จาก หัวเว่ย TechWar สู่ TapWar กับรัสเซีย

จาก หัวเว่ย TechWar สู่ TapWar กับรัสเซีย

มีวลีฮิตของจีนที่ทางการจีนออกมาเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์

"จากสงครามการค้ามาสู่ สงครามชิงความเป็นหนึ่งด้านเทคโนโลยี" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5G ที่พุ่งเป้าหมายไปที่หัวหว่ย

นั่นคือ ‘เจรจา.. ยินดี, ท้าตีต่อย.. พร้อมเสมอ, ข่มขู่... อย่าได้หวัง” ดังรูป

รวมถึงการเปิดเพลงที่ทำให้รำลึกถึงการเดินทาง (Long March) ข้ามประเทศจีนของเหมา เจ๋อ ตุง เป็นเวลากว่าหนึ่งปี ก่อนที่สงครามเกาหลีที่สนับสนุนโดยสหรัฐจะเริ่มขึ้น

จาก หัวเว่ย TechWar สู่ TapWar กับรัสเซีย

หากย้อนกลับไปเมื่อราวเกือบ 2 สัปดาห์ก่อน ที่การเจรจาการค้าระหว่างตัวแทนของจีนนำโดยหลิว เฮ่อ และของสหรัฐ นำโดย โรเบิร์ต ไลท์ไฮซ์เซอร์ ซึ่งจบลงด้วยความล้มเหลว ที่วอชิงตัน ดีซี น่าสนใจว่า สี จิ้น ผิง ผู้นำจีน ส่งสัญญาณชัดว่าจะไม่คุย trade war ต่อ โดยปล่อยให้ทรัมป์ออกข่าวว่าเราแค่มีการทะเลาะกันเล็กน้อย (a little squabble) กับจีนเท่านั้น โดยถือว่าทรัมป์เสียมวยหนัก ในยกที่สองของ Trade War หลังจากจบยกแรกเมื่อสิงหาคมปีที่แล้วด้วยการเสมอกัน

ด้วยนิสัยที่ไม่ยอมเสียหน้านาน ทรัมป์จึงหันมาเล่นงานจีนอีกครั้งผ่านทางกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกา ด้วยการใช้กฎหมาย Export Control Reform Act [ECRA] ที่สามารถบังคับให้หยุดทำกิจกรรม ทั้งส่งออกและลงทุน กับหน่วยงานหรือโครงการใดๆกับประเทศใดๆในโลกที่ส่อว่าจะมีภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐหรือ National Defense Authorization Act (NDAA) ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ดังต่อไปนี้ Biotechnology, Artificial intelligence (AI) and machine learning technology, Position, Navigation, and Timing (PNT) technology, Microprocessor technology, Data analytics technology, Quantum computing, Logistics technology อาทิ Mobile electric power; Additive manufacturing อาทิ 3D printing, Robotics, Brain-computer interfaces, Hypersonics, Advanced materials อาทิ Adaptive camouflage และ Advanced surveillance technologies อาทิ Faceprint and voiceprint technologies

โดยหากพิจารณาจากเทคโนโลยีทั้งหมด สหรัฐตามหลังจีนด้านโทรคมนาคมสาขา 5G มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหัวเว่ย ทรัมป์เลยใช้ช่องทางจากกฎหมายนี้ในการบังคับไม่ให้บริษัทต่างๆของสหรัฐ รวมถึงกูเกิล ค้าขายและขายระบบปฏิบัติการในสมาร์ทโฟนกับหัวเว่ย

ในประเด็นนี้ ผมมองสถานการณ์นี้ ออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรก ทรัมป์ต้องการให้หัวเว่ยสะดุดในการพัฒนา 5Gด้วยการที่บังคับ Supplier ในสหรัฐไม่ขายอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่จำเป็นต่อการพัฒนาและสร้างเครือข่าย 5G ซึ่งผมคิดว่าเป็นแค่ Hiccup ต่อหัวเว่ย เนื่องจากสถานที่ซึ่งเป็น Lab ใหญ่ด้าน 5G ของหัวเว่ย ณ ตอนนี้ อยู่ที่ยุโรปเหนือ ซึ่งกระบวนการ Logistics ของเทคโนโลยีน่าจะถือว่าค่อนข้างนิ่งพอสมควรมาพักหนึ่ง ผมจึงมองว่าการห้าม US Supplier ในประเด็นนี้ จะไม่กระเทือนหัวเว่ยด้าน 5G หากมองไปข้างหน้ามากนัก

ส่วนในประเด็นที่สอง ซึ่งทรัมป์สั่งให้ Google ห้ามขาย Android OS ให้หัวเว่ย หลัง 19 ส.ค.นี้ ประเด็นนี้ มีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการ ได้แก่

หนึ่ง โครงสร้างการอยู่อาศัยของชาวจีนที่อยู่กันแบบกระจุกตัว ส่งผลให้เกิดอุปสงค์อย่างมหึมาสำหรับธุรกิจ Delivery และบริการอื่นๆ ในขณะที่สตาร์ตอัพของสหรัฐเน้นที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรู้ดีอยู่แล้ว นั่นคือสร้างแพลตฟอร์มแนวดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ด้วยการที่จีนลงมือทำธุรกิจแบบขลุกกับลูกค้าจริงๆ จึงสามารถผสมระหว่างโลก Online กับ Offline หรือ O2O ได้ นอกจากนี้ ด้วยการที่จีนยังล้าหลังสหรัฐในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ส่งผลให้จีนสามารถกระโดดข้ามเทคโนโลยีช่วงกึ่งกลางที่ไม่จำเป็นหรือที่เรียกว่า Leapfrog อาทิ ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลข้ามโลก ที่จีนใช้เทคโนโลยีแบบใหม่เอี่ยม จะเห็นได้ว่า O2O และ Leapfrog ถือเป็นฟีเจอร์ที่ระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยได้เปรียบ Android OS ในการพัฒนาระบบปฏบัติการในอนาคต

