“กุ้งไทย”เร่งทวงคืนส่งออกตลาดหสรัฐ มุ่งแก้ 4โรครุมปี67ชี้ผลผลิต2.9แสนตัน

“กุ้งไทย”เร่งทวงคืนส่งออกตลาดหสรัฐ   มุ่งแก้ 4โรครุมปี67ชี้ผลผลิต2.9แสนตัน

สมาคมกุ้งไทย ชี้ปี 66 ผลผลิตกุ้งทรงตัว 2.8 แสนตัน เป้าปีหน้า 2.9 แสนตัน ขณะแนวโน้มตลาดสหรัฐฟื้นหลัง4ประเทศผู้ผลิตถูกฟ้องทุ่มตลาดร้องรัฐ เร่งแก้ปัญหา 4 โรครุม เพิ่มอัตรารอด ลดต้นทุน ส่งเสริมตลาดภายใน

นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2566 ผลผลิตกุ้งเลี้ยงโดยรวม อยู่ที่ 2.8 แสนตัน เท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคากุ้งตกต่ำ สวนทางต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการลงกุ้ง เพื่อรอดูสถานการณ์ รวมถึงปัญหาโรคและสภาพอากาศแปรปรวน พร้อมแนะเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพการผลิต และส่งเสริมการตลาดภายในให้เข้มแข็ง เตรียมรับมือผลกระทบราคากุ้งตกต่ำทั่วโลก

 

“กุ้งไทย”เร่งทวงคืนส่งออกตลาดหสรัฐ   มุ่งแก้ 4โรครุมปี67ชี้ผลผลิต2.9แสนตัน

ทั้งนี้ ผลผลิตกุ้งดังกล่าว แยกเป็นจากภาคใต้ตอนบน 33% จากภาคตะวันออก 25 % ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน 20% จากภาคกลาง 12 % ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย 10% ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.07 ล้านตัน ลดลง 1% โดยจีนผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นมาก เอกวาดอร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต่ำกว่าที่คาด ขณะที่ประเทศทางเอเชีย ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซียผลิตกุ้งลดลงทุกประเทศ คาดปี2567 ผลผลิตกุ้งโลกจะลดลงประมาณ 2%

“กุ้งไทย”เร่งทวงคืนส่งออกตลาดหสรัฐ   มุ่งแก้ 4โรครุมปี67ชี้ผลผลิต2.9แสนตัน

 

ส่วนการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ปริมาณ 109,663 ตัน มูลค่า 36,284 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกปริมาณ 120,310 ตัน มูลค่า 42,341 ล้านบาท ปริมาณลดลง 9 %ส่วนมูลค่าลดลง 14 %

“เกษตรกรจำเป็นต้องปรับตัว ด้วยการลดต้นทุนให้ได้ ทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนแฝง ที่เกิดจากความเสียหายจากโรค เพิ่มผลิตภาพการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงสร้างตลาดภายในให้เข้มแข็ง เพื่อเตรียมรับผลกระทบจากราคากุ้งตกต่ำในปีหน้า "

โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อกระจายสินค้าที่คงคุณภาพความสดของกุ้งไทยไปถึงผู้บริโภค ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวคาดการณ์ผลผลิตปีหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 2.9 แสนตัน

 

นอกจากนี้ ปี 2567 กุ้งไทยมีโอกาสส่งออกไปสหรัฐมากขึ้น หลังประเทศผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ของโลก ทั้ง เอกวาดอร์ อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ถูกสหรัฐ เรียกสอบสวนการทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duty : AD) การอุดหนุนการส่งออก (Countervailing Duty : CVD) เพื่อเรียกเก็บภาษีตอบโต้ คาดว่าจะมีผลิตในปีหน้า สถานการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสี่ยงกับผู้นำเข้าของสหรัฐฯ ขณะที่ทั้ง 4 ประเทศข้างต้น ส่งออกไปยังตลาดอื่นทดแทน อาทิ จีน และญี่ปุ่น เพื่อลดความเสี่ยง ทำให้สหรัฐ หันมานำเข้ากุ้งจากไทยที่เป็นผู้ผลิตชั้นนำและผลิตกุ้งคุณภาพสูงมากขึ้น

โดยสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งไทย ได้ส่งเสริมเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำร่องยกระดับการเลี้ยงกุ้งไทยสู่มาตรฐานสูงสุด คือ Aquaculture Stewardship Council (ASC) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สหรัฐ ใช้เป็นข้อกำหนดในการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ

 

ทั้งนี้สมาคมกุ้งฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งเจรจากับสหภาพยุโรป (EU) ในการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ให้กับสินค้ากุ้ง เนื่องจากปัจจุบันไทยส่งออกกุ้งไป EU ได้เพียง 900 ตันต่อปีเท่านั้น จากที่เคยส่งออกได้ 6หมื่นตันต่อปี ขณะเดียวกัน ยังขอให้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดในกุ้ง เช่น โรคกุ้งตายด่วน หรือกลุ่มอาการตายด่วน (Shrimp Early Mortality Syndrome : EMS) อาการขี้ขาว (White Feces Syndrome WFS) โรคตัวแดงดวงขาว (White Spot Disease : WSD) และโรคหัวเหลือง (Yellow-head Virus : YHV) เป็นต้น

“อุตสาหกรรมกุ้งไทยกำลังเผชิญกับ Perfect Strom ประกอบด้วยปัญหา Over Supply (การบริโภคต่ำ) ต้นทุนการผลิตสูง ราคากุ้งตกต่ำ และโรคกุ้ง สมาคมฯและเกษตรกรจะทำหนังสือขอให้รัฐบาลยกวาระเหล่านี้เป็นวาระแห่งชาติ ต้องจัดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทวงคืนแชมป์ส่งออกกุ้งโลกกลับมาให้ได้”