Green Energy Forum

Green Energy Forum

คำต่อคำ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร งาน Green Energy Forum:พลังงานสีเขียว ดุลยภาพสู่ความยั่งยืน

Green Energy Forum: พลังงานสีเขียว ดุลยภาพสู่ความยั่งยืน

ถาม : ในฐานะที่ปตท.ถือเป็นองค์กรมีส่วนขับเคลื่อนเรื่องพลังงาน เรียนถามว่านัยสำคัญของพลังงานสีเขียวต่อนโยบายพลังงานหลักว่าเป็นอย่างไร ในสัดส่วนของบ้านเราเป็นอย่างไรบ้าง
ดร.ไพรินทร์ : มีใครสังเกตไหมว่าเมื่อเดือนกว่าๆที่ผ่านมา ต้นมะม่วงบ้านเราหรือบ้านข้างๆ ออกดอก มีคนส่งมะม่วงสุกมาให้ผมทาน ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะว่าปัญหาเรื่องโลกร้อนเป็นปัญาหาที่ใกล้ตัวเรามาก ถ้าเดินออกจากห้องนี้ไปแล้วไม่บอกว่าเราอยู่วันที่ เดือนที่เท่าไร ผมเชื่อว่าเราคาดไม่ได้ว่าตอนนี้เราอยู่ในฤดูอะไร
ผมมีตัวอย่างภาพอันหนึ่ง เค้าบอกภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงเวลาปีถึงสองปีนี้ เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ทั่วโลกนี้มากมาย ซึ่งในหลายๆส่วนมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในเรื่องถัดไปนอกจากภัยพิบัติแล้ว ขณะนี้ประชากรเพิ่มขึ้น 7พันล้านคน คนที่เจ็ดพันล้านเกิดเมื่อต้นปีนี้ที่ประเทศฟิลิปปินส์ จะเห็นว่าแนวการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นเอ็กซ์เพอร์นิเจอร์ เป็นทวีคูณ ตอนนี้ที่พวกเรานั่งอยู่ตรงนี้ เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีคนอยู่ครึ่งเดียวนะ 3พันกว่าล้าน ในขณะที่เรายังไม่เสียชีวิตตอนนี้มีคนเพิ่มขึ้นมาหนึ่งเท่าตัวที่จะมาช่วยกินช่วยใช้พลังงาน ซึ่งสองสาเหตุนี้เป็นสองสาเหตุที่สร้างความตึงเครียดมากกับเรื่องของระบบพลังงาน
ข้างหนึ่งเราต้องหาพลังงานให้คนเจ็ดพันล้านคนนี้ใช้ และตัวเลขกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อีกข้างหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่กำลังบีบรัดจากการใช้พลังงานใกล้ตัวเรามาทุกทีๆ ในส่วนของปตท. เราทำธุรกิจพลังงานอยู่หลายๆอย่าง แต่เป้าหมายของเราคือการสร้างความมั่นคงทางพลังงงาน เราอยู่ทางซับพลายไซส์ จำเป็นจะต้องหาพลังงานมาให้พวกเราพอใช้ เวลาเราเปิดสวิตช์ไฟ ความคาดหวังคือไฟต้องสว่าง เวลาเราไปเติมน้ำมัน เอาที่จ่อลงไปในถังน้ำมันความคาดหวังคือน้ำมันมันต้องไหล แต่ว่าซับพลายไซส์เมเนทเม้นท์อย่างเดียว มันไม่พอ แล้วเรายังบอกว่าพลังงานที่เราซื้อเราใช้ มันต้องถูกๆด้วย แต่ผลของการทำเช่นนั้น เราก็จะเห็นภาพว่าเกิดปัญหาขึ้นมา
เพราะฉะนั้นขณะนี้ปตท.เราเองได้กำหนดนโยบายในการทำธุรกิจ เราได้ประกาศนโยบายTAGNOC ย่อมาจาก เทคโนโลยี่แอดแวนซ์ ทีเอ ตัวจีก็คือกรีน และเทอมินอล...คือบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพราะฉะนั้นในสี่ปีข้างหน้า ปตท.เราจะเริ่มเปลี่ยนตัวเอง โดยเริ่มทำธุรกิจ ย้ายจากฐานทรัพยากร มาอยู่บนฐานขององค์ความรู้ โดยจากรีซอสเสสมาเป็นนอเรชเสส
สองเราต้องมีความเชื่อมั่นว่าในการทำธุรกิจของเราต้องอยู่บนฐานของธุรกิจที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็คือตัวกรีน เมื่อได้พูดเช่นนั้นแล้วแผนปฏิบัติการของเราเป็นอย่างไร ในรอบปีที่ผ่านเราได้มีการตรวจสอบ เราเชื่อว่าแอพโพส หรือ แนวทางที่จะดำเนินไปสู่การเป็นบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีอยู่ 4 แนวทาง ก็คือ
แนวทางที่หนึ่ง เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันที่สองขบวนการจะต้องมีฟุตปริ้นที่เล็กลงเรื่อยๆ อันที่สามคือการสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ คือมีน้อยบริษัทเหลือเกินที่ออกมาพูดว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่พอเรายอมรับว่า การที่เราเอาพลังงานฟอสซิลมาให้พวกเราใช้กันมากมายนี้ สุดท้ายมันกลายเป็นกรีนเฮ้าแก๊ส ซึ่งกลับมาทำให้ภูมิอากาศเราเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นเรากำลังช่วยกันสร้างความตะหนัก
