แนวโน้มการลงทุนไตรมาส 2/65 - หลายปัจจัยเสี่ยงจำกัดอัพไซต์

แนวโน้มการลงทุนไตรมาส 2/65 - หลายปัจจัยเสี่ยงจำกัดอัพไซต์

หลายปัจจัยเสี่ยงจำกัดอัพไซต์ไตรมาส 2/65 เรายังคงมุมมองบวกต่อภาพการลงทุนหุ้นไทยในกรอบ 6-12 เดือน อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองระมัดระวังต่อภาพการลงทุนในช่วงไตรมาส 2/65 จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้อัพไซต์ของหุ้นในช่วงดังกล่าวมีจำกัด

ได้แก่ 1) การปรับประมาณการกำไรบจ. เนื่องจากเงินเฟ้อและต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นจากปัญหาความตึงเครียดในยูเครน 2) ความกังวลต่อสัญญาณการเกิดเศรษฐกิจถดถอยที่มาจากตลาดพันธบัตร 3) การขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ 4) การปรับลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ 5) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย (จากราคาพลังงานที่สูง) ซึ่งอาจทำให้เงินทุนไหลเข้าเกิดการชะลอตัว ปัจจัยทั้งหลายข้างต้นเป็นลบต่อบรรยากาศลงทุน และทำให้นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวัง
 

การเกิดเศรษฐกิจถดถอย เป็นไปได้แต่ไม่ใช่เร็วๆนี้ แม้จะมีสัญญาณของการเกิด Inverted yield curve (ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนการเกิดเศรรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามเรามองแม้จะมีความเป็นไปได้แต่ไม่ใช่ในเร็วๆนี้ เนื่องจากตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้หากย้อนไปดูวัฏจักรของการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในอดีตที่ประสบความสำเร็จในการชะลอระดับเงินเฟ้อและความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ (ช่วง ค.ศ.1983-84 และ 1994-95) ตลาดหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะแกว่งตัวออกข้าง (sideways) ดังนั้นหากไม่มีความเสี่ยงขั้นรุนแรงถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เรามองมีความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นโลกจะเคลื่อนไหวในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน จนกว่าวัฎจักรของการขึ้นดอกเบี้ยจะถึงจุดสูงสุด ตลาดจึงจะเริ่มกลับสู่การเคลื่อนไหวเชิงบวกอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เวลา 1-1.5 ปี

 

 

 

เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในและการเปิดประเทศ อาทิ ธนาคาร ค้าปลีก สื่อสาร ขณะที่หุ้นโภคภัณฑ์ เก็งกำไรได้เฉพาะหุ้นที่ผลประกอบการยังไม่ผ่านจุดสูงสุด (เหลือเพียง IVL และ TOP) โดยหุ้นเด่นที่เรามองซื้อ/ทยอยสะสมในช่วงไตรมาส 2/65 ได้แก่ BBL, TIDLOR, CPN, CENTEL, BJC, OSP, TRUE, ONEE, IVL, TOP / ขณะที่หุ้นที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของเรา แต่มองว่าน่าสนใจ ได้แก่ MAKRO, MAJOR, TKN, SPA

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น) 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 4หุ้นเด่นไตรมาส 2/65 ที่เราชอบได้แก่ BBL, TIDLOR, CPN, OSP, TRUE, ONEE, TOP และ IVL 5) ขณะที่หุ้นที่สามารถเลือกเก็งกำไรในช่วงนี้ ได้แก่ KCE, HANA, PJW, TTCL, THREL, BLA, IND, MAJOR, WORK, TH, ERW, MINT, CENTEL ,SHR, AAV เป็นต้น

ภาพรวมกลยุทธ์: คาดตลาดแกว่งตัวกรอบแคบก่อนเข้าใกล้หยุดยาว แต่ประเมินธนาคารและสื่อสารยังเป็นกลุ่มที่ประคองให้บรรยากาศการเก็งกำไรเป็นบวก อย่างไรก็ตามการปรับประมาณการกำไรบจ.ที่น่าจะทยอยเกิดขึ้นในช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/65 ทำให้มองการขึ้นของตลาดเป็นจังหวะในการทยอยลดน้ำหนักหรือแบ่งขายทำกำไร //หุ้นแนะนำ: BBL*, IND*, ASW*, OSP*

แนวรับ: 1,675-1,685 / แนวต้าน : 1,705-1,720 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

ประเด็นการลงทุน

ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจเพิ่มขึ้นเหนือ 50 ครั้งแรกในรอบ 1 ปี – ธปท.รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมี.ค. 65 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50.7 โดยอยู่ที่ระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปีจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ โดยความเชื่อมั่นในภาคการผลิตปรับเพิ่มขึ้น นำโดยกลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

SCB – แต่งตั้ง “กฤษณ์ จันทโนทก” นั่งซีอีโอคนใหม่ มีผล 1 ส.ค. 65 ขณะที่ “อาทิตย์ นันทวิทยา” คุม SCBX เต็มตัว  

ORI – ผลงานไตรมาส 1/65 โกยยอดขาย 8 พันล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่ 8 แห่งในไตรมาส 2/65 มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท รับกำลังซื้อฟื้น

Opportunity day – 4 เม.ย. UREKA, ATP30, TKS, NER / 5 เม.ย. CEN, GLOCON, YGG, DDD, UBIS, RATCH / 7 เม.ย. MVP, ECF, BRR, UBE, SALEE, OISHI, FN / 8 เม.ย. AHC, FVC, MST, NOK

มาตรการกำกับดูแลใหม่ - มาตรการกำกับดูแลที่เข้มข้นขึ้นจากเดิม 1 ขั้น รวมถึงการหยุดพักซื้อขาย 1 วัน สำหรับ หุ้นที่เข้าเกณฑ์กำกับดูแลขั้นที่ 3 เริ่มมีผล 4 เม.ย.

 

ประเด็นติดตาม: 5 เม.ย. – Thailand CPI index เดือน มี.ค., 6 เม.ย. – EU PPI index เดือน ก.พ., 7 เม.ย. – FOMC Meeting Minutes

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)