เอกชนเมินใช้สิทธิข้อตกลง“RCEP” บังคับใช้ 2 ปีขอใช้ประโยชน์แค่1.5%

เอกชนเมินใช้สิทธิข้อตกลง“RCEP”  บังคับใช้ 2 ปีขอใช้ประโยชน์แค่1.5%

ข้อตกลง RCEP ปีที่ 2 ยังแผ่วเอกชนขอให้สิทธิแค่ 1.54% ของสัดส่วนสินค้าที่ได้รับสิทธิ ขณะที่การใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอทุกฉบับสูงมากกว่า 80% ตลาดอาเซียนแชมป์ส่งออกสูงสุด รองลงมาคือFTA อาเซียน-จีน

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา หากนับจนถึงปัจจุบัน ข้อตกลงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว 2 ปี แต่พบว่า จากมูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ 85,022 ล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออกที่ขอใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 1,313.52 ล้านดอลลาร์ ทำให้สัดส่วนการใช้

การใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 1.54% เท่านั้น 

สำหรับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิก RCEP ในเดือนม.ค.-พ.ย. 2566 ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ในปี 2565 ระหว่างประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย เมียนมา มีผลบังคับใช้กับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2566 และฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 

โดยในเดือน ม.ค.-พ.ย. 2566 มีการใช้สิทธิฯการส่งสินค้าไปยังประเทศสมาชิก 12 ประเทศ รายการสินค้าที่ขอใช้สิทธิฯ สูงสุด10 อันดับ เช่น น้ำมันหล่อลื่น  ,เครื่องดื่มชูกำลัง, ปลาทูน่ากระป๋อง ,มันสำปะหลัง, เลนส์ ปริซึม กระจกเงา และวัตถุเชิงทัศนศาสตร์อื่น ๆ ทำด้วยวัตถุใดก็ตาม 

เอกชนเมินใช้สิทธิข้อตกลง“RCEP”  บังคับใช้ 2 ปีขอใช้ประโยชน์แค่1.5%

ในส่วนรายการสินค้าสำคัญที่ขอใช้สิทธิฯ RCEP สูงสุดรายประเทศ ได้แก่ออสเตรเลีย เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ส่วนสินค้าที่ไทยใช้สิทธิฯ ในการส่งออกไปจีน เช่น มันสำปะหลัง ,เลนส์ สำหรับกล้องถ่าย เครื่องฉาย หรือเครื่องขยาย , ทุเรียนสด (HS 081060) 

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของช่วงเดือนม.ค.-พ.ย.ปี 2566 มีมูลค่าส่งออกรวม 75,842.65 ล้านดอลลาร์ สัดส่วน 82.66% ของการส่งออกสินค้าที่ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA 

โดย FTA ที่ไทยใช้สิทธิฯ ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง ยังคงเป็นความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีมูลค่า 27,584.19 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ  สัดส่วน 75.85 % ซึ่งเป็นการใช้สิทธิฯ ส่งออกไปเวียดนามสูงที่สุดมูลค่า 6,795.17 ล้านดอลลาร์ อันดับที่สองเป็นอินโดนีเซีย มูลค่า 6,726.93 ล้านดอลลาร์และ มาเลเซีย มูลค่า 6,341.61 ล้านดอลลาร์

สำหรับสินค้าที่มูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน ,น้ำตาลที่ได้จากอ้อย ,น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันจากแร่บิทูมินัส ,รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคล ความจุกระบอกสูบเกิน 1,500 - 2,500 ลบ.ซม. และเครื่องจักรอัตโนมัติ

นายรณรงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความตกลง FTA ฉบับอื่นของไทยนอกจากความตกเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีการใช้สิทธิประโยชน์สูงรองลงมา ได้แก่ อันดับ 2 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ACFTA) มูลค่า 22,059.90 ล้านดอลลาร์ และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ เป็น 93.81 % 

โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุด 5 อันดับแรกภายใต้ความตกลง ACFTA ได้แก่ ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง และโพลิเมอร์ของเอทิลีน 

ส่วนอันดับ 3 เป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 6,344.09 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 77.66 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุดภายใต้ความตกลงฯ ยังคงเป็น เนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง 

“ผู้ประกอบการหากต้องการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA โดยเฉพาะเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า และขั้นตอนการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านระบบการให้บริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัล”

รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ย. 2566 ไทยมีมูลค่าการ ส่งออกภายใต้สิทธิฯ ACFTA ไปจีน 22,059.90 ล้านดอลลาร์ ลดลง 5.85% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าโดยมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 93.81% ของมูลค่าการส่งออก

สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญไปจีนโดยใช้สิทธิฯ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน-จีน (ACFTA) ไปจีน มูลค่า 22,059.90 ล้านดอลลาร์ จำแนกเป็นสินค้าเกษตร 11,958.37 ล้านดอลลาร์สัดส่วน 54.21%  และอุตสาหกรรม 10,101.53 ล้านดอลลาร์ สัดส่วน 45.79% ของรายการสินค้าส่งออกใช้สิทธิฯ ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ด้านสินค้านำเข้าจากจีน 10 อันดับ ที่ไม่ได้อยู่การขอสิทธิFTA  ได้แก่ สมาร์ทโฟน ยานยนต์ที่ ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล็ปท็อป/โน้ตบุ๊ก ของอื่น ๆ ทำด้วย เหล็กหรือเหล็กกล้า ธาตุเคมีที่โด๊ปแล้วสำหรับใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์ วงจรพิมพ์ ผลิตภัณฑ์แผ่นรีดทำด้วยเหล็กหรือ เหล็กกล้าไม่เจืออื่น ๆ เครื่องอุปกรณ์สำหรับการรับส่งสัญญาณ ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์