และอีกเรื่องคือไหนๆเราก็เอาพลังงานฟอสซิลฟมาให้พวกเราใช้เป็นพลังงานแล้วก็ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน สิ่งที่จะทำคือ ปตท.จะทำตัวเองเป็นซิงค์ คือ การหากลไกอะไรก็ตามที่มาช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
เราได้ตรวจสอบของเราว่าแต่ละบริษัททำธุรกิจอะไรบ้างที่จะสามารถ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราพบว่าเราเป็นบริษัทหนึ่งที่ทำไว้เยอะ อย่างเช่นเราเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าในโลกที่ทำเรื่องของไบโอพลาสติก เราพยายามที่จะทำพลาสติกขึ้นมาจากห่วงโซ่อาหาร โดยใช้น้ำตาลหรือกากน้ำตาล เป็นต้น
สุดท้ายเรามาสรุปตรงนี้ เราเรียกว่ากรีนโรดแมพของปตท. ผมเชื่อว่าอันนี้จะเป็นกรีนโรดแมพของบริษัทในเมืองไทยหรือภูมิภาคนี้อันแรกๆ เจเนอรัลทั้งหมดมี 2 มิติ เราเรียกว่ารูป 3พี พีแรกคือโพรดักท์ พีที่2 คือโพสเสท พีที่3คือพับลิกอวอลเนส ในขณะเดียวกันจะอีกมิติหนึ่ง ในแง่ของการลดคาร์บอนฟุตปริ้น และในแง่ของการสร้างขบวนการรับผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ในบางเรื่องจริงๆ อาจจะไม่ใช่เป็นการลดคาร์บอนฟุดปริ้น อย่างเช่น ผลิตน้ำมันยางหรือออยล์ขึ้นมาชนิดหนึ่งซึ่งมันมีลดสารก่อมะเร็งเป็นต้น เพราะฉะนั้นมิติในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผมถือว่าเป็นมิติใหม่ ประเทศในเอเชียเราไม่ค่อยมีความตระหนักในเรื่องนี้ แต่วันนี้ยุโรปตะหนักมาก เชื่อไหมว่ายางรถยนต์ที่เราใช้ มนุษย์เราผลิตยางรถยนต์มา 70-80 ปี ในนั้นเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง ขณะนี้เราเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ลดสารก่อมะเร็งในยางรถยนต์
ตัวอย่างที่เราทำมาในรูปถัดไปก็จะเห็นว่าเราพยายามจะตั้งเป้าว่าเราจะผลิตพลังงานทดแทนในกลุ่มของปตท. เพิ่มเป็นสัดส่วนในส่วนที่เป็นสีเขียวนี้อย่างมีนัยสำคัญใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดและรัฐมนตรีได้นำไปแล้ว และเพิ่มสัดส่วนของการผลิตพลังงานหมุนเวียน เราจะเพิ่มสัดส่วนของผลิตภัณฑ์พลังงานจากแสงแดด และลม เป็นต้น
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เราทำคาร์บอนซิงค์ คือเมื่อหลายปีที่แล้ว เราได้ดำเนินโครงการปลูกป่า1ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมา 14-15 ปีแล้ว ป่า1ล้านไร่ของปตท.ได้กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย และได้มีการติดตาม มีอาสาป้องกันป่าอยู่ด้วยและเริ่มทำการวิจัยว่าในป่าของปตท.ที่ปลูกในปีหนึ่ง จะได้ทำการดูดซับคาร์บอนออกไซด์กลับมาเท่าไหร่ ปีหนึ่งเป็นล้านกว่าตัน จะเห็นว่าเรามีเรคคอร์ดตลอดว่าเป็นอย่างไร
โครงการปลูกป่าเราจะทำเป็นล้านไร่ที่2 เราเริ่มทำปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งในขณะนี้คาร์บอนซิงค์ที่ดีที่สุด ที่มนุษย์เรารู้จักก็ยังไม่มีอย่างไหนเกินกว่าต้นไม้ เพราะต้นไม้เวลาโต 1 ไร่ ดูดซับคาร์บอนฯได้ 3-4 ตัน ต้นไม้ยืนต้นในทุกๆปี มาเป็นใบเป็นอะไรที่ทับถมกัน อยู่ในเนื้อไม้ก็ดี หรือในใบที่ลงมาทับถม แล้วก็กลับไปอยู่ในดินก็ดี
ในปัจจุบันนี้คิดว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการปลูกต้นไม้ ตัวอย่างถัดไปที่ได้กระทำเป็นรูปธรรมไปแล้วก็คือโครงการลูกโลกสีเขียว ซึ่งเป็นการให้รางวัลกลุ่มบุคคลหรือคนที่ทำประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งปีนี้ทำมาเป็นปีที่ 14 ซึ่งผมเชื่อว่าโครงการลูกโลกสีเขียวซึ่งในวันนี้กลายเป็นสถาบันไปแล้ว น่าจะเป็นโครงการให้รางวัลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียน
โครงการลูกโลกสีเขียวในอนาคตถ้าเป็นไปได้จะยกระดับเป็นอาเซียน เมื่อเออีซีมาแล้ว พวกเราคิดว่ามองไปรอบๆ ประเทศเรา การให้รางวัลทางด้านสิ่งแวดล้อมนี้ น่าจะเป็นรางวัลที่ยอมรับในปัจจุบันและก็ทำมาถึง 14 ปี
ล่าสุดที่เราได้ทำถวายแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็คือ โครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง โดยเราเข้าไปสนับสนุนการดำเนินงานในชุมชน จริงๆ ทั้งหมด 87 ตำบล เราทำเผื่อไว้ เพราะว่าทุกโปรเจค เป็นไปได้ด้วยดี หลักการก็คือว่าให้เค้าใช้วิถีชนบทอยู่บนวิถีของเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินชีวิต เราเข้าไป เราเพียงแต่เข้าไปสร้างองค์ความรู้ และเก็บผลงานวิจัยออกมา ซึ่งโครงการนี้ ประสบความสำเร็จและทำมา 4-5 ปีแล้ว จะเห็นว่าในฐานะที่บริษัทดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของพลังงาน หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินว่าเราได้กำไรมากมาย ขอเรียนว่ากำไรมากมายที่เข้ามานี้จะเป็นตัวที่เข้ามาหล่อเลี้ยงให้เราสามารถดำเนินโครงการต่างๆได้ เพื่อผลักดันปตท.บนเส้นทางของแทคน็อคก็คือเทคโนโลยี่แอดแวนซ์ กรีน คอมปานี
ถาม : พูดถึงมิติความท้าทาย ปตท. เป็นองค์กรใหญ่ซึ่งมีมิติต่างๆมากมาย แน่นอนว่าขับเคลื่อนทั้งสังคมคงไม่ง่าย ความท้าทาย ปัจจัยในส่วนผู้ประกอบการอื่นๆ ดร.ไพลิน มองภาพรวมว่าอะไรเป็นความท้าทายหลักๆ ก่อนที่เราจะเดินหน้าขึ้นไป
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร:ภาพรวมพลังงานของประเทศไทยผมลองเปรียบเทียบอาเซียน ผมคิดว่าเราไม่เบอร์หนึ่งก็เบอร์สอง จริงๆแล้วประเทศที่สร้างความมั่นคงทางพลังงงานที่ดีที่สุดตอนนี้ พูดได้เลยว่าน่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์ แต่ถ้ามิติของราคา ว่าสิงคโปร์จ่ายค่าพลังงานเท่าไร ผมเชื่อว่าเราน่าจะเป็นที่หนึ่งได้ถ้าเอามิติมาบังคับ เพราะว่าราคาพลังงานที่เราใช้อยู่ตอนนี้ ผมถือว่าอยู่ในขั้นที่เรียกว่าถูก ในขณะเดียวกันความมั่นคงเราก็มีเยอะ อย่างประเทศอินโดนีเซียประชากรเกือบร้อยละ 40 เข้าไม่ถึงไฟฟ้า เป็นผู้ส่งออก ด้วยความที่เค้าเป็นเกาะก็ดี ประชาชนเยอะอยู่ก็ดี ในประเทศข้างบ้านเราก็ทราบอยู่เสมอว่ามีปัญหาเรื่องไฟไม่พอ ไฟตก เช่นพม่า หรือประเทศลาว ซึ่งเราทราบว่าเค้ามีพลังงานมากเหลือเกิน แต่น้ำมันเกือบร้อยละร้อย ข้ามมาจากฝั่งไทย เพราะฉะนั้นความมั่นคงทางพลังงานของเค้า ก็คือความมั่นคงทางพลังงานของเรา พึ่งก็ต้องพึ่ง จริงๆแล้วภาพรวมประเทศเราอยู่ในโพรสิชั่นที่ดีมากมองในภาพกว้างๆในแง่ของพลังงาน แต่มองไปข้างหน้าเรากำลังสร้างความคุ้นเคยอย่างหนึ่งให้กับคนไทยที่ว่าพลังงานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และก็ต้องราคาถูก ทีนี่ก็มีคำถามว่าภาพนั้นเป็นภาพที่ใช้ได้หรือไม่ จริงๆเวลามองเรื่องพลังงาน มันจะมีสองภาพ ซึ่งเป็นสองภาพที่เราเรียกว่าเอ็กซ์ซิเคส ลองคิดว่าถ้าคิดว่าพลังงานมีเยอะมากมาย ราคาถูกกว่านี้ด้วย แล้วคุณคิดว่าใช้ได้ไม่หมด ประชากรโลกนี้โชคดีมากมีของอย่างนั้นให้ใช้เยอะๆ ภาพที่เกิดขึ้นก็คือภาพเมื่อกี้ที่แสดงให้เห็นว่าเส้นอุณภูมิของโลกมันจะสูงขึ้น เมื่อกี้มันมีเส้นชันอยู่ว่าทิ้งไว้มันจะเป็นเส้นนี้ แล้วเราพยายามลดมันไง ถ้าสมมุติว่าพลังงานถูกกว่านี้ 20 เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าเส้นนั้นจะชันขึ้นไปอีกมากมาย เพราะฉะนั้นในภาพที่1 คือสมมุติเรามีพลังงานอยู่เยอะๆ ให้คนไทย ชาวโลก ใช้มากมาย ซีวิไลเซชั่นของมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้เพราะว่าเรากำลังลมควัน เรากำลังสร้างเตาอบรมควันตัวเราเองในอัตราที่เร็วขึ้นด้วย
