‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

วิกฤตการณ์ “เมล็ดโกโก้ขาดแคลน” ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโกโก้ไม่น้อย อย่างในประเทศไทย เห็นแบรนด์สินค้ามีการ “ปรับราคา” เมนูเครื่องดื่มขึ้น

โดยเฉพาะ “เต่าบิน” ตู้ชงเครื่องดื่มอัตโนมัติได้ประกาศขอปรับราคาครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโกโก้เพิ่มขึ้นเมนูละ 5 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่ 25 เม.ย. พร้อมระบุว่าที่ผ่านมาบริษัทพยายามคงราคาเดิมไว้เพื่อไม่ให้กระทบลูกค้าผู้มีอุปการคุณทุกคนแล้ว

กรุงเทพธุรกิจชวนสำรวจ “เต่าบิน” ยอดฮิต มีเครื่องดื่มกี่เมนูให้บริการลูกค้า และสถานการณ์ขายที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

ปี 2566 เต่าบินมีตู้ชงเครื่องดื่มอัตโนมัติให้บริการลูกค้า 6,392 ตู้ เพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ตู้ ขณะที่เมนูเครื่องดื่มมีมากกว่า 200 รายการ มีความหลากหลายทั้งเครื่องดื่มร้อน เย็น และปั่น ด้านเมนูพระเอกและบริษัทต้องการโปรโมท เช่น กาแฟเครื่องดื่มผสมโซดา และเครื่องดื่มผสมโกโก้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย ทุกสายอาชีพ รวมถึงมีเมนูที่รังสรรค์มารับเทศกาลด้วย

เต่าบิน ขายเมนูเครื่องดื่มไหนมากสุด? คำตอบคือ เครื่องดื่มโซดาและอื่นๆ สัดส่วน 28% ตามด้วยหาแฟ และนมสัดส่วนเท่ากันที่ 26% ชา 14% เครื่อดื่มชูกำลัง 4% และเครื่องดื่มโปรตีน 2%

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

ทว่า เมนูที่บริษัทต้องการโปรโมท กระตุ้นให้เกิดการ “ดื่มซ้ำ” ได้แก่ กาแฟ ที่อยากให้ลองแก้วแรกก่อน ซึ่งคุณภาพการชง “เป๊ะทุกแก้ว” รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลังผสมโซดา “เต่าทรงพลัง” ราคา 15 บาทเข้าถึงได้ เพราะเทียบแบบขวดราคาอยู่ที่ 12 บาท ทำให้บริษัทมีโปรโมชันปั๊มฐานลูกค้าใหม่ด้วยการ ดื่มฟรี หรือราคาแก้วละ 1-2 บาทบ้าง

ตามแผน “เต่าบิน” ต้องการมีตู้ชงเครื่องดื่มอัตโนมัติแตะ “1 หมื่นตู้” ภายในปี 2567 แต่ยังห่างเป้าอยู่หลายพันตู้ เหตุเพราะที่ผ่านมา ต้องมีการสแกนทำเลทองใหม่ จุดไหนไม่ทำเงิน ต้องโยกย้ายใหญ่ถึงพันจุด รวมถึงการปรับแมคคานิกตู้ให้นิ่งมีความเสถียร และเสียน้อยลง จากแรกๆ ตู้เสียบ่อย รวมถึงการเติมวัตถุดิบ เรียงเมนูเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อเสิร์ฟลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

อย่างที่ผ่านมา เมื่อขาย 280 แก้วหรือยอดขาย 6,000 บาท จะเติมวัตถุดิบ มีค่าขนส่ง ค่าใช้จ่าย 300-400 บาท ปัจจุบันการเรียงสินค้าใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลการขายมากขึ้น ทำให้ 400 แก้ว ยอดขาย 1 หมื่นบาทเติมวัตถุดิบครั้งนึง ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายลดเหลือ 200 บาท เรียกว่าต้นทุนโอเปอเรชันลดลงกึ่งหนึ่ง

การขึ้นราคาสินค้าเพราะต้นทุนขึ้น เป็นการรักษา “อัตรากำไร” ของบริษัทด้วย เพราะปีที่ผ่านมา “เต่าบิน” กำไรหดตัวราว 50% ด้วย จากหลายปัจจัยข้างต้น รวมถึงการทุ่มงบตลาด สื่อสารผ่านสื่อโฆษณานอกบ้านหรือป้ายบิลบอร์ด ในกทม. ทว่า ผลลัพธ์ด้านยอดขายไม่ดีอย่างที่ตั้งใจ ปีนี้เลยแปร “งบสื่อสารการตลาดหลายสิบล้านบาท” ไปสู่การทำโปรโมชันกระตุ้นยอดขายแทน รวมถึงการยกระดับตู้ให้สามารถเพิ่มลูกเล่นกับแคมเปญต่างๆได้มากขึ้น

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

 กลยุทธ์ผลักดันรายได้ของเต่าบิน ยังเห็นการเปิดคาเฟ่อย่างต่อเนื่อง มีร้านต้นแบบที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ซึ่งเป็นเคาน์เตอร์อัตโนมัติที่จะสร้างความว้าว! ให้ตลาด ยังมีการเพิ่มเมนูใหม่ ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มที่เพิ่มท็อปปิงได้ รวมถึงเต่าบินคาเฟ่ X กิ้งก่า สถานีชาร์จรถไฟฟ้าอีก 3-4 แห่ง

ในประเทศรุกหนัก ต่างประเทศก็เช่นกัน ซึ่งมีการขยายตู้ชงเครื่องดื่มอัตโนมัติไปยังประเทศออสเตรเลีย 37 ตู้ มาเลเซีย 160 ตู้ รวมถึงจะส่งมอบตู้เพิ่มเติมไปยังประเทศฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสิงคโปร์ อีกทั้งมี “บิ๊กดีล” รออยู่ หากบรรลุการเจรจาจะมีสาขาเครือขายในต่างแดนมากขึ้น การขยายธุรกิจเป็นไปได้รวดเร็ว

‘เต่าบิน’ ขึ้นราคาเมนูโกโก้ 5 บาท  หลังแบกต้นทุนสูง คู่สูตรรักษากำไร

อย่างไรก็ตาม จากโกโก้แพงจนสินค้าขึ้นราคา สิ่งที่ผู้บริโภคถามหา หากต้นทุนวัตถุดิบลด ราคาสินค้าจะปรับลงหรือไม่ ต้องติดตาม