ทำไมเอว่เฟยจึงต้องตาย? 2 เหตุผล ที่ไม่มีในประวัติศาสตร์(2)

ทำไมเอว่เฟยจึงต้องตาย?  2 เหตุผล ที่ไม่มีในประวัติศาสตร์(2)

ลุปี 1140 การเตรียมการตามแผนทุกอย่างพร้อมแล้ว กองทัพตระกูล “เอว่” ที่ผ่านมาแล้ว 3 ปี มีความเข้มแข็งอย่างยิ่ง

 สำหรับยาตราทัพขึ้นเหนือแล้ว เอว่เฟยทำได้แน่นอนตามใจปรารถนา สิ่งเดียวที่ยังไม่ชัดเจนคือ ฝ่ายจินจะสามารถต้านอยู่หรือไม่?

จุดอ่อนของประเทศจินคือประชากรน้อย ตอนที่หวันเหวียนอากู้ต๋าเริ่มยกทัพออกมามีแค่ 2 พันคน แต่รบมาตลอดทางก็รับสวามิภักดิ์มาเรื่อย กำลังคนก็ขยายตัวเหมือนลูกหิมะกลิ้งลงเขา ในปี 1125 พระเจ้าเหลียวเทียนจั้ว (辽天祚) ถูกจับ ตามมาด้วยกองทัพจินบุกเมืองไคฟง พาเอาราชวงศ์ ตระกูลเจ้าทั้งหมดไป ฝั่งเหนือของแม่น้ำฮวงโห กลายเป็นของประเทศจิน ชนเผ่าเร่ร่อนที่เลี้ยงปศุสัตว์ ที่เข้าครองที่ราบภาคกลางมักไม่มีฐานประชากรมากพอที่สะกดการรุกฮือต่อต้านตามที่ต่างๆ 

ถ้าจะกล่าวว่าชนเผ่าหนวี่เจิน (女真) กับชี่ตัน (契丹) มีสิ่งที่คล้ายกันละก็ ชาวฮั่นในที่ราบภาคกลางแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในลักษณะที่การหลอมรวมกันในระยะสั้นเป็นไปไม่ได้เลย แม้แต่ราชวงศ์ชิงในภายหลังที่ยึดกุมทั้งกาละและเทศะก็ยังถูกชาวฮั่นต่อต้านอยู่ถึงหลายสิบปี นับประสาอะไร กับการสวาปามอย่างตะกละตะกลามของชนเผ่าหนวี่เจินแห่งประเทศจิน

ตั้งแต่ “ความอัปยศแห่งจิ้งคัง” (จิ้งคัง คือชื่อรัชสมัยของพระเจ้าซ่งชินจง ที่เมืองไคฟงถูกตีแตกและราชวงศ์ถูกจับไปเป็นเชลยทั้งหมด) ประเทศจินในความเป็นจริงควบคุมลุ่มแม่น้ำฮวงโหได้ลำบากมาก พวกเขาทำได้เพียงประคองสถานการณ์แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรกับกองโจรที่เต็มไปหมด แม้แต่คุณปู่ของซินซี่จี๋ (辛弃疾นักรบและนักกาพย์) ที่ใช้ชีวิตเชลยอยู่ที่จิน ก็ยังอุ้มหลานบรรยายให้ฟังถึงขุนเขา แม่น้ำของบ้านเกิดเมืองนอน นี่คือจิตใจของคน ที่เปลี่ยนไม่ได้

ความอ่อนแอของการปกครองและความไม่ลงรอยกันของจินไท่จู่และจินไท่จง พระจักรพรรดิพระองค์ที่ 1 และ 2 พี่น้อง ทำให้ประเทศจินแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการหยุดรบและปราบซ่งในภายหลัง อีกฝ่ายต้องการรุกและยึดให้ได้ ในเมื่อซ่งก็ง่อนแง่นเต็มที ไม่จัดการเสียตอนนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสในวันข้างหน้าหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน ยึดอำนาจ ฆ่าคน เกิดความวุ่นวายไปทั่ว

ในปี 1138 ฝ่ายต้องการสันติภาพได้อำนาจปกครอง ไม่ใช่เจรจากับเจ้าโก้วให้สงบศึกหรอกหรือ? ถือโอกาสคืนส่านซีและเหอหนาน เพื่อ 2 ฝ่ายจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข เมื่อได้ส่านซีและ เหอหนานคืนมา ข้าราชการขุนนางทั้งหลายต่างขอให้ส่งทหารขึ้นเหนือไปประจำการไว้ให้มั่นคง แต่เจ้าโก้วไม่ยอมบอกว่า เมื่อได้ตามความประสงค์ก็พอแล้ว อย่าไปจริงจังอะไรมากมายเอว่เฟยโกรธจนจะลาออก

