อคส. เตรียมปักหมุด ตลาดเอเชียกลาง ทาจิกิสถาน ขอ cross border warehouse

อคส. เตรียมปักหมุด ตลาดเอเชียกลาง ทาจิกิสถาน ขอ cross border warehouse

อคส.หารือเอกอัครราชฑูตวิสามัญ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ขอตั้ง cross border warehouse เปิดทางสินค้าไทยเข้าตลาดเอเชียกลาง

นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุตผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้อคส.และผู้บริหาร พร้อมผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับ Mr. Ardasher Qodiri เอกอัครราชฑูตวิสามัญ สาธารณรัฐทาจิกิสถานถึงความเป็นไปได้ในการตั้ง cross border warehouse คล้ายคลึงกับที่ อคส ได้เริ่มโครงการที่ จีนและพม่า พร้อมให้สิทธิ free trade zone เพื่อรองรับการค้าในกลุ่มประเทศเอเชียกลาง 6 ประเทศ ขนาดประชากรมากกว่า 100 ล้านคน พร้อมเชื่อมต่อขยายไปยังตลาดรัสเซีย

ทั้งนี้จะเปิดโอกาสการค้าโดยตรงจากไทย ไม่ต้องผ่านประเทศคนกลาง ทั้งนำเข้าและส่งออก โดย อคส. พร้อมผนึก ปตท ในการกำหนดเส้นทางการขนส่งและร่วมลงทุน โดยได้มอบหมายให้ รักษาการ รองผู้อำนวยการ กฤษณะรักษ์ ใจดี เป็นผู้พิจารณาดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศต่อไป

สำหรับ Cross border warehouse สามารถใช้เป็น “คลังพักสินค้า” เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เอกชนไทย เนื่องจากสินค้าสามารถส่งเป็นตู้ใหญ่เต็มตู้ ลดต้นทุนการขนส่ง และหากตั้งในเขต Free trade zone จะสร้างความคล่องตัวในการจัดการพิธีศุลกากรอีกด้วย ทั้งนี้ หากพื้นที่ใดมีการขยายตัวตลาดออนไลน์สูง สามารถปรับเปลี่ยนเป็น Cross border e-commerce warehouse ด้วยระบบ fulfillment รองรับ platform ต่างๆได้ทันที

 

นอกจากนี้ หากได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจะสามารถกำหนดค่าพักสินค้าในอัตราที่ต่ำ หรือ ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนอุดหนุนผู้ประกอบการของตนเอง  โดยองค์การคลังสินค้า ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวแล้ว โดยมีพื้นที่เป้าหมายในประเทศจีน (หนานซา อู่ฮั่น และคุณหมิง) และ ประเทศเมียนมาร์ (ทวาย) ซึ่งหากสามารถดำเนินการในประเทศทาจิกิสถานจะครอบคลุมอีก 5 ประเทศ คือ อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน มีประชากรรวมกว่า 100 ล้านคน

ทั้งนี้ ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรโดยผ่านประเทศคนกลางไปยังทิจิกิสถาน เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำตาล และนำเข้าฝ้ายปริมาณกว่า 1 ล้านตันผ่านประเทศคนกลาง จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะสามารถเจรจาการค้ากันโดยตรงเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ ปตท ยังมีการลงทุนในประเทศคาซัคสถานแล้ว และทางกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะเปิดสำนักงานฑูตพาณิชย์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวอีกด้วย