ในอีกแง่หนึ่ง สมมุติว่าเราไม่มีพลังงานใช้เลย ถามว่าเราอยู่ได้ไหม คำตอบคืออยู่ไม่ได้ครับ ประชาชนเจ็ดพันล้านคนอยู่ไม่ได้ ในวันนี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างจีดีพี กับการใช้พลังงานอยู่ ที่เราเรียกว่าเอ็นเนอร์ยี่อินเทนซิตี้ เราพบว่าทุกครั้งที่จีดีพีเพิ่มมีการใช้พลังงานมากขึ้น แต่อัตราสัดส่วนจะเกินหนึ่งหรือต่ำกว่าหนึ่งก็ว่ากันไป แต่ประเด็นคือคำถามว่ามนุษย์โลกพร้อมหรือยังกับอัตราการที่จะยอมรับการเจริญเติบโตแบบไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีรัฐบาลประเทศไหนที่สามารถพูดได้ว่าปีนี้จีดีพีไม่เพิ่ม ยังมีการเพิ่ม 2-3 เปอร์เซ็นต์ จีนคาดหวังว่าจะเพิ่ม 7-8 เปอร์เซ็นต์ อย่างกรณีของจีนตัวอินเทนสิตี้มันมากกว่า1 หมายความว่าการใช้พลังงานของเค้ามากกว่า 7-8 เปอร์เซ็นต์ด้วย ญี่ปุ่นอาจจะประมาณ 0.4-0.5เปอร์เซ็นต์ ภาพเค้าดีมาก แต่แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่ดีที่สุดจีดีพีเค้าเพิ่ม1 เค้ายังใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 0.4 0.5 เลย
แต่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ถ้าคาดหวังการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจสำหรับคนเจ็ดพันล้านคนในโลกนี้ ก็จะมีการใช้พลังงานมากขึ้นแน่นอน ถ้าพูดกลับกันก็คือ ถ้าไม่มีพลังงานให้ใช้ อารยธรรมมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้อีกเช่นกัน แต่ในวันนี้ เรากำลังเดินอยู่ระหว่าง 2 ซินโร ไม่ว่าซินโรที่ว่ามีพลังงานเยอะๆให้ใช้ก็อยู่ไม่รอดอยู่ดี หรือไม่มีพลังงานให้ใช้ก็อยู่ไม่รอดอยู่ดี แต่ตอนนี้คนเจ็ดพันล้านคนกำลังยืนอยู่บนเส้นแบ่ง เส้นลวดหรือเดินอยู่บนคมมีด ว่าพลังงานมันก็พอมีให้ใช้นะ แต่ราคาไม่ถูกลงหรอก มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หายากขึ้น และก็บังคับให้เรากะเหม็ดกะแหม่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องบาลานซ์ดีมานซ์ไซส์กับซับพลายไซส์ ให้ได้ดี ในฐานะบริษัทพลังงานอย่างเรา เรายินดีมากเลย ที่จะหาพลังงานเยอะๆ มาขายให้ท่าน ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องมาพูดเรื่องดีมานไซส์ เพราะถ้าพูดเรื่องดีมานไซส์เมื่อไหร่ การใช้พลังงานก็จะลดลง แต่เราก็รู้ดีว่าถ้าท่านเดินไปในแนวทางนี้ เรากำลังรมควันตัวเราเอง และท้ายที่สุดเราก็จะอยู่ไม่ได้อยู่ดี เจ็ดพันล้านคนก็อยู่ไม่ได้ และก็ไม่มีประเทศไหนจะรอดด้วย เพราะกรีนเฮ้าแก๊ส ไม่ได้อยู่เหนือประเทศใดประเทศหนึ่ง มันอยู่ทุกๆประเทศทั่วโลกนี้ เพราะฉะนั้นชาแลนท์ของบริษัทพลังงานที่เราพูดถึงอย่างในฟอรั่ม...ก็ดี เราเห็นภาพเดียวกันว่ามองไปข้างหน้ามีเรื่องจะต้องทำมากมายเหลือเกิน เราต้องถามคำถามว่าจริงหรือเปล่า ดีแล้วหรือที่หลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศชั้นนำ จะเดินออกไปจากพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีแก๊สเรือนกระจก แทบจะไม่มีเลย ถูกหรือป่าว หรือเราจะเริ่มถามตัวเราเองที่ว่าการเรียกร้องให้พลังงานถูกที่สุด เป็นการเรียกร้องที่ถูกต้องหรือไม่ หรือแล้วเราจะให้สากลเข้าใจยังไงว่าเรื่องสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันนะครับ การมีพลังงานใช้ให้พอเพียงกับการใช้อย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดผลร้ายกับตัวเราเองให้มากที่สุด
ในภาพใหญ่บริษัทพลังงานส่วนใหญ่เห็นภาพเดียวกัน คำถามว่าถ้าขับเคลื่อนต่อไปเราจะต้องหวังพึ่งกลไลของรัฐเข้ามาช่วยด้วย
ตัวอย่างที่เห็นถึงความล้มเหลวที่เราจะมีข้อตกลงร่วมกันจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้คือการประชุมที่โกฮ่า ก็ไม่มีข้อสรุปว่าตกลงจะเอายังไง เราจะมาลดก๊าซเรือนกระจกกันยังไง ชาวโลกตกลงกันไม่ได้ แต่เจ็ดพันล้านคนกำลังเริ่มซัฟเฟอร์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแล้ว อันนี้ผมว่าเป็นชาแนลที่ใหญ่มาก คงจะต้องมีฟอรั่มอย่างนี้เยอะๆ เพื่อจะถกและหาคำตอบ และหาประชามติร่วมกันว่า จะเอายังไง อย่างน้อยที่สุดประเทศไทยเราจะเอาอย่างไร ตกลงเราจะใช้พลังงานถูกๆ ให้มันหมดๆไปหรือเปล่าและทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มะม่วงออกดอกไปแล้ว ผมว่าต้นมะม่วงคงงงมากว่าตอนนี้มันหน้าอะไร แล้วเดือนมีนาชั้นจะออกดอกอีกครั้งหนึ่งหรือไม่
ถาม : ผมทราบว่าทางปตท.เองก็มีศูนย์วิจัยและมีการวิจัยเรื่องของพลังงานทางเลือกหลายอย่าง เคยได้ยินเรื่องสาหร่ายด้วย อยากจะรู้ว่าในมุมมองของปตท.เอง เราทำธุรกิจไปด้วยมีงานวิจัยไปด้วย มองในแง่ของโรดแมพในอนาคตอย่างไรบ้าง
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร:ในเรื่องของการพัฒนาพลังงานทดแทนในเมืองไทย ในอาเซียนเราก็ก้าวหน้ามาก อันนี้ต้องขอบคุณกระทรวงพลังงานไม่มีประเทศไหนในอาเซียนที่มีไบโอดีเซล ไอโอแอทเธอร์นอลใช้ ประเทศไทยเราดีอย่างคือเป็นประเทศกสิกรรม เกษตรกรรม และเราก็เป็นหนึ่งใน10ประเทศในโลกนี้ ที่เป็นผู้ส่งออกอาหาร ฉะนั้นเรามีทางเลือก เรามีช้อยส์ ว่าเราจะเอาอาหารบางส่วนฟู้ดเชนท์ มาเป็นพลังงานได้ไหม ซึ่งไม่ใช่ทุกประเทศเลือกออปชั่นนี้ได้ และเราก็ได้เลือกออปชั่นนี้แล้วเราก็ทำอยู่ เพียงแต่ว่าเวลาเราอยู่ในประเทศไทยเราจะมีความรู้สึกว่าทำไมเราไม่เอาอันนั้นมาทำให้มากขึ้น เอาลม เอาแดดมากขึ้น ทั้งๆที่จริงแล้วสัดส่วนในการใช้พลังงานทางเลือกของเราค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่แน่นอนเวลาเราไปเทียบกับพวกซุปเปอร์ท็อปคันทรี่กับพวกสแกนดิเนเวีย เราก็จะสู้เค้าไม่ได้ อันนี้ก็เป็นข้อเท็จจริงและก็เป็นเรื่องที่ให้เราทำต่อไป
ในส่วนของปตท.เองเราได้ทำหลายเรื่อง ยกตัวอย่างกรีนโรดแมพอันนี้ เราทำขึ้นมาเป็นปีแรกและได้มีการดำเนินการ หลายๆ เรื่องการดำเนินการเป็นรูปธรรมมาก ยกตัวอย่างเรื่องอะแวแนส นอกจากเราไปปลูกป่า และแจกรางวัลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้ว เร็วๆนี้เราทำอีกสิ่งหนึ่ง เราสร้างสิ่งที่เรียกว่า วิทยาลัยเวียนนาพลังงาน(ฟังไม่ชัดค่ะ) ร่วมกับกระทรวงพลังงาน จะเห็นว่าในปัจจุปันนี้ในสื่อต่างๆ ในโลก โซเชียลเน็ตเวิร์คมีทั้งอวิชา วิชาทิฐิมากมายเกี่ยวกับพลังงาน คงจะเคยได้อ่านว่ามีคนไปพูดว่าประเทศไทยพลังงานเยอะแยะมากมาย ขุดไปตรงไหนก็จะเจอ แต่กระทรวงพลังงานปกปิดและบอกพลังงานเราแพง ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นอวิชชาเพราะไม่รู้ก็ดี ไม่รู้จริงๆก็ดี หรือวิชาทิฐิก็คือเจตนาบิดเบือน แต่จะเป็นเรื่องที่ดีมากเลย ถ้าประเทศไทยจะมีพลังงานให้ใช้เยอะๆอย่างที่ว่า แต่อย่าลืมว่าการที่เรามีพลังงานเยอะๆ ถูกๆ ใช้ไม่รู้จักหมดสิ้นแล้วเราจะอยู่รอดไหม เราก็อยู่ไม่รอดอยู่ดี เราก็จะอยู่ในเตาอบที่อุณภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
จริงๆแล้ววิธีที่จะแก้ไขอวิชชาหรือ วิชาทิฐิ วิธีการหนึ่งก็คือ เปิดให้มีฟอรั่ม ผู้นำทางความคิดจะได้มีโอกาสมาคุยกันได้ถกกันอย่างที่เราถกกันทุกวันนี้
ผมยกตัวอย่าง ผมอาจจะคิดต่างกันกับอาจารย์พลายพลเรื่องรถยนต์คันแรก ผมกลับมองว่าอันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ปัญหาของเราตอนนี้ คือฟีทรถยนต์ของเราเครื่องยนต์จะอยู่ประมาณ 2000 ซีซีบวกลบ 1600 2000 2400 คำถามคือถ้าเราใช้รถในเมืองจำเป็นต้องใช้รถอย่างนั้นหรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็นเลย รถอีโคคาร์ที่เราสนับสนุนขึ้นมา เครื่องอยู่1200 1400 มันดีกว่ารถสองพันบวกลบเท่าตัวนะ ถามว่าถ้ามีรถมากขึ้น รถจะติดมากขึ้นหรือไม่ ผมคิดว่าในกรุงเทพเลยจุดอิ่มตัวไปนานแล้ว รถมากกว่านี้ก็จะไม่ติด เพราะว่าจำนวนรถมากกว่าจำนวนคนขับ ก็หมายความว่าเราจะมีรถจอดอยู่คันหนึ่ง ซื้อรถเพิ่มมาคันหนึ่ง ใช่ว่าจะเอารถคันนี้ออกมาวิ่งเพราะว่าคนขับมันน้อยลง ในวันธรรมดาเราจะเอารถคันใหญ่วิ่ง วันเสาร์อาทิตย์เอารถคันเล็ก โดยส่วนตัวผมเอารถคันเล็กของลูกไปใช้เป็นประจำวันเสาร์อาทิตย์ ทั้งขับง่ายและคล่องตัวดีในเมือง
