'อมรินทร์' หาสูตรโต M&A ร่วมทุน ลุยเปิด 'นายอินทร์' ใหญ่สุดที่ 'วัน แบงค็อก'

'อมรินทร์' หาสูตรโต M&A ร่วมทุน ลุยเปิด 'นายอินทร์' ใหญ่สุดที่ 'วัน แบงค็อก'

"อมรินทร์" เปลี่ยนชื่อบริษัท สร้างภาพจำใหม่บริษัทจะขับเคลื่อนธุรกิจไปไกลกว่าสิ่งพิมพ์ ผลิตหนังสือ มุ่งสู่การเติบโตใหม่ๆ ผลักดันสู่องค์กรชั้นนำด้านการสื่อสารครบวงจร ควักเงินลงทุน 2,100 ล้านบาท หาโอกาส M&A ร่วมทุน เล็งเปิดร้าน "นายอินทร์" ใหญ่สุดในไทยที่ "วัน แบงค็อก"

ภาพจำของ “เครืออมรินทร์” เป็นหนึ่งผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีธุรกิจร้านหนังสือ ขึ้นแท่น “รายใหญ่” ของประเทศไทย

ทว่า เส้นทางเดิน 47 ปี เผชิญความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดร้านหนังสือ “นายอินทร์” ปั้นกิจกรรมออนกราวด์ “บ้านและสวนแฟร์” ทุ่มเงินหลัก “พันล้านบาท” เข้าประมูลทีวีดิจิทัล เป็นเจ้าของช่อง “อมรินทร์ ทีวี 34” ประสบภาวะ “ขาดทุน” เมื่อสื่อเก่าโดนดิสรัปจากสื่อใหม่

จากนั้นทุน “วัฒนภักดี” ที่มีเจ้าสัวน้อย “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” เข้ามาเพิ่มทุน ปิดดีลเป็นเจ้าของกิจการ

ปี 2566 ก้าวสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อบริษัท เปลี่ยนชื่อเป็น “อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์” พร้อมวางโครงสร้างธุรกิจ มุ่งสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว

\'อมรินทร์\' หาสูตรโต M&A ร่วมทุน ลุยเปิด \'นายอินทร์\' ใหญ่สุดที่ \'วัน แบงค็อก\' “การเปลี่ยนชื่อบริษัท ปรับตัวทางธุรกิจครั้งนี้ เราต้องการให้รับรู้ว่า อมรินทร์ไปไกลกว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์ และมุ่งสู่การเติบโตใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้เป็นองค์กรชั้นนำด้านการสื่อสารครบวงจร หรือออมนิมีเดีย ออมนิแชนแนล” ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด(มหาชน) ให้เหตุผล

พร้อมกันนี้ บริษัทได้วางโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ธุรกิจสำนักพิมพ์ จะนำเสนอหนังสือน่าอ่านผ่านมัลติแพลตฟอร์ม ทั้งหนังสือ อีบุ๊ก การอ่านเป็นตอน และหนังสือเสียง เพื่อให้หนังสือ “อยู่ใกล้ตัว” นักอ่าน ส่งเสริมสังคมรักการอ่านทุกเพศทุกวัย เบื้องต้น วางเป้าหมายเพิ่มการผลิตหนังสือ 500 ปก และหนังสือดิจิทัลราว 770 เรื่องต่อปี เป็นต้น 2.ธุรกิจจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ และดิจิทัล คอนเทนต์ ภายใต้บริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ ที่มีเครือข่ายร้านพันธมิตรกว่า 700 แห่งทั่วไทย ร้าน “นายอินทร์” 111 สาขา รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลูกค้ากว่า 26 ล้านรายต่อปี

3.ธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ให้บริการได้ตั้งแต่การพิมพ์หนังสือเล่มเดียวไปจนถึงหลักล้านเล่ม รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และจะมีตราสัญลักษณ์ AM Green ตอบโจทย์ภารกิจรักษ์โลก 4.ธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่ทุ่มทุน 300 ล้านบาท นำเทคโนโลยีมาเสริมแกร่งการนำเสนอคอนเทนต์ ตอบโจทย์ผู้ชม และ5.ธุรกิจมีเดียและอีเวนต์ ทรานส์ฟอร์มจาก “สายงานนิตยสาร” มาสู่การประสานสื่อดั้งเดิมและออนไลน์ การจัดงานแฟร์ เจาะกลุ่มเป้าหมาย

\'อมรินทร์\' หาสูตรโต M&A ร่วมทุน ลุยเปิด \'นายอินทร์\' ใหญ่สุดที่ \'วัน แบงค็อก\' เพื่อต่อยอดการเติบโตทั้ง 5 ธุรกิจ บริษัทยังวางงบรวม 2,100 ล้านบาท เพื่อลงทุนภายในปี 2569 แบ่งเป็น 800 ล้านบาท เพื่อหาโอกาสและขยายธุรกิจใหม่ โดยการร่วมทุน หรือซื้อกิจการ(M&A)ในธุรกิจหลัก และธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน จากที่ผ่านมาได้ทุ่มเงินกว่า 200 ล้านบาท ซื้อหุ้นเว็บไซต์ Dek-D จำนวน 51% และถือหุ้น “คาโดคาวะ อมรินทร์” เจาะตลาดนิยาย การ์ตูนญี่ปุ่น, 600 ล้านบาท เพื่อซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศ และพัฒนาคอนเทนต์ในประเทศไทย, 250 ล้านบาท ใช้พัฒนาที่ดิน และโครงสร้างพื้นฐานให้บริษัท, 250 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ขยายธุรกิจ และ 200 สำหรับลงทุนในธุรกิจโรงพิมพ์

“เราไม่ได้ร่วมทุน หรือทำเอ็มแอนด์เอมากนัก แต่การทำธุรกิจยุคนี้เปลี่ยนไป ต้องมองหาโอกาสโตก้าวกระโดด”

อีกไฮไลต์ จะเห็นการเปิดร้าน “นายอินทร์” ใหญ่สุดในประเทศไทยที่โครงการ “วันแบงค็อก” มูลค่า “แสนล้านบาท” โดยร้านหนังสือดังกล่าวจะมีพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร(ตร.ม.) ลงทุนราว 20-30 ล้านบาท จากปกติร้านใหญ่สุดขนาด 500-600 ตร.ม.

\'อมรินทร์\' หาสูตรโต M&A ร่วมทุน ลุยเปิด \'นายอินทร์\' ใหญ่สุดที่ \'วัน แบงค็อก\' สำหรับธุรกิจอีเวนต์ จากนี้ไปจะเห็นงาน “บ้านและสวนแฟร์” บุกตลาดต่างประเทศ นำร่องเวียดนาม เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโต ทำให้คนต้องมีที่อยู่อาศัย และสินค้าแต่งบ้าน นอกจากนี้ จะเห็นงานแฟร์ใหม่ เช่น กินดีอยู่ดี บ้านและสวนPETS FAIR ร่วมกับ Dek-D National Geographic ฉบับภาษาไทย จัด Education Fair

ส่วนอีเวนต์จัดจัดทั้งงานสุดสัปดาห์ คอนเสิร์ตและแฟนมีท ประเดิม “ซันนี่” หรือ เกวลิน บุญศรัทธา นักร้องชาวไทยเชื้อสายจีนที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งเริ่มจัดขนาดเล็ก มีคนเข้าร่วมหลักพันก่อน รวมถึงการจัด “ฟรีคอนเสิร์ต” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฯ

“งบประมาณ 2,100 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนใหญ่ในรอบ 9 ปี ต่อจากการประมูลทีวีดิจิทัล จากแผนดังกล่าวบริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 30% หรือภายในปี 2569 จะมีรายได้แตะระดับ 6,000 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 4,274 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 400 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมา”