ครัวเรือนไทย”จ่ายอะไรไปบ้างในเดือนม.ค.
เคยสงสัยมั้ยต้องมีเงินเท่าไหร่จึงจะมีชีวิตรอดต่อหนึ่งคน และหากต่อหนึ่งครัวเรือนต้องใช้เงินเท่าไหร่แต่ละเดือนและเงินที่มีใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) รายงานค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเดือนม.ค. 2565 พบว่า มีค่าใช้จ่ายรวมรายเดือน 17,321 บาท
ค่าใช้จ่ายสูงสุดอยู่ที่
-ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ รวม 4,057 บาท
-ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน รวม 3,910 บาท
ค่าใช้จ่ายเพื่อการกิน
-เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ รวม 1,718 บาท
-อาหารบริโภคในบ้าน Delivery 1,494 บาท
-ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง)
-อาหารตามสั่ง KFC Pizza รวม 1,151 บาท
-ค่าผักและผลไม้ รวม 886 บาท
-ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 641 บาท
-เครื่องปรุงอาหาร 407 บาท
-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 377 บาท
-ไข่และผลิตภัณฑ์นม 357 บาท
ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ
-ค่าแพทย์ ค่ายา และบริการส่วนบุคคล รวม 961 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
-ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 374 บาท
ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 238 บาท ค่าหนังสือ
-ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียนและการกุศลต่างๆ 750 บาท
ราคาพลังงานดันเงินเฟ้อ
สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนม.ค. 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น3.23% (YoY) สาเหตุสำคัญ คือ สินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ โดยสินค้ากลุ่มพลังงานสูงขึ้น 19.22% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2564
"สินค้าในกลุ่มพลังงานจึงมีผลต่อการขึ้นของเงินเฟ้อถึง 2.25% เมื่อเทียบกับสินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ไก่ ส่งผลต่อเงินเฟ้อน้อยมาก โดยเนื้อสุกร มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียง 0.67%"
ไก่สด มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียง0.03% และไข่ไก่ มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียง 0.05% นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ปรับราคาสูงขึ้นเล็กน้อยตามต้นทุน (ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าจ้างแรงงาน ) จึงส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มากนัก อาทิ น้ำมันพืช อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และค่าบริการส่วนบุคคล
อาชีพเกษตรกรเชื่อมั่นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ สนค. ยังเปิดเผยถึง รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนม.ค. 2565พบว่า อาชีพ เกษตรกร มีค่าดัชนีอยู่ที่ 47.0 สูงขึ้นจากเดือนธ.ค. 2564 ซึ่งอยู่ที่ 46.8 ในขณะที่ค่าดัชนีในกลุ่มอาชีพอื่นมีทิศทางลดลงโดยพนักงานเอกชน ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 41.6 จาก 45.6 อาชีพผู้ประกอบการ อยู่ที่ 45.4 ลดลงจาก 49.2 รับจ้างอิสระอยู่ที่ 42.8 ลดลงจาก 43.7 พนักงานของรัฐ อยู่ที่ 50.5ลดลงจาก 52.7 นักศึกษาอยู่ที่ 39.0 ลดลงจาก 41.7