จะเห็นว่าถ้าเราไปประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศเกาหลีจะเห็นว่ารถในเมืองมันเล็กลง เพราะฉะนั้นการเปิดช้อยส์ที่จะเอารถคันเล็กมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพื่อให้คนใช้รถคันใหญ่มีโอกาสได้ใช้รถคันเล็ก จริงๆรถคันเล็กเอาไปช้อปปิ้งได้สะดวกกว่าคันใหญ่เยอะเลย จึงเป็นโอกาสเปิดให้ใช้ โดยใช้ตัณหาของเราเป็นตัวนำ คือการได้ลดภาษีแสนนึงก็เลยไปถอยรถคันเล็ก เพราะถ้าไม่มีลดแสนนึง เราก็คงไม่ไปถอยรถคันเล็กมาใช้เพราะเรามีทัศนะคติในการใช้รถคันเล็กว่ามันจะไม่แรง ทั้งๆที่เวลาเราไปขับมันก็ดีขึ้น ผมว่าอันนี้มันก็เป็นการมองต่างมุม ผมคิดว่าฟอรั่มที่เราจัดขึ้นที่วิทยาลัยพลังงานนี้เราจะได้มีโอกาสถกกันอย่างนี้เยอะไม่มีข้อสรุปว่าอะไรถูก อะไรผิด ได้เอาความเห็นมาคุยกัน มาหักล้างกัน นั่นเป็นส่วนที่คิดจะทำ
กลับมาที่โรดแมพ ประเด็นโรดแมพของการทำแผนของเราก็คือว่าเมื่อมีแผนแล้วปฏิบัติหรือเปล่า ปฏิบัติเสร็จแล้วได้ผลเป็นอย่างไร เพราะว่าถ้ามีแผนเฉยๆมันก็จะ...(แผ่น 2)ในกรณีของปตท.เราเองก็ได้ดำเนินการหลายๆเรื่อง สุดท้ายเราตัดสินใจอย่างหนึ่งว่าเราประเมินสิ่งที่เราทำว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเครื่องมือในการประเมินเกิดขึ้นมาในปี 1999 ที่ประเทศอเมริกา ก็คือว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนห์ได้ให้บริษัทบริษัทหนึ่งประเมินว่า องค์กรธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความก้าวหน้าของสังคมและการรักสิ่งแวดล้อม หาวิธีประเมินออกมา ซึ่งเค้าคิดขึ้นมา มีไคทีเรียมากมายในการประเมินบริษัทและแยกบริษัทออกมาเป็นหลายกลุ่มมากอย่างพลังงาน มีซับเซกเตอร์ถึง 4 หัวข้อเป็นต้น ซึ่งในนั้นเค้าจะเชิญบริษัทขนาดใหญ่ในโลกเข้าไปรับการประเมินไ ม่เสียตัง ประเมินเสร็จแล้วเค้าจะบอกว่าเพอร์ฟอร์แมนซ์ทางด้านสังคมสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร แล้วจะมีการประกาศประจำปี เสร็จแล้วก็จะประกาศเฉพาะ 10 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่เค้าเชิญไปว่าที่คุณประเมินแล้วผ่านได้คะแนนท็อปเป็นสิบเปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเป็นบรอนด์ซิลเวอร์ ในบางปีบริษัทที่ติดบรอนซิลเวอร์ ยกตัวอย่างพลังงานมีอยู่ปีนึงบริษัทบริตีส ปิโตเลี่ยมบีพี เค้าได้รางวัลท็อป แต่ปีนั้นเค้าทำน้ำมันรั่วในเม็กซิโก เค้าถูกถอดชื่อ หรือบริษัทเชลล์เค้ามีปัญหาว่าเค้าไปทำบริษัทน้ำมันในประเทศไนจีเรียแล้วมีปัญหากับชาวบ้าน เอาแก๊สไปเผามากมายทิ้งไม่ได้ทำประโยชน์เค้าก็ถูกถอดชื่อ
ในการประเมินแต่ละปีบริษัทที่อยู่ในท็อปกลุ่มพลังงานมีอยู่ไม่กี่บริษัทและที่สำคัญตรงที่ป้ายสีเขียวเป็นบริษัทที่มีขนาด Fortune 100 จะเห็นว่าบริษัทที่อยู่ในFortune 100ก็ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี บริษัทสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ไม่ใช่ว่าต้องอยู่ใน Fortune 100 จะเห็นว่าแต่ละปีจะมีบริษัทขึ้นๆลงๆอยู่ไม่ครบถ้วนเลย เกณฑ์นี้ถือว่าเข้มงวดที่สุดในการวัด คือท่านแข่งกับตัวเอง คือถ้าท่านทำดีแล้วมีคนทำดีกว่าท่าน ท่านก็ตกลงมา ปตท.เองก็จะใช้ DGSIเป็นตัวชี้วัดและเราเข้าร่วมมา2ปีแล้วและปรากฏว่า และปี2011 เราได้เลือกเป็นคอมโพเนนท์ ท็อป 15 เปอร์เซ็นต์ และปีนี้เราขึ้นมาท็อป 10 เปอร์เซ็นต์ และมีสิทธิได้ใช้เครื่องหมายที่อยู่ข้างหน้าเป็นเวลา 1 ปี คำว่า dow jones sustability indexes member 2012