ราชวงศ์ซ่งไม่อยากสงบศึก ประเทศจินที่จริงก็ไม่อยาก แผ่นดินที่รบได้มา ไม่ใช่ง่ายดาย ทำไมถึงจะส่งกลับไปง่ายๆ อย่างนั้นล่ะ? ในปี 1139 หวันเหวียนอู้จู๋ ฝ่ายที่ต้องการรบยึดอำนาจได้ และฆ่าฝ่ายที่ต้องการสงบศึก กลายเป็นฝ่ายต้องการรบรุ่นใหม่ของประเทศจิน ยืนยันจะเอาส่านซีและเหอหนานคืนมาให้ได้ สงครามจึงระเบิดขึ้นอีกในปี 1140

ความเป็นไปของการรบไม่ซับซ้อน เอว่เฟยเคลื่อนทัพขึ้นเหนือในเดือนมิถุนายน ตีได้ไช่โจว (蔡州 ทางเหนือของหูเป่ย) อิงชาง (颖昌) เฉินโจว (陈州ทางตะวันออกของเหอหนาน) ได้อย่างราบรื่น เดือนกรกฎาคมตีคืนลั่วหยางด้วยการประสานแนวร่วมมานานปี เหลียงชิง หลีเป่า ผู้นำของกองกำลังก่อการ ก็รวบรวมทหารชาวบ้าน ทำการก่อกวนแนวหลังของศัตรูบริเวณเหนือแม่น้ำฮวงโห พวกเขาเปรียบเสมือนสร้างเป็นวงล้อมรอบเมืองไคฟงจากหกทิศทางด้วยกัน ส่วนหานซื่อจงตีได้ถึงเหลียนหวินกั่ง (连云港ทางเหนือของเจียงซู) จางจวิ้นประชิดเหาโจว (毫州ทางเหนือของอันฮุย) แม่ทัพฟื้นฟูราชวงศ์ล้วนรุกไปทางเหนือ ขอเพียงเอว่เฟยตีหวันเหวียนอู้จู๋ที่ไคฟงให้แตกพ่ายเท่านั้น ประเทศจินก็ไม่มีกองทัพที่จะรบได้อีก ซึ่งก็คือภารกิจการฟื้นฟูอันยิ่งใหญ่ก็จะสำเร็จ

แต่ไม่เกินความคาดหมาย พระบรมราชโองการของเจ้าโก้วมาแล้ว ทรงโปรดให้หานซื่อจง จางจวิ้น หลิวฉีถอนทัพ ทำให้เอว่เฟยกลายเป็นทัพโดดเดี่ยว แต่กองทัพโดดเดี่ยวแห่งตระกูงเอว่นี่แหละที่แสดงถึงมหากาพย์อันห้าวหาญ กองทหารม้าที่ใส่เกราะหนักทั้งทหารและม้าของหวันเหวียนอู้จู๋ที่ไม่เคยไม่ชนะมาก่อนปะทะกับเป้ยเว่ยจวิน ที่นำโดยเอว่เฟยเพียงไม่กี่ครั้งก็สูญเสียสมรรถภาพการรบจากการประสานหน่วยทหารที่ใช้อาวุธหลากชนิด ตั้งแต่ธนูยิงคน ธนูยิงม้า ดาบยาว การเข้าปะทะเร็วแล้วรวมพลซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสามารถฆ่าและทำให้ศัตรูบาดเจ็บล้มตายมากมาย ในการรบที่อิงชาง ทหารตระกูลเอว่สังหารคนและม้าที่อาบไปด้วยเลือดแต่ก็ไม่มีผู้ใดหันหลังกลับ หยางไจ้ซิงนำทหารม้า 300 คนปะทะกับศัตรูจนสูญเสียทั้งหมดหลังจากสังหารศัตรูไป 2,000 คน หลังจากร่างของหยาง ไจ้ซิงถูกเผาแล้วคงเหลือหัวธนูไว้กว่ากิโลกรัม

ตั้งแต่ออกทัพมา รบทุกครั้ง แพ้ทุกครั้งจนหวันเหวียนอู้จู๋เริ่มสงสัยในชีวิต เขาไม่เคยคิดถึงเลยว่า อำนาจการรบของทัพตระกูลเอว่จะแข็งแกร่งได้ถึงเพียงนี้ ในที่สุด เขาตั้งทัพใหญ่ 100,000 คนไว้ที่จูเซียนเจิ้ง (朱仙镇 ทางใต้ของเมืองไคฟง) คิดว่าจะลองเป็นครั้งสุดท้าย ถ้ายังไม่ได้ก็จะถอนทัพ เอว่เฟยส่งเป้ยเว่ยจวินตามเคย แต่มีเพียง 500 คนหวังจะลองเชิง ไม่ได้คิดจริงจัง โดยหวังจะใช้ทัพหลักในการรบใหญ่ แต่การปะทะของเป้ยเว่ยจวินก็ทำให้กองทัพจินแตกพ่ายไม่เป็นกระบวนตลอดแนวรบ หวันเหวียนอู้จู๋ไม่มีปัญญาจะทำอะไรอีกแล้ว เตรียมถอนค่ายกลับบ้านทางตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ก่อนหน้านี้ แม่ทัพใหญ่ของกองทัพจินยังเคยส่งคนมาขอยอมแพ้ ขอเพียงยืนหยัดอีกเล็กน้อยเท่านั้น เรื่องบุกทะลวงไปถึงเมืองหลวงของจินอาจจะเกินไปหน่อยแต่การเอาดินแดนใต้กำแพงเมืองจีนคืนน่าจะเป็นไปได้ แต่ว่าเอว่เฟยไม่ได้รอทัพหนุน แต่เป็นป้ายทอง 12 ป้าย (พระบรมราชโองการ)

ประเทศจินมีฝ่ายที่อยากรบและฝ่ายที่อยากสงบ ราชวงศ์ซ่งก็มี เพียงแต่ว่า ฝ่ายอยากรบของ จินยึดอำนาจ ฝ่ายอยากสงบของซ่งพยายามหยั่งใจของพระจักรพรรดิและได้รับการสนันสนุนเป็นอย่างมาก ฝ่ายอยากสงบของซ่ง คือ ฉินกุ้ย ผู้ซึ่งเคยถูกจับไปอู่กั๋วเฉิง เมืองหลวงของจิน พร้อมกับฮุยจงและชินจง แต่ไม่ทราบเป็นมาอย่างไรถึงได้หนีกลับเจียงหนานได้ บ้างก็ว่า ฉินกุ้ยได้รับภารกิจ บ้างก็ว่าฉินกุ้ยเป็นไส้ศึก แต่เหตุผลที่แน่ชัดคงจะถูกกลบไปพร้อมกับ ฉินกุ้ยแล้ว อย่างไรก็ตาม ฉินกุ้ยนั้นทายใจของเจ้าโก้วได้ถูกอย่างแน่นอน

ในปีแรก ๆ ที่อาณาจักรที่ต้าซ่งก่อตั้งขึ้นมา เจ้าควงอิ้นเชิญฝ่ายต่าง ๆ มารับประทานอาหาร ภายใต้สภาวะการรบพุ่งมาหลายชั่วอายุคนระหว่างประเทศเล็ก ๆ ใช้มาตรการแลกผลประโยชน์และ สถานะทางสังคมกับการปล่อยอำนาจทางทหารของแม่ทัพนายกองต่าง ๆ ออกมา (杯酒释兵权เปยจิ่วซื่อปิงเฉวียน) ที่จริงแล้วการกดทหารเอาไว้ เป็นสิ่งที่แทรกอยู่ในกระดูกของราชวงศ์ซ่งแล้ว บทเรียนจากห้าชั่วอายุคนและสิบประเทศที่อาศัยการยึดอำนาจเพื่อตั้งประเทศนั้น ไม่มีแม้แต่เวลาเดียวที่จะไม่เตือนใจตระกูลเจ้าที่จะต้องป้องกันอำนาจทางทหารอย่างเข้มงวดและปิดตายไว้

ราชวงศ์ซ่งมีกฏเกณฑ์ของตระกูลอีกประการหนึ่งคือ “การอยู่ร่วมกันกับข้าราชการพลเรือน และผู้ทรงอิทธิพล” ดังนั้น ทหารจึงมีฐานะทางสังคมต่ำมาก เอว่เฟยที่มีความสามารถขนาดนั้น ยังต้องเป็นถึงระดับสมุหกลาโหมจึงจะได้รับอภิสิทธิ์เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน หลังจากเจ้าโก้วขึ้นครองราชย์ยิ่งมีความรู้สึกไวสุดสุด ถ้าไม่ใช่ด้วยฟ้าบันดาลหรือเหตุประจวบเหมาะที่เป็นปลาลอด ตาข่ายแล้ว ตำแหน่งพระจักรพรรดิอย่างไรเสียก็ลำดับไม่ถึงอยู่แล้ว ในปีแรก ๆ ที่ขึ้นครองราชย์ความ ชอบธรรมของเจ้าโก้วค่อนข้างไม่มั่นคงเลย หลังจาก “ความอัปยศแห่งเจิ้นคัง” (靖康之耻.หมายถึงความอัปยศที่ไคฟง เมืองหลวงของซ่งถูกจินตีแตกและพระจักรพรรดิกับราชวงศ์ถูกจับเป็น เชลยไปที่จิน) บ้านเมืองใต้หล้าล้วนแต่ชูกำลังทหารเป็นข้ออ้างในการสนองพระเดชพระคุณของราชวงศ์และตั้งตัวเป็นใหญ่

แบบฉบับที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การปฏิวัติเหมียว-หลิง ปี 1129 เจ้าโก้วที่เป็นจักรพรรดิมาได้เพียง 2 ปี ประสบกับการกวาดล้างบุคคลใกล้ชิดของเหมียวและหลิว ที่บังคับให้เจ้าโก้วสละราชสมบัติ ให้รัชทายาทที่อายุเพียง 3 ชันษา ซึ่งหมายความว่าเหมียวและหลิวอยากทำตัวคล้ายโจโฉ ที่เชิดรัชทายาทองค์น้อยเพื่อจะได้มีอำนาจอยู่ในมือ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ก็ประสบกับการไล่ตีของกองทัพจินจนเจ้าโก้วต้องหนีลงใต้ลงทะเลที่เจ้อเจียงโดยไม่มีทหารติดตามแม้แต่คนเดียว จึงรอดชีวิตมาได้