ภัยแล้งกระทบ ’เป็ดไล่ทุ่ง’ จังหวัดอุทัยธานี

ที่จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ภัยแล้งหลานพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานีทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในจังหวัดอุทัยธานีเดือดร้อนอย่างหนัก

ที่จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ภัยแล้งหลานพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานีทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในจังหวัดอุทัยธานีเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เริ่มหายากขึ้น เนื่องจากสภาวะภัยแล้ง อย่างเกษตรผู้เลี้ยงเป็ดในตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอทัพทัน ต้องจ้างคนงานอพยพเป็ดจำนวน 3,900 ตัว เดินทางเพื่อหาแหล่งเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งข้ามตำบลไปยังตำบลหนองกลางดง อำเภอเดียวกัน ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าแหล่งเลี้ยงเดิมเกือบ 20 กิโลเมตร เพื่อหาแหล่งน้ำและอาหาร ตามท้องทุ่งนาที่ยังมีนำขัง และยังมีกุ้ง หอย ปู ปลา ให้กับฝูงเป็ดไล่ทุ่งเป็นอาหาร

นางสุนิดา สุขรื่น เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ดังกล่าว เล่าว่า ตนเองได้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสำหรับไว้ขายไข่มานานกว่า 10 ปี ต้องเจอสภาพความแห้งแล้งเกือบทุกปี และปีนี้ก็เช่นกันสภาพความแห้งแล้งเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทำให้แหล่งน้ำลดลง จนต้องอพยพเป็ดไล่ทุ่ง จำนวน 3900 ตัว ตัว เดินทาง ไปหาแหล่งน้ำ ในต่างตำบล ซึ่งมีระยะทางไกลจากแหล่งเลี้ยงเดิมเกือบ 20 กิโลเมตร เนื่องจากแหล่งน้ำในพื้นที่น้อยลงจากภัยแล้ง จึงต้องย้ายหาที่เลี้ยง เพื่อให้เป็ดได้มีแหล่งอาหารและน้ำได้เจริญเติบโต และสามารถออกไข่ได้มากขึ้น และการย้ายแต่ละครั้งจะอยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์แหล่งอาหารของเป็ดไล่ทุ่งก็จะหมด ก็จะอพยพเป็ดไปในพื้นที่ต่างๆทั้งต่างตำบล และต่างอำเภอ บางครั้งต้องอพยพเป็ดไปยังจังหวัดข้างเคียงเพื่อหาแหล่งอาหารและแหล่งน้ำในการเลี้ยง ให้รอดพ้นจากภัยแล้งอยู่ในขณะนี้ โดยการเคลื่อนย้ายไปหาแหล่งอาหารตามท้องทุ่งนาจะต้องให้ไข่เป็ดเป็นสินน้ำใจกับเจ้าของนาครั้งละ 2 – 3 แผง ( 60-90 ฟอง ) และสภาพความแห้งแล้ง และอากาศร้อนยังส่งผลให้เป็ดไข่หดลดลงไปวันละกว่า 20 แผง ( 600 ฟอง ) เคยเก็บไข่ได้วันละกว่า 110 แผง ( 3,300 ฟอง ) ตอนนี้เก็บไข่ได้เพียงวันละ 90 แผง ( 2,700 ฟอง ) เท่านั้น จึงมีความจำเป็นต้องซื้ออาหารเป็ดมาให้เป็ดกินเป็นอาหารเพิ่มเติมเพื่อให้เป็ดออกไข่ดกขึ้น จึงทำให้มีต้นทุนการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสูงขึ้น อีกด้วย