‘อเด็คโก้’ ส่องทิศทางแรงงานยุคใหม่ ‘Hybrid Work - Skill Based’ สำคัญ

‘อเด็คโก้’ ส่องทิศทางแรงงานยุคใหม่ ‘Hybrid Work - Skill Based’ สำคัญ

โลกยุคใหม่ หลังภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จากทักษะ (Skill) ดิจิทัล ที่ทั้งองค์กรและแรงงานต้องเพิ่ม ปัจจุบันสิ่งที่กลายเป็นเทรนด์และกำลังมาแรงมาก คือ ทักษะที่หลากหลาย และรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote Work

โลกยุคใหม่ หลังภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จากทักษะ (Skill) ดิจิทัล ที่ทั้งองค์กรและแรงงานต้องเพิ่มปัจจุบันสิ่งที่กลายเป็นเทรนด์และกำลังมาแรงมาก คือ ทักษะที่หลากหลาย และรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote Work รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ใส่ใจเรื่อง ESG และ Diversity & Inclusion

แบบที่ใช่...โลกการทำงานยุคใหม่

นางธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า จากการฟื้นตัวของหลายธุรกิจ ทำให้ตลาดแรงงานกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า Gig Economy หรือการรับงานเป็นโปรเจค รวมทั้งรูปแบบการจ้างงานแบบเป็นสัญญาจ้างตามระยะเวลา ฟรีแลนซ์ หรือ Outsourcing มากขึ้น แทนที่จะรับเป็นพนักงานประจำ เพื่อให้องค์กรมีความคล่องตัว และได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลตามต้องการ

‘อเด็คโก้’ ส่องทิศทางแรงงานยุคใหม่ ‘Hybrid Work - Skill Based’ สำคัญ

นอกจากนี้ ในการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ครั้งล่าสุด ที่ทางซีอีโอของอเด็คโก้ ได้ร่วมประชุม พบข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ การพูดคุยกันมาในส่วนของการทำงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote Work ซึ่งบางประเทศประสบปัญหา เพราะความไม่พร้อมด้านนโยบาย ในขณะที่ทิศทางของทาเลนซ์ยุคใหม่ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

อเด็คโก้ ได้ทำผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยและกลุ่ม APAC รวม 9 ประเทศ ที่ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฮ่องกง นิวซีแลนด์ อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ เกี่ยวกับความพึงพอใจด้านเงินเดือนและสวัสดิการขององค์กรที่ตนเองสังกัด และความรู้สึกต่อเทรนด์การทำงานต่าง ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา

 

งานสายเทค เงินเดือนพุ่งเทียบชั้นซีอีโอ

หากพูดถึงอัตราเงินเดือน เงินเริ่มต้นของตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก ในขณะที่การเติบโตของสายงานเทค ทิจิทัลยังคงมาแรง โดยเฉพาะด้าน Software Engineer ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี คนทำงานในระดับประสบการณ์ 0-3 ปี เงินเดือนสูงสุดถึง 100,000 บาท จากเดิมที่มีคนเคยได้ 80,000 บาทในปีที่ผ่านมา เรียกว่าแตะเงนเดือนระดับซีอีโอเลยทีเดียว เนื่องจากยังเป็นสายงานที่ขาดแคลน และมีความต้องการในตลาดสูง

ส่วนเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง อาจสูงถึง 600,000 บาทหรือมากกว่า เช่น Medical Director ในธุรกิจ Healthcare หรือ ตำแหน่ง Managing Director ในอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งสองธุรกิจเติบโตเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจด้านสุขภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งระดับสูงอื่น ๆ เช่น Chief Digital Officer และ Chief Technology Officer ที่เงินเดือนอาจสูงถึง 500,000 บาทหรือมากกว่า

พนง.องค์กรเกินครึ่งพร้อมเปลี่ยนงาน

ขณะที่โลกยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงหลาย อย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว แรงงานที่เข้ามาซัพพอร์ตในตลาด ก็ต้องมีทักษะที่ตอบสนอง เพราะฉะนั้น คนที่ทักษะดีซึ่งถือเป็นทาเลนต์ที่ตลาดต้องการจึงมีทางเลือกมากขึ้น และเกิดการเปลี่ยนงานในตลาดมากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า 36% เป็นกลุ่มที่พร้อมเปลี่ยนงานและมองหางานใหม่ๆ เสมอ และอีก 54% ที่นั่งเฉยๆ แต่ไม่เฉย นั่นคือ หากมีข้อเสนอที่ดี ฉันก็พร้อมไป จะเหลือเพียงแค่ 10% ที่อยู่นิ่งๆ กับองค์กร เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรและทีมเอชอาร์ต้องตระหนัก และหาวิธีในการดึงดูด

การรักษาคนที่เป็นทาเลนต์ไว้กับองค์กรไม่ใช่เรื่องงาน เพราะความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของพนักงาน ไม่ได้มีเพียงเงินเดือนหรืองานที่ใช่สำหรับเขาเท่านั้น สิ่งที่แรงงานยุคใหม่มองหาจากองค์กร จะมีทั้งเรื่องของอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น โดยแรงงานไทยต้องการเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 6% ส่วนแรงงานเวียดนามต้องการเพิ่ม 23% อินเดีย 21% และหากออฟเฟอร์เงินเดือนได้โดนใจพี่ไทยพร้อมย้ายทันที 59% อินเดีย 91% มาเลเซีย 72% สิงคปร์ 57% ฮ่องกง 37%

นอกจากเรื่องของเงินเดิือน การเทรนนิ่ง การพัฒนาทักษะของแรงงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มทาเลนต์ต้องการ รวมถึงเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร การให้ความใส่ใจกับนโยบายด้าน ESG (Environment, Social, และ Governance) และที่ขาดไม่ได้สำหรับทาเลนต์รุ่นใหม่ คือ การทำงานที่ยืดหยุ่น หรือ Hybrid Woking รวมทั้งการทำงานเป็นทีม การแบ่งปันความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การให้ความสำคัญกับ Diversity & Inclusion การให้โอกาสคนเท่าๆ กัน และยังต้องใส่ใจการดูแลทั้งสุขภาพใจและกายของพนักงานด้วย

นางธิดารัตน์ ย้ำอีกว่า องค์กรยุคใหม่ที่ต้องการเติบโต จะมองหาแค่พนักงานที่มีประสบการณ์อย่างดียว ไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับยุคนี สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ Skill Based ทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของสายงานนั้นๆ เพื่อทำให้องค์กรได้รับผลและประสิทธิภาพตามที่หวัง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เด็กๆ รุ่นใหม่ จะมี Portfolio ของตัวเองมาโชว์ในการสมัครงาน

ในขณะเดียวกัน องค์กรก็ต้องจัดทัพ ปรับองค์กรสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ลูกค้า ที่มีความต้องการเปลี่ยนไปด้วย เนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ทำให้หลายธุรกิจปรับตัว ปรับรูปแบบ เพราะฉะนั้นต้องคิดร่วมกับลูกค้า เพื่อหาโซลูชั่นที่ใช่สำหรับเขา จึงจะสามารถดึงดูดงาน และสร้างองค์กรให้เติบโตได้ต่อไป