ปรากฏว่าตัวเลขที่เราได้ขึ้นจากปีที่ 11 อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเราก็ประเมิน เรากลับไปสรุปได้ว่าเรามีแผนทางด้านกรีนโรดแมพ ซึ่งมีสาระและปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการนั้น ตัวเลขจะสะท้อนไปที่ตัวชี้วัดอย่างนี้ ซึ่งในประเทศไทยเองมี 2 บริษัทเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับโดยดีเจส อีกบริษัทนึงก็คือบริษัทปูนซีเมนไทย ซึ่งจริงๆแล้วบริษัทที่ได้รับเชิญในการประเมินมีหลายบริษัท แต่บริษัทที่ตอบรับและเข้าไปประเมินมีแค่ 2 บริษัทเท่านั้น เราก็เลยได้มีการคุยกันระหว่างบริษัทจดทะเบียนว่านี่จะเป็นทางเลือกทางต่อไปขององคร์กรธุรกิจไทยหรือเปล่าที่กำลังจะประเมินตัวเองว่าเรา เขียว แค่ไหน โดยใช้มาตรฐานโลกและตัวชี้วัดเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ซึ่งในการวัดของแต่ละกลุ่มธุรกิจ คือสัดส่วน ของทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคมจะต่างกัน ของเราพลังงานเรารู้ว่าเราเป็นตัวสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพราะฉะนั้นตัวชี้วัดตรงนั้นเข้มงวดมาก ว่าในแต่ละปีนี้เราได้ทำอะไรบ้าง ทั้งอัพซีล ทั้งดาวน์ซีล ทั้งการลดคาร์บอนด์ฟุตปริ้น อะไรต่างๆ จะมีเงื่อนไขเข้มงวดในตรงนั้น
จึงเรียนเชิญธุรกิจอื่น ถ้าเราบอกว่าเรามีแผนปฏิบัติการ เรามีโรดแมพแล้วเราอยากจะรู้ว่าเราทำได้ดีแค่ไหน อีกทางเลือกนึงคือการเข้าไปประเมินโดยดีเจส
ถาม: เรื่องพลังสีเขียว ซึ่งทางปตท.ได้พยายามทำอยู่ ตัวใดที่ได้รับการจัดอันดับแล้วเป็นตัวที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร: ถ้าเราเชื่อมั่นและเดินในทางนี้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมากมาย ในรายละเอียดตัวชี้วัดรีพอร์ทที่เราต้องทำ จะทำให้เราเห็นว่าเราจะไม่หลงลืมอะไรก็ตาม จะแบ่งเป็น 2 ส่วน Industry Specific Criteria และ General criteria ซึ่งจะแตกออกเป็น 3 หัวข้อ Economic Criteria , Environment Dimension , Social Dimension ซึ่งในแต่ละอัน ของแต่ละอุตสาหกรรมไม่เหมือนกัน โดยจำนวน โดยน้ำหนักเปอร์เซ็นต์ที่เขาแอสไซน์ให้ และในแต่ละคอมเมอร์เน้น เค้าจะลงรายละเอียด ว่าหัวข้อกิจกรรมที่คุณทำผลออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นการชี้วัดที่เข้มงวดมาก และการรับตัวชี้วัดนี้ก็หมายความว่าเรากำลังถูกตรวจสอบแล้วเราจะรู้จุดอ่อน อย่างปตท. 2-3ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นเป็นประเด็นว่าในบางเรื่องเราอาจจะไม่ให้ความสำคัญ เรามองข้ามไป แต่จริงๆในมาตรฐานแล้วมันสำคัญ เราจะต้องหยิบยกขึ้นมา และเราจะไม่ขาดไม่เกินในหลายๆมิติ
ในกรณีของ 0il & gas เค้าจะให้.....อยู่ 27 % social dimension อยู่ที่ 31 % เราจะเห็นว่าในวันก่อนมีใครซักคนไปตั้งแท่นเจาะน้ำมันที่ทวีวัฒนา อันนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีว่าเราทำธุรกิจ เราทำกิจกรรมโดยละเลยสังคมและสิ่งแวดล้อม จริงๆเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากไม่มีอะไรเลย แต่การที่เราไม่ได้คอมมูนิเคท ไม่ได้พูดถึงโทษ ไม่ได้พูดถึงประโยชน์ อยู่ดีๆเราล้อมรั้วแล้วเอาขาไปตั้งเตรียมเจาะ ก็เจาะไปจริงๆ สุดท้ายก็ไม่ได้เจออะไร ทุกวันนี้กลบไปแล้วก็ไม่ได้เจออะไรเลย แต่ว่าในวันนั้นกิจกรรมอันนี้สร้างภาพเป็นลบต่อการขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาทันที อย่างน้อยชุมชนแถวนั้นเค้าคงเข็ดขยาดเป็นเวลานาน นั่นเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า ทำธุรกิจของเรา ถ้าเราละเลยทางด้านสิ่งแวดล้อม มองแต่ธุรกิจอย่างเดียว ภาพที่ออกมาในวันนั้นจะเป็นภาพที่เป็นผลลบไปอีกนานทีเดียว
ถาม : ภาพส่วนต่างๆ ควรจะมีบทบาทอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนในเรื่องการช่วยกันผลักดัน หรือแม้ว่าภาคธุรกิจขนาดใหญ่เอง สามารถจะมีส่วนร่วมตรงนี้อย่างไรได้บ้างในการผลักดันพลังงานสีเขียว
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร: ผมคิดว่าสำคัญที่สุดเราต้องกลับมาที่เบสิค อันหนึ่งที่เราพูดถึงมากในวิทยาลัยพลังงานก็คือว่า เราต้องกลับมาพูดถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้พลังงาน ตอนนี้เราพูดกันแต่สิทธิ สิทธิใช้พลังงานทุกรูปแบบ สิทธิที่มีความต่อเนื่อง สิทธิที่พลังงานต้องถูกเป็นหน้าที่ที่จะประหยัดเพื่อเก็บพลังงานให้กับผู้ชนรุ่นหน้า
เราได้ศึกษาพบว่าที่อเมริกาได้มีการเสนอสิ่งที่เราเรียกว่าพระราชบัญญัติการให้ความรู้เรื่องพลังงาน ซึ่งที่อเมริกานี่เป็นครั้งที่ 2 ที่มีการเสนอพระราชบัญัติประเภทนี้ เค้าเรียกว่า นิวอินลิเยอร์อินดิเคแทค สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐมนตรีพลังงานของโอบาม่าออกมากล่าวประโยคนึง บอกว่าเราประเทศอเมริกา คนอเมริกันจะไม่ส่งมอบโลกใบนี้ให้ลูกหลานเราโดยมีอุณภูมิเพิ่มขึ้น 3-4 องศา ซึ่งในอดีตอเมริกาเคยเสนอพระราชบัญญัติว่าด้วยการบังคับให้การศึกษา ครั้งหนึ่งเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยประธานาธิบดีเคเนดี้ ตอนนั้นหลังสงคราม กำลังยินดีกับความเป็นเจ้าโลกว่าชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ดีๆ อเมริกาก็ตกใจเมื่อเห็นดาวเทียมสปุตนิกของรัสเซียบินข้ามหัวไปเป็นจุดสว่างบนท้องฟ้า และหลังจากนั้นก็ช็อกมากกว่านี้อีกเมื่อพบว่ารัสเซียเริ่มยิงจรวดและเอาสุนัขขึ้นไปชื่อไรก๊า สุดท้ายก็เอามนุษย์อวกาศคนแรกขึ้นไปบนอวกาศชื่อยูริ กาการิน วันนั้นประธานาธิบดีเคเนดี้ได้สั่งให้มีพระราชบัญญัติ National Defense Education Act ซึ่งผลจากวันนั้นทำให้มีการวิจัยและพัฒนาในหลายเรื่องและเกิดองค์การนาซ่าขึ้นมา และมีการเข้าสู่ยุคแห่งความเจริญ และเห็นโครงการเจมินี่ โครงการอพอลโล ในท้ายที่สุดเพียงไม่กี่ปีอเมริกาก็สามารถเอามนุษย์ไปอยู่บนดวงจันทร์ได้ก่อนรัสเซีย ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่มีความตระหนักผมเข้าใจว่าอันนี้เป็นผลสืบเนื่องมากจากกรณีที่รองประธานาธิบดีอังกอร์พูดเรื่อง An Inconvenient truth และได้รางวัลโนเบิลไพรส์ ในสมัยรัฐมนตรีวอลมาร์ท เสนอพระราชบัญญัติให้ความรู้เรื่องพลังงาน โดยท่านบอกว่านี่เป็นเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องออกมาแสดงพลัง ท่านบอกว่า if you care about me don’t give me a world that will heat up by four to five degrees ซึ่งเรื่องนี้ในวิทยาลัยพลังงานเราได้มีคุยกันและดูร่างพระราชบัญญัติ ผมอยากให้ดูเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้พลังงาน เราลองคุยกันว่า ถูกต้องหรือไม่ที่เราจะต้องเริ่มบอกกับผู้คนเรื่องพลังงานว่า พลังงานมันเป็นของทุกๆคน ฉะนั้นทุกๆคนจะต้องเข้าใจสิทธิและยอมรับหน้าที่ ฉะนั้นการเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียวมันไม่เกิดประโยชน์อะไร ทุกคนจะต้องเข้าใจว่าการรู้จักเลือกใช้พลังงานและใช้พลังงานเกิดประโยชน์
และการอนุรักษ์พลังงานเป็นหน้าที่ของทุกๆคน เหมือนกับเราจะต้องบอกทุกๆคนว่าเรื่องการใช้พลังงาน มันมีอยู่ 2 หน้า คือหน้าซับพลายไซส์ กับหน้าดีมานไซส์ ถึงเวลาแล้วจะต้องมาทำดีมานไซส์เมเนทเม้นท์อย่างจริงจัง เราไม่เคยคิดทำเรื่องดีมานไซส์เมเนทเม้นมาจนกระทั่ง พบว่า เมื่อหลังเกิดเหตุการณ์ฮิโรชิม่า พลังงานนิวเคลียร์ หน้าร้อนเมื่อปีที่แล้วของญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นคาดว่าจะเกิดวิกฤติไม่มีไฟฟ้า เพราะญี่ปุ่นเป็นหน้าร้อนที่ทรมานมาก ทุกคนต้องใช้แอร์ ที่นั่นถ้าไม่มีแอร์ผู้สูงอายุเสียชีวิตทุกปีแต่เค้าคำนวณไว้ว่าจะต้องลดการใช้พลังงาน 20 % ในหน้าร้อน ถ้าไม่งั้นประเทศญี่ปุ่นไปไม่ไหว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ด้วยความมีวินัยของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นสามารถลดดีมานด์ได้ถึงร้อยละ 25 ในช่วงหน้าร้อน เกิดกว่าเป้า คือรัฐบาลประกาศว่าถ้าไม่ได้จะใช้กฎหมายบังคับแต่ปรากฏว่าด้วยความมีวินัยเค้าลดได้ร้อยละ 25
ลองคิดดูว่าเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก อย่างญี่ปุ่นอยู่ดีๆ เป็นช่วงเวลา 3เดือนลดไป 25 เปอร์เซ็นต์ คือ 1 ใน 4 สมมุติประเทศอเมริกามีคนอ