“ปฏิญญาเวียงจันทน์”เพื่อความมั่นคง ด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง

“ปฏิญญาเวียงจันทน์”เพื่อความมั่นคง   ด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง

ไทยร่วมประกาศเจตนารมณ์ “ปฏิญญาเวียงจันทน์” พัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างหวังสร้างความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง

“ลุ่มแม่น้ำโขง”เป็นอนุภูมิภาคที่มีความสำคัญทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติ ในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นําลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติลาว เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ร่วมกับผู้นำรัฐบาลจากประเทศสมาชิกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วม ว่า

ที่ประชุมได้ รับรองปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 เพื่อแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยมุ่งเน้นการดําเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาและต่อยอดผลการดำเนินงานตามที่ประเทศสมาชิกได้เห็นชอบร่วมกันจากผลการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่างตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งพบว่า มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันในการจัดการความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการอนุรักษ์ การใช้ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

“ปฏิญญาเวียงจันทน์”เพื่อความมั่นคง   ด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง “ปฏิญญาเวียงจันทน์”เพื่อความมั่นคง   ด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง “ปฏิญญาเวียงจันทน์”เพื่อความมั่นคง   ด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง

 

ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการเติบโตด้านเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดและทั่วถึงบนฐานการพัฒนาพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้เกิดความยั่งยืน 

 

โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ความมั่นคงทางอาหาร น้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการการดำเนินงานร่วมกัน ภายใต้การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมีธรรมาภิบาล

โอกาสนี้ ประเทศไทยเน้นย้ำถึงความพร้อมในการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ อาเซียน ความร่วมมือแม่น้ำโขง - แม่น้ำล้านช้าง ความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลี หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง - สหรัฐ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยใช้จุดเด่นจากความร่วมมือในกรอบต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกันในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนด้วย

สำหรับสาระสำคัญของ ปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023  กล่าวถึง ความสำคัญของการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มน้ำโขง การแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 ที่มีประสิทธิภาพ และบทบาท  ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการขับเคลื่อนการเป็นองค์กรด้านน้ำที่มีความเข้มแข็งในระดับภูมิภาค พันธกรณี ที่เชื่อมโยงจากการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่างครั้งที่ผ่านมา 

โดยในลุ่มน้ำโขงตอนล่างนั้น มีโอกาสสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำ อาทิ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ การชลประทาน การเดินเรือและเรื่องอื่น ๆ  

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการดำเนินการวางแผนระดับภูมิภาคเชิงรุก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง อย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง พ.ศ. 2564-2573 โดยได้ มอบหมายคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการประสานงานและติดตามการดำเนินงานตามปฏิญญาฉบับนี้