“ภูมิรัฐศาสตร์”บนปากเหว ปัจจัยกฎการค้า-ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม

“ภูมิรัฐศาสตร์”บนปากเหว  ปัจจัยกฎการค้า-ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม

“ภูมิรัฐศาสตร์" (Geopolitics) ปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องจับตาใกล้ชิด เพราะมีแนวโน้มกระทบการดำเนินชีวิต รวมถึงการค้าและการลงทุน โดย ภูมิรัฐศาสตร์ คือ การผสมผสานกันระหว่าง ภูมิศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์

 (พื้นที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ประชากร) ท่ี่มีต่อการเมืองและความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ผลการศึกษาขององค์การการค้าโลก (WTO) เรื่อง “The Impact of Geopolitical Confliction Trade,Growth,and Innovation”  เผยแพร่เดือน มิ.ย.2565 บอกถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์หากเกิดขึ้นรุนแรง และแยกเศรษฐกิจโลกเป็น 2 กลุ่มชัดเจน ได้แก่ กลุ่มสหรัฐหรือกลุ่มตะวันตก ได้แก่ ยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  และกลุ่มจีนหรือกลุ่มตะวันออก ได้แก่ อินเดีย รัสเซีย แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ จะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลก

 เนื่องจากต้นทุนการค้าและอัตราภาษีเฉลี่ยจะสูงขึ้น โดยอาจเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (welfare loss) 4.0-10.5% ขณะที่ความร่วมมือทางการค้าภายในกลุ่มจะสำคัญขึ้น ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน

     “คาดว่าไม่น่าแยกเศรษฐกิจโลกเป็น 2 กลุ่มชัดเจน เนื่องจาก 2 กลุ่ม พึ่งพาและเชื่อมโยงกันสูง และการแยกเป็น 2 ขั้วเกี่ยวพันหลายมิติ เช่น การผลิต การค้า การลงทุน การเงิน เฉพาะมิติการผลิตหากแยกห่วงโซ่อุปทานจริงต้องใช้เวลานานที่จะพัฒนาความพร้อมทั้งเทคโนโลยี การผลิต บุคลากร การหาแหล่งนำเข้า การเคลื่อนย้ายการลงทุน การตั้งโรงงานและการตลาด ทั้งหมดต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสิ้น”

ในอดีตภูมิรัฐศาสตร์จะมุ่งเน้นเชิงความสัมพันธ์ทางการทหาร แต่ในช่วงหลังถูกลดระดับความสำคัญลง แต่ปัจจุบันการชิงความเป็นผู้นำทางการทหารกลับมามีบทบาทสำคัญอีก โดยมุ่งเน้นที่การเสริมความมั่นคงประเทศ ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารและการครอบครองยุทโธปกรณ์ สะท้อนจากรายจ่ายทางการทหารทั่วโลกท่ี่สูงขึ้น

งเศรษฐกิจ เช่น มาตรการคว่ำบาตร การถอนการลงทุน ดังเช่นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เป็นการปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ท่ี่กระทบวงกว้าง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อการค้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

ด้านแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญพบว่ายังอยู่สภาวะชิงความเป็นมหาอำนาจระหว่างสหรัฐและจีน แต่ต้องมอง 2 ด้านเพราะแนวโน้มความสัมพันธ์สหรัฐและจีนมีทั้งแข่งขันและความร่วมมือในเวลาเดียวกัน เพราะเศรษฐกิจ 2 ประเทศพึ่งพากันมาก

“การแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจ ประกอบกับกระแส อโลกาภิวัตน์ (De-Globalization) เพื่อกระจายความเสี่ยงการผลิต ลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหน่ึง และเพิ่มความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจระยะยาว”

ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อต้นทุนขนส่งสินค้า เช่น การปิดกั้นเส้นทางขนส่งทางทะเลและราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และมีผลต่ออุปทาน เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลต่ออุปทานพลังงานและอาหารโลก ปุ๋ยและสินค้าเกษตร

การแข่งขันระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้เกิดแนวโน้มการแยกห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศอื่นที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตหรือค้าขายสินค้ากลุ่มนี้ ในทางตรงข้ามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ วิกฤติราคาพลังงานโดยเฉพาะในยุโรป ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทั่วโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

พูนพงษ์ กล่าวอีกว่า อีกด้านของความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ประเทศต่างๆ พยายามหาพันธมิตรเพื่อสร้างสายสัมพันธ์และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้าและ วัตถุดิบ เช่น จีน มีกรอบความร่วมมือ Belt and Road Initiative และสหรัฐ มีกรอบความร่วมมืออินโด-แปซิฟิก

สำหรับบทบาทไทยในบริบทภูมิรัฐศาสตร์ภูมิภาคและของโลกนั้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศไทยถือเป็นจุดศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อมต่อภายในภูมิภาคและเชื่อมกับส่วนต่างๆ ของเอเชียทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และมีบทบาทเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์เพื่อเป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีโลกและมีความร่วมมือกับนานาชาติในลักษณะเกื้อหนุนต่อความก้าวหน้าในทุกด้านของไทย และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาคมโลก

“ภูมิรัฐศาสตร์”บนปากเหว  ปัจจัยกฎการค้า-ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม