TNH - ถือ

TNH - ถือ

1Q64 ผลงานดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า

ประเด็นสำคัญในการลงทุน

  • งวด 1Q64 กำไรสุทธิเติบโต 27% แต่หดตัว 32%YoY : งวดไตรมาส 1Q64 สิ้นสุด 31 ต.ค. 63 บริษัทมีกําไรสุทธิ 70 ล้านบาท เติบโต 27%QoQ เนื่องจากรายได้เติบโต 8%QoQ จากที่เป็นช่วงไฮซีซั่นในฤดูฝนที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และอัตรากําไรขั้นต้นปรับดีขึ้นสู่ 26% จาก 23% ใน 4Q63  ส่งผลให้อัตรากําไรสุทธิปรับดีขึ้นสู่ 14% จาก 12% ใน 4Q63 เมื่อเทียบกับช่วง 1Q63  กําไรสุทธิลดลง 32%YoY เนื่องจากรายได้จากการรักษาพยาบาลลดลง 14%YoY ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทําให้จํานวนผู้ป่วยมาใช้บริการที่โรงพยาบาลลดลงในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้บริการทางการแพทย์กรณีไม่เร่งด่วนฉุกเฉิน เช่น บริการด้านทันตกรรม บริการตรวจสุขภาพ เนื่องจากเห็นว่าโรงพยาบาลเป็นสถานที่มีความเสี่ยงสูงจึงชะลอการเข้ารับบริการออกไปก่อน อัตรากําไรขั้นต้นลดลงจากระดับ 28%  ในงวด 1Q63  กําไรงวด 1Q64  คิดเป็น 23% ของประมาณการทั้งปีเดิมที่คาด 302  ล้านบาท
  • ปรับประมาณการกําไรปี 2564  ลดลง 7%YoY : ฝ่ายวิจัยคาดว่าผลการดําเนินงานปี 2564 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีรายได้จากศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและศูนย์ตาครบวงจรที่เปิดบริการราวเดือนธ.ค. 2563 มาชดเชย  อย่างไรก็ดี ความกังวลเรื่องการระบาดซ้ำของไวรัสโควิด-19 ในเดือนธ.ค.และม.ค. เราคาดผลการดำเนินงานงวด 2Q64 ราว 65 ล้านบาท -7%QoQ +6%YoY จากความกังวลเรื่องการระบาดซ้ำทำให้ฝ่ายวิจัยปรับประมาณการรายได้จากการรักษาพยาบาลลดลง 2% เหลือ 2,035 ล้านบาท ซึ่งเติบโต 1%YoY  ด้วยสมมติฐานอัตรากําไรขั้นต้นคงเดิมที่ 25.3%  ส่งผลให้ประมาณการกําไรสุทธิใหม่ ลดลง 7% เหลือ 280 ล้านบาท ซึ่งยังเติบโต 9%YoY (ดังแสดงในตารางข้างล่าง)
  • แผนก่อสร้างโรงพยาบาลไทยนครินทร์ 2 ที่เลื่อนเป็นผลดีต่อสภาพคล่องและกระแสเงินสด : แผนดําเนินการโรงพยาบาลไทยนครินทร์ 2 ยังไม่ยกเลิกแต่อยู่ระหว่างทบทวนและปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามสภาวะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปทั้งนี้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัวทําให้บริษัทมีนโยบายใช้แหล่งเงินสดภายในกิจการเป็นลําดับแรก และทบทวนใหม่เกี่ยวกับแบบก่อสร้างซึ่งอาจจะทยอยทําทีละเฟสย่อยเพือลดภาระในการกู้เงินและลดความเสี่ยงทางการเงิน ทําให้ยังไม่มีความจําเป็นในการกู้เงินเป็นจํานวนมาก    ปัจจุบันบริษัทยังคงไม่ได้ใช้วงเงินกู้จํานวน 3,000 ล้านบาทแต่อย่างใดรวมทั้งยังไม่มีภาระหนี้สินทังในระยะสั้นและระยะยาว (Gearing Ratio เท่ากับศูนย์) จึงไม่มีภาระต้นทุนทางการเงินและไม่น่ากังวลหากจะเริ่มกู้เงินในอนาคต   เราคาดว่าโครงการโรงพยาบาลไทยนครินทร์ 2 ที่จะเริ่มก่อสร้างในปีงบการเงิน 2564  ในเบื้องต้นยังสามารถใช้กระแสเงินสดจากการดําเนินงานได้ก่อนซึ่งปกติบริษัทมีกระแสเงินสดจากการดําเนินงานเฉลี่ยปีละราว 300-400 ล้านบาท (งวดปี  2562 เท่ากับ 406 ล้านบาท งวดปี 2563 เท่ากับ 312 ล้านบาท)
  • คงคําแนะนํา “ถือ” ราคาหุ้นสะท้อนราคาเหมาะสมแล้ว : เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ ในการประเมินราคาเหมาะสมโดยใช้สมมติฐาน Prospect PERที่ระดับ 19 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในตลาด SETที่ซื้อขายที่ระดับ 36 เท่า ประมาณการกําไรต่อหุ้นใหม่สำหรับปี 2564 เหลือ 56 บาท (จากเดิม 1.68 บาท) คํานวณได้ราคาเหมาะสมเท่ากับ 30 บาท (จากเดิม 32 บาท)ใกล้เคียงกับราคาปิดล่าสุด และคาดการณ์ yield ราว 1.5%  จึงคงคําแนะนํา “ถือ”

 

ปัจจัยเสี่ยง

       1) จำนวนผู้ป่วยลดลง จากก่อนกสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
       2) การก่อสร้างรพ.ไทยนครินทร์ 2 มีความล่าช้าจากแผนจากการทบทวนโครงการใหม่ทั้งหมด

       3) คู่แข่งเพิ่มขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียง