‘เศรษฐา’ ชู 6 จุดแข็งไทยฐานลงทุนโลก ‘บีโอไอ’ เร่งเชื่อมไทยเข้าซัพพลายเชน EV

‘เศรษฐา’ ชู 6 จุดแข็งไทยฐานลงทุนโลก  ‘บีโอไอ’ เร่งเชื่อมไทยเข้าซัพพลายเชน EV

 “เศรษฐา” ชู 6 จุดแข็งดันไทยฐานลงทุนโลก ชี้แลนด์บริดจ์เสริมศักยภาพการเป็นประเทศเป็นกลาง “BOI” งัดกลยุทธ์จับคู่ธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไทย – กับอีวีจีน เผยตัวเลขจับคู่ธุรกิจ 3 รายเฉียด 4 หมื่นล้าน ส่วนงานซับคอนไทยแลนด์คาดจับคู่ธุรกิจ 9,000 ราย มูลค่ารวมอีก 2.2 หมื่นล้าน

KEY

POINTS

  • นายกรัฐมนตรีระบุว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงสำคัญของการดึงการลงทุนโดยมีจุดแข็ง 6 ประการ โดยชูโครงการแลนด์บริดจ์ทำให้ไทยมีศักยภาพมากขึ้น
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเติบโตอย่างรวดเร็วหัวใจสำคัญของการเติบโตต่อไปคือการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยกับซัพพายเชน EV ที่เข้ามาลงทุน
  • บีโอไอชูกลยุทธ์จับคู่ธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไทยกับผู้ผลิต EV จีนโดยจัดงาน sourcing กับ EV 3 แบรนด์ เกิดมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท 
  • งาน SUBCON Thailand 2024 คาดว่าจะมีการจับคู่ธุรกิจกว่า 9,000 คู่ เกิดมูลค่า 22,000 ล้านบาท

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการเป็นประธานในพิธีเปิดงาน SUBCON Thailand 2024 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ วานนี้ (15 พ.ค.) ว่าประเทศไทยเรามีความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมสำคัญอย่างรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งต่อยอดจากฐานการผลิตรถยนต์เดิมที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตสำคัญและมีการลงทุนในไทยนับล้านล้านบาท โดยไทยมีการออกแบบสิทธิประโยชน์ที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปมาสู่ EV และมีนโยบาย EV3.5 ที่จะช่วยให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องทั้งรถ EV และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงการผลิตไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างอิเล็กทรอนิกส์ที่สะสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทย และบางชิ้นส่วนภาครัฐก็จะช่วยสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างด้วย

งาน SUBCON THAILAND ถือเป็นงานที่มีความสำคัญเป็นเวทีในการแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตของประเทศไทย ที่มีความพร้อมในการเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของโลก ตามวิสัยทัศน์ “IGNITE Thailand” ของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปเป็นที่หนึ่งของภูมิภาค โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยบีโอไอได้มีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง จนก้าวขึ้นเป็นฐานผลิตอันดับ 1 ในอาเซียน ทั้งการเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้ประเทศไทยได้รับความสนใจจากบริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม PCB ที่จะช่วยต่อยอดไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ และการลงทุนที่เป็นสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งการสร้างการเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการไทยเชื่อมโยงกับซัพพายเชนโลกได้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลผลักดันให้เกิดขึ้น

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่ดีของการดึงดูดการลงทุน และมีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนหลายด้าน ได้แก่

1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่หลายพื้นที่กำลังเผชิญปัญหาของสงคราม และความขัดแย้ง ทำให้ประเทศที่มีจุดยืนที่เป็นกลาง ไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ทำให้ไทยเป็นที่น่าสนใจของบริษัทระดับโลกที่จะเข้ามาลงทุน

ซึ่งเมื่อรวมกับโครงการลงทุนเรื่องแลนด์บริดจ์ ซึ่งโครงการนี้แม้จะลงทุน 300,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยังมีความคุ้มค่ามากเพราะถือเป็นทางเลือกในการขนส่งทางการค้าที่สำคัญ ช่วยเสริมฐานการผลิตที่มั่นคงและการลงทุนแลนด์บริดจ์ ช่วยให้การลงทุนในไทยมีความแข็งแกร่งและสนับสนุนฐานะการเป็นกลางของไทยในเวทีโลก ซึ่งถือว่าตอบโจทย์นักลงทุนทั่วโลก

‘เศรษฐา’ ชู 6 จุดแข็งไทยฐานลงทุนโลก  ‘บีโอไอ’ เร่งเชื่อมไทยเข้าซัพพลายเชน EV

“แลนด์บริดจ์ต้องมองให้ไกล เนื่องจากเรื่องภาษีระหว่างประเทศเปลี่ยนเร็วมากทำให้ วอลลุ่มการขนส่งทางเรือจะเพิ่มอย่างมาก  เช่น คลองสุเอชปิดปีก่อนซัพพายเชนชะงักไปทั่วโลก ส่วนช่องแคบมะละกาแน่นนมาก มีเรือเข้าคิวเยอะมาก เราได้ยินว่ามีอุบัติเหตุกว่า  60% สินค้าผ่านช่องแคบมะละกา เราเสริมซึ่งกันและกัน เสริมระบบการค้าโลก และทำให้ไทยมั่นคงในเวทีการค้าโลก  โครงการนี้ทำให้เราเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชียได้ ทำให้การลงทุนในไทยเกิดขึ้นและการผลิตในไทยไม่สะดุด สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ดังนั้นแลนด์บริดจ์จึงสำคัญกว่าซื้อเรือดำน้ำและเครื่องบินรบ”นายกรัฐมนตรี กล่าว

 

2.ไทยมีมาตรการสนับสนุนพลังงานสะอาดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สนับสนุนการลงทุนที่ต้องการใช้พลังงานสะอาด โดยภายในปี 2040 พลังงานสะอาดจะคิดเป็น50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ ทำให้สามารถสนับสนุน ดาต้าเซนเตอร์  และการใช้ของพลังงานใหญ่ๆ ซึ่งซัพพายเชนจะต้องเอามาใช้ได้ และบริษัทใหญ่ๆต้องสนับสนุนบริษัทเล็กๆให้ใช้พลังงานสะอาดด้วย

3.ในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือเรื่อง “FTA” รัฐบาลไทยเราสานต่อ และเซ็น MOU กับศรีลังกาแล้ว ซึ่งในระยะต่อไปเราจะเซ็นต่อเนื่องเดินหน้าเต็มรูปแบบกับสหภาพยุโรป (EU) ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเราจะเร่งทั้งตะวันออกกลาง และอังกฤษ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุน

4.ประเทศไทยเรามีจุดเด่นเรื่องของคุณภาพชีวิตที่ดี มีรร.นานาชาติ และระบบสุขภาพของเราดีมาก มีโรงพยาบาลชั้นนำ  ซึ่งรัฐบาลเร่งทำเรื่องของความยากง่ายในการทำการอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจ eases of doing business และการเปิดการอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งสินค้า (NSW)

5.รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างการเชื่อมโยงในการผลิตกับซัพพายเชนต่างๆในไทยซึ่งในการเจรจาการค้าต่างๆเราคำนึงถึงซัพพายเชนทั้งหมดของอุตสาหกรรมไทยด้วย โดยเราเจรจาให้ใช้ชิ้นส่วนของคนไทยเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ให้ผู้ประกอบการไทยเราไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยเรื่องงนี้อยู่ในกรอบต่อรองตลอดเวลาในการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ

และ 6.ประเทศไทยเรามีโครงสร้างพื้นฐาน ที่ดีมากทั้ง สนามบิน ถนน ระบบราง และท่าเรือ โดยขณะท่าเรือน้ำลึกไทยเราเร่งเฟส 3 ในพื้นที่ EEC ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดเพื่อสนับสนุนการขนส่ง    ‘เศรษฐา’ ชู 6 จุดแข็งไทยฐานลงทุนโลก  ‘บีโอไอ’ เร่งเชื่อมไทยเข้าซัพพลายเชน EV

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมและเราสามารถสร้าง Product Champion ได้ แต่การจะประสบผลสำเร็จได้เหมือนเช่นในอดีตต้องสร้างผู้ประกอบการให้อยู่ในซัพพายเชนด้วยซึ่งบีโอไอให้ความสำคัญในส่วนนี้เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ในการเติบโตของอุตสาหกรรม EV ในไทยเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว หลังจากมาตรการ EV 3 ยังมีมาตรการ EV 3.5 ซึ่งในข้อกำหนดคือลดเงินชดเชยลงและมีการกำหนดให้ค่ายรถยนต์ EV ผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้า และให้มีการการผลิตชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการใหม่ที่ผ่านบอร์ด EV มีมาตรการที่เป็นแพคเกจรถบัส และรถขนส่งขนาดใหญ่ โดยส่งเสริมรถบัสและรถบรรทุก (bus and truck) โดยหากใช้รถไฟฟ้าจะสามารถนำมาหักภาษีได้ 1.5-2 เท่า นอกจากนั้นการส่งเสริมการผลิต EV ในขณะนี้ยังไปถึงเทคโนโลยีระดับเซลล์แบตเตอรี่ ซึ่งรองรับการเติบโตของการใช้รถ EV ของไทยมีการลงทุนสูงและมีความต้องการใช้รถ EV อีกมากขึ้น โดยบีโอไอได้มีการสนับสนุนทุกเซกเมนต์ของ EV และการลงทุนสถานีชาร์จ ที่มีโอกาสทางธุรกิจอีกมากที่รออยู่ รวทั้งการสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญ 17 ชิ้นส่วนสำคัญ

“จากการส่งเสริมการลงทุนไปกว่า 8 หมื่นล้านบาทของรถ EV เป็นการสนับสนุนในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนสำคัญถึง  4 หมื่นล้านบาท ใน 18 โครงการ นอกจากนั้นที่ผ่านมาบีโอไอมีการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงให้มีการเจรจาการค้าระหว่างผู้ผลิตรถEV หรือ จัดงาน sourcing ซึ่งทำไป 3 ค่ายคือ BYD NETA และ GW ซึ่งต่อไปจะมีการจัดกับค่ายรถ ค่ายรถ changan และเชิญชวนรายที่เหลือเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งให้คุยกันระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนรถในไทยกับซัพพายเออร์เพื่อให้คุยกันว่าต้องการชิ้นส่วนอุปกรณ์อะไรบ้างที่ผู้ผลิตไทยสามารถผลิตให้ได้ ซึ่งถือว่าช่วยให้ผู้ผลิตของไทยเข้าไปอยู่ในซัพพายเชนของการผลิตรถ EV ที่มีการมาลงทุนในไทยได้”

 ทั้งนี้ในการจัดงาน SUBCON Thailand 2024  ปีนี้ มีบริษัทผู้ซื้อชั้นนำกว่า 500 บริษัททั้งในและต่างประเทศ และคาดว่าจะก่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจกว่า 9,000 คู่ เกิดมูลค่าเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมกว่า 22,000 ล้านบาท และถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัด “BOI Symposium: EV Supply Chain” โดยเชิญผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ 7 รายที่มีการลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ BYD, MG, Great Wall Motor, Neta, Changan, GAC Aion และ Chery ที่จะมาร่วมนำเสนอทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงแผนการจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนในประเทศ เพื่อส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ โดยเฉพาะ SMEs ไทย ให้เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ยกระดับประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลกต่อไป