สอง จีนมีบทบาทของรัฐบาลที่คอยให้ช่วยเหลือธุรกิจของระเทศตนเองเป็นอย่างดี โดยสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี หลี เค่อ เฉียง ในปี 2014 ที่ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ว่านายกฯหลีได้เรียกร้องให้เกิด การสร้างธุรกิจใหม่และนวัตกรรมในระดับ มวลชนหรือ “mass entrepreneurship and mass innovation” โดยจากรายงานของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ของรัฐบาลจีนที่มีเป้าหมายที่ทะเยอทยานและเต็มใจที่จะเสี่ยงเพื่อให้การพัฒนาด้าน AI ของจีนสามารถไปสู่ในจุดสุดยอดของโลก ส่งผลให้การสร้าง infrastructure ด้าน AI ของจีนสามารถทำได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยจีนมีแหล่งที่ไว้บ่ม Start-ups ด้านเทคโนโลยีเด่นๆอย่าง Zhongguanzun ที่ ณ นาทีนี้ ไม่แพ้ซิลิกอนวัลเลย์

นอกจากนี้ หากพิจารณา ทั้ง internet AI ซึ่งหมายถึง AI ที่คอยตรวจสอบและสังเกตว่าคุณกำลังทำอยู่ในอินเตอร์เน็ต ตรงนี้ หากท่านผู้อ่านเล่นเฟซบุ๊คหรือหาข้อมูลในกูเกิลน่าจะพบเจอสิ่งนี้อยู่บ่อยๆ สำหรับสมรภูมินี้ ในตอนนี้ทั้งจีนและสหรัฐถือว่าสูสีกัน โดยในอนาคตอันใกล้ จีนน่าจะเหนือกว่านิดๆและperception AIหมายถึง AI ที่เฝ้ามองโลกภายนอก โดยในตอนนี้ทั้งจีนเหนือกว่าสหรัฐนิดๆ โดยในอนาคตอันใกล้ จีนน่าจะเหนือกว่ามากขึ้นที่จำเป็นต่อ OS ของสมาร์ทโฟนรุ่นต่อๆไปในอนาคต หัวเว่ยถือว่าได้เปรียบกูเกิลในมิติเหล่านี้อยู่ไม่น้อย

ท้ายสุด Google งานนี้ถือว่าเสียเปรียบในการเข้าถึงข้อมูลเด็ดๆ ของจีนไปพอสมควรเพราะทรัมป์เป็นอย่างมาก เพราะจีนมีขนาดของลูกค้าที่ใหญ่มากโดยจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของจีนยังมากกว่าเมื่อรวมผู้ใช้ของสหรัฐกับยุโรปเข้าด้วยกัยเสียอีกหากข้อมูลถือเป็นเชื้อเพลิงที่จะส่งผลต่อการเกิดการปฏิวัติด้าน AI ให้เร็วขึ้น จีนจึงถือว่าได้เปรียบกว่าคู่แข่งอื่นรวมถึงกูเกิลอยู่หลายขุม

แค่ TechWar ไม่พอ.. ทรัมป์ยังไปต่อที่ TapWar กับรัสเซีย

ล่าสุด ทรัมป์ไม่หยุดเพียงแค่สงครามการค้าและสงคราม 5G ทรัมป์เตรียมตัวจะลงนามหลังจากสภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายการคว่ำบาตรโครงการสร้างท่อส่งก๊าซจากรัสเซียไปสู่ยุโรป (Nord stream 2) ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐบาลรัสเซียสามารถใช้ท่อก๊าซดังกล่าวเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง

โครงการท่อก๊าซมูลค่า 9.5 พันล้านยูโรนี้ กำลังทำการก่อสร้างอยู่ซึ่งคาดจะแล้วเสร็จในสิ้นปีนี้ โดยวางท่อผ่านทะเลบอลติคเชื่อมระหว่างรัสเซีย ซึ่งแหล่งก๊าซมาจาก หลุมก๊าซ Bovanenkovo ขนาด 1 พันตารางกิโลเมตร ทางเหนือของมอสโคว์ กับเยอรมัน ถูกมองจากสหรัฐว่าจะเป็นเครื่องมือของรัสเซียที่ทำการควบคุมแหล่งพลังงานในยุโรป รวมถึงเป็นตัวบีบเศรษฐกิจยูเครนให้มีรายได้น้อยลง จากการที่ถูกทำให้ปริมาณก๊าซที่ขายลดลง

TapWar ที่ทรัมป์เล็งไปที่รัสเซียในคร้ังนี้นั้น ถูกมองว่าทรัมป์ตั้งใจที่จะถล่มเศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งง่อนแง่นเต็มทีหลังจากถูกคว่ำบาตรจากธนาคารต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติตะวันตก เป็นเวลา 5 ปี รวมถึงบริษัทข้ามชาติจากชาติตะวันตก ท้ังยังเปิดประเด็นอีกด้านกับฝั่งรัสเซีย โดย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประเมินว่าท่าทีของสหรัฐเป็นสัญลักษณ์ของความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างประเทศ

ณ วันนี้ Trade War ได้ไปไกลกว่าที่คิดกันไว้ ในหลายมิติแล้วครับ