มี “เกลือธรรมชาติ” เป็นองค์ประกอบหลักเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ที่เป็นผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่าการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ตะวันออกกลาง” เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลกระทบของ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ที่ยิ่งทำให้ทั้งภูมิภาค “ขาดแคลนน้ำ” และพบกับแห้งแล้งเร็วยิ่งขึ้น แต่ “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หรือ “ยูเออี” กำลังแก้ปัญหานี้ด้วยการทำ “ฝนเทียม

ในแต่ละปีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 200 มิลลิเมตร ซึ่งต่ำมากเทียบกับเมืองอื่น ๆ เช่น ค่าเฉลี่ยของลอนดอนที่ 1,051 มิลลิเมตร ส่วนสิงคโปร์อยู่ที่ 3,012 มิลลิเมตร และค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยปี 2566 อยู่ที่ 1,520.6 มิลลิเมตร ตามข้อมูลจากศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

ในช่วงฤดูร้อนของยูเออีอาจมีอุณหภูมิอาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส เนื่องจากภูมิประเทศกว่า 80% ของประเทศเป็นภูมิประเทศแบบทะเลทราย ดังนั้นความร้อนจัดอาจทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้นและพืชผลทางการเกษตรไม่สามารถเจริญเติบโตได้

สหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ผู้คน 1,800 ล้านคนทั่วโลก จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในตะวันออกกลางที่จะกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำมากกที่สุด ประชากรประมาณ 83% ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหา “ความเครียดน้ำ” (Water Stress) ซึ่งเป็นภาวะขาดแคลนน้ำจืดในระดับสูง

“ฝนเทียม” กำจัดความแห้งแล้ง

ในปี 1960 ยูเออีมีน้ำสำรองเพียงพอสำหรับการใช้บริโภคในประเทศมีประชากรต่ำกว่า 100,000 คน แต่ตอนนี้ยูเออีกลายเป็นประเทศมีประชากรเกือบ 10 ล้านคน ทำให้ “ปัญหาขาดแคลนน้ำ” จึงเป็นปัญหาหลักสำหรับเมืองที่อยู่กลางทะเลทรายแห่งนี้ ปัจจุบันผู้อยู่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้ประมาณ 147 แกลลอนต่อคนต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่เพียง 47 แกลลอน ตามรายงานการวิจัยปี 2021 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากเอมิเรตส์

แม้ว่าในประเทศจะมีโรงงานแยกเกลือออกจากน้ำทะเล เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้น้ำแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งในการสร้างโรงงานแต่ละแห่งต้องใช้เงินอย่างน้อย 1,000 ล้านดอลลาร์ และต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลในการเดินเครื่อง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องหาหนทางอื่นที่ถูกกว่าและได้ผลทันตา นั่นก็คือ “การทำฝนเทียม

ในทศวรรษ 1990 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เสนอ “การทำฝนเทียม” (Cloud Seeding) ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีช่วยสร้างเมฆจนก่อให้เกิดเป็นฝน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในประเทศ และทุ่มเม็ดเงิน 20 ล้านดอลลาร์ในการศึกษาวิจัยการทำฝนเทียม โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐและนาซาเพื่อหาวิธีการทำฝนเทียมที่เหมาะสมกับยูเออีโดยเฉพาะ

รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่าศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ หรือ NCM ในกรุงอาบูดาบี สำหรับเป็นหน่วยงานที่นำหน้าที่สร้างฝนเทียมมากกว่า 1,000 ชั่วโมงในแต่ละปี เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้แก่ประเทศพร้อมมีเครือข่ายเรดาร์ตรวจอากาศและสถานีตรวจอากาศมากกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ สำหรับติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด

นักพยากรณ์อากาศที่ศูนย์สามารถสังเกตรูปแบบการตกตะกอนของเมฆ และระบุเมฆที่เหมาะสมในการทำฝนเทียม เมื่อสภาพอากาศและความชื้นเหมาะสมสำหรับการทำฝนเทียม นักบินจะขึ้นไปทำปฏิบัติการสร้างฝนเทียมทันที โดยจะยิงพลุทำความชื้นเข้าไปในก้อนเมฆที่เหมาะสม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 นาที 

หลังจากที่สารถูกฉีดเข้าไปในก้อนเมฆ ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ทันทีที่หยดน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น ก้อนเมฆก็จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เกินที่จะต้านทานต่อแรงโน้มถ่วง ตกลงมากลายเป็นฝนในที่สุด

 

“ฝนเทียม” ของยูเออี ใช้แค่ “เกลือ”

ปรกติแล้วการทำฝนเทียมมักจะใช้สารเคมีหลากหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ “ซิลเวอร์ไอโอไดด์” ซึ่งเป็นมีรูปร่างคล้ายผลึกคริสตัลที่ใช้ทำฝนหลวงเมฆเย็น เมื่อเข้าไปในเมฆแล้วแตกตัวเป็นแกนควบแน่นในก้อนเมฆ ทำให้เกิดความกังวลในวงกว้างว่าสารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียมจะสร้างผลกระทบอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนโดยรวม

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ในปัจจุบันว่าสารดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตราย 

ขณะที่อับดุลลา อัล มันโดส ผู้อำนวยการทั่วไปของ NCM กล่าวกับสำนักข่าว CNBC ว่าการทำฝนเทียมในยูเออีนั้นไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายใด ๆ ในการดำเนินงาน 

“เราใช้เกลือธรรมชาติเท่านั้น และไม่มีสารเคมีอันตราย” อัล มันโดส บอกกับ CNBC

นอกจากนี้เขายังกล่าวเสริมว่า ทางศูนย์แห่งนี้เริ่มผลิตสารทำฝนเทียมที่เรียกว่า “วัสดุนาโน” เป็นเกลือละเอียดที่เคลือบด้วยไททาเนียมออกไซด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

“มันจะให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพลุดูดความชื้นถึงสามเท่า” เขากล่าว

ปัจจุบันวัสดุนาโนอยู่ระหว่างการทดลองและทดลองในบรรยากาศต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสหรัฐ

 

ที่มา: AlarabiyaCNBCThe New York Times