รู้จักพลังงาน 'ไฮโดรเจน' ในบริบทของธุรกิจเอสเอ็มอี

รู้จักพลังงาน 'ไฮโดรเจน' ในบริบทของธุรกิจเอสเอ็มอี

ผู้ที่ทำธุรกิจในปัจจุบันย่อมจะต้องได้รับข่าวกระแสของการนำพลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียวเพื่อเข้ามาทดแทนการใช้พลังงานปิโตรเลียมที่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาจากใช้พลังงานจากแรงงานสัตว์และพลังงานจากไอน้ำ

โดยเฉพาะแนวโน้มในอนาคตที่เชื่อกันว่า พลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียวจะต้องเข้ามาแทนที่การใช้พลังงานปิโตรเลียมในที่สุด

สำหรับนักธุรกิจหรือเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีที่ห่วงใยทิศทางของธุรกิจของตนเองในอนาคต ก็จำเป็นต้องติดตามหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของการใช้พลังงานในอนาคตที่จะมาสนับสนุนตัวธุรกิจหรือวิธีการดำเนินธุรกิจไว้แต่เนิ่นๆ แม้ว่าในใจของอีกหลายๆ คนก็เชื่อว่า โอกาสที่แนวโน้มนี้อาจจะมาถึงธุรกิจเอสเอ็มอีได้อีกนาน และเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น

ในระหว่างที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจากการใช้พลังงานปิโตรเลียม โดยมีแรงผลักดันในเรื่องของการทำลายสมดุลของสภาวะอากาศตามธรรมชาติ และค่อย ๆ เป็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ การแสวงหาพลังงานทดแทนหรือพลังงานสีเขียวมาเพื่อลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศก็มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

โดยคำนึงถึงต้นทุนต่อธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมของโลก เพื่อหาตัวแทนสำหรับแหล่งพลังงานที่จะมาแทนที่พลังงานจากปิโตรเลียม

เริ่มตั้งแต่พลังงานแสงแดด พลังงานลม พลังงานจากคลื่นในมหาสมุทร พลังงานจากใต้พิภพ และอื่น ๆ จนมาถึงประเด็นของการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรม

ไฮโดรเจนเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในเอกภพ และเป็นธาตุที่ให้พลังงานหลักในดวงอาทิตย์ ส่วนที่พบบนโลก ไฮโดรเจนมักจะไม่ได้เกิดอย่างอิสระ แต่พบในลักษณะที่รวมตัวเป็นสารประกอบกับธาตุอื่น ที่รู้จักกันดีก็คือเป็นองค์ประกอบของน้ำ ซึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ส่วน รวมกับออกซิเจน 1 ส่วน

โดยที่พื้นที่ผิวโลกทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นน้ำ 3 ส่วนและพื้นดินเพียง 1 ส่วนเท่านั้น แสดงว่าปริมาณของไฮโดรเจนมีอยู่บนผิวโลกจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบว่ามีก๊าซไฮโดรเจนปะปนมากับก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบใต้พื้นโลกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก

ไฮโดรเจนสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้อย่างดี หากสามารถทำให้อยู่ในสภาวะของการเป็นก๊าซไฮโดรเจน และสามารถเปลี่ยนพลังงานที่ได้ให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ความร้อน และเป็นเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงโดยไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนขึ้น หรือสามารถจะลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนเมื่อเทียบกับพลังงานปิโตรเลียมได้มาก

ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไฮโดรเจน จะถูกแบ่งตามแหล่งกำเนิดก๊าซไฮโดรเจนที่จะนำมาใช้ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ผลิตได้จากการแยกโมเลกุลของน้ำ ออกเป็นก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซออกซิเจน โดยใช้แหล่งพลังงานในการแยกน้ำมาจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงแดด พลังงานลม หรือพลังงานไฟฟ้าจากกระแสน้ำ ไฮโดรเจนสีเขียว ถือเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่มีความบริสุทธิและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงสุด

2.ไฮโดรเจนสีฟ้า (Blue Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่นำก๊าซธรรมชาติมาทำปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อให้ได้ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ คาร์บอนมอนอกไซด์ ปนออกมา และมีกระบวนการที่จะดูดซับหรือกำจัดก๊าซคาร์บอนออกไป เหลือแต่ก๊าซไฮโดรเจน แต่ถือได้ว่าความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็จะลดน้อยลงมาบ้าง

3.ไฮโดรเจนสีเทา (Grey Hydrogen) เป็นกระบวนการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกมาจากก๊าซธรรมชาติ และนำไฮโดรเจนบริสุทธิไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป โดยไม่มีกระบวนการกักเก็บหรือทำลายก๊าซคาร์บอนที่เหลือจากปฏิกิริยาเคมี

ความรู้เบื้องต้นสำหรับนักธุรกิจก็คือ การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ก็ยังมีเกรดและระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยตัดสินใจเชิงว่า หากธุรกิจเอสเอ็มอีจะนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการดำเนินธุรกิจ

ก็ยังมีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมที่สุดต่อการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้พัฒนาธุรกิจของตนเองให้เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่รักษ์โลกได้ต่อเป็น!!??!!