หมอกควันพิษปกคลุม “กาย-ใจ” “รวย-จน” ออกจากบ้านเป็นตายเท่ากัน

หมอกควันพิษปกคลุม “กาย-ใจ” “รวย-จน” ออกจากบ้านเป็นตายเท่ากัน

อนูของฝุ่นที่เจือปนด้วยสารพิษแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมในชีวิตประจำวัน มนุษย์ใช้ออกซิเจนวันละประมาณ 550 ลิตร

 ปกติเราหายใจอากาศเข้าไปวันละ 11,000 ลิตร ซึ่งเราไม่เคยรู้ว่าเราสูดอากาศเสียเข้าไปวันละจำนวนเท่าใด จึงมีประเด็นน่าคิดคือ

1.เราได้รับอนุญาตให้สูดควันพิษได้มากกว่ายุโรป และอเมริกาเท่ากับเราเข้าสู่โหมด “ตายผ่อนส่งตั้งแต่แรกเกิด” ซึ่งสิ่งที่เรานำเข้าสู่ร่างกายผ่านผัสสะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ในที่นี้เราเน้นที่เรื่องของจมูก ช่วงนี้เราเข้าสู่โหมดอันตรายจาก PM2.5 ซึ่งจะดราม่าตามสถานการณ์ แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ การกำหนดค่ามาตรฐานที่เรียกกว่าเกณฑ์ความเป็นพิษ ซึ่งมาตรฐานของไทยนั้นกำหนดไว้แตกต่างมากเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานสากล หรือทางฝั่งยุโรป อเมริกา ( คนไทย ค่าเฉลี่ย 24 ชม 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อเมริกา 35 ออสเตรเลีย 25)

นั่นแปลว่า ปอดคนไทยนั้นทนทานต่อสลารพิษได้ดีกว่าจึงสูดหายใจ PM 2.5 ได้มากกว่าชาวยุโรป ใช่หรือไม่ หรือเพราะว่าเราด้อยปัญญากว่าจึงสมควรได้รับมาตรฐานที่ต่ำกว่า อันนี้คือคำถาม?

2.กระบวนการป้องกัน เรื่อง PM 2.5 นั้นเป็นเพียง subset ของปัญหาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เราเคยได้ยินเรื่อง โลกร้อน เรื่องก๊าซเรือนกระจก Climate Change แปลเป็นไทยคือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยปกติในธรรมชาติจะมีการเปลี่ยงแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทุกหมื่นปี จากการเปลี่ยนแปลงองศาของวงโคจรโลกหรือเกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่ร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมภายในโลกโดยตรง

ต่อมา พัฒนามาเป็นเรื่องคาร์บอนเครดิต ซึ่งก็คือ การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม การลดการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ ในประเทศไทยเราเองยังคงให้ความสำคัญในเรื่องนี้แบบ แพคเกจจิ้ง แปลว่าเอาห่อ ไม่ได้เอาจริงเอาจัง ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้พลังงานฟอสซิล การเพิ่มนโยบายการใช้พลังงานสะอาด รวมจนถึงการสนับสนุนนวัตกรรมของโลกอย่าง รถยนต์ไฟฟ้า BEV (Bettery Electric Vehicles) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนแบบ100% ทำให้ลดการปล่อยควันพิษไปได้ถึง 100% 

ทั้งที่นานาประเทศในโลกนี้ เขาทำการศึกษา พัฒนา และ นำมาปรับใช้ แต่เรายังพยายามหา สารพัดเหตุผลมาอ้างอิงเพื่อดึงเวลา แล้วสรุปว่าเรายังไม่พร้อม ถ้าประเทศเราเดินหน้าขับเคลื่อนเร็ว เราจะสูญเสียโอกาสทางธุรกิจเพราะเราเป็นประเทศที่เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ (รถที่ปล่อยควันพิษให้ลูกหลานเราสูดดมจนเป็นหมอกควันพิษ เช่นนี้) อย่าได้กลัวเลย (เพราะความกลัวทำให้เสื่อม) ขนาดกลุ่มประเทศทางยุโรปเอง จีนเองที่เป็นเจ้าแห่งรถไฟฟ้าขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลัง ยังไม่สามารถเปลี่ยนให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 1% จากจำนวนรถยนต์ ดังนั้นที่ห่วงว่าจะเกิดการ Disruption นั้นมันไม่มีทางเกิดขึ้นในระยะสั้น ถึงเวลาที่รัฐฯ จะเอาจริงเอาจังกับมาตรการสนับสนุนนี้แล้วหรือยัง 

ทุกวันนี้ประเทศเรายังไม่มีการวิจัยใด้เลยที่นำไปสู่การหาคำตอบว่า เราจะมีรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อใด และ มีอัตราเติบโตแทนที่รถยนต์สันดาปเท่าใด เมื่อไร อย่างเช่นประเทศทางตะวันตก 3.การกำกับควบคุมดูแลการปล่อยควันพิษของอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง การอนุญาติให้รถบรรทุก รถเมล์ ที่หมดสภาพการใช้งานวิ่งกันเกลื่อนเมือง ปล่อยควันดำชนิดเห็นประจักษ์ชัดด้วยตา แล้วพอเกิดสถานการณ์หมอกควันพิษ ก็มารณรงค์ปราบปราม กำชับว่ากันไปเป็นคราวๆ ทำไมไม่สร้างการกำกับป้องปรามแบบจริงจัง การก่อสร้างขนาดใหญ่ซึ่งกำกับโดยหน่วยงานของรัฐที่ขาดการป้องกันการกระจาย และ ก่อให้เกิดฝุ่นละอองของการก่อสร้างมีให้เห็นกันได้ทุกพื้นที่ กฎเกณฑ์ระเบียบทีทมีอยู่นั้น นำมากำกับควบคุม บังคับใช้อย่างจริงจัง

3.ต้องมีการสื่อสารส่งมอบ ข้อมูลความรู้อย่างจริงจังต่อสังคม และ ประชาชน ว่าสิ่งใดคือ โอกาส คือ การพัฒนา และ ยอมรับว่าเรากำลังอยู่ในสภาวะปัญหาระดับใด เรื่องของหมอกควันพิษนั้น สะสมตัวทำลายคุณภาพชีวิตเรามาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วอายุคนแล้ว ตั้งแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องจักรไอน้ำมาจนถึงวันนี้เครื่องยนต์สันดาป ได้ปล่อยปริมาณคาร์บอนได้ออกมาทำลายโลก ทำลายชีวิตคนไปเท่าไรแล้ว เราจะแก้และ ป้องกันปัญหาได้หรือยัง แนะนำเลยนะครับว่า หากรัฐบาลหน้าที่จะเข้ามาทำหน้าที่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจังในการแก้ปัญหา เพิ่มคุณภาพด้านสุขภาพให้กับประชาชน คุณจะเป็นรัฐบาลที่ทรงอานุภาพมากที่สุด และ คุณจะได้รับการสนับสนุนต่อเตื่องยาวนาน เพราะคุณภาพของสุขภาพ มีคุณค่ามากกว่าความร่ำรวย และ GDP ของประเทศ

4.เข้าสู่โหมดลงมือทำในการแก้ไข และ พัฒนาอย่างจริงจัง เราเป็นประเทศที่มีแนวความคิดดีๆ มากมาย ผ่านงานวิจัย และ วิพากษ์ แต่ขาดการลงมือทำ 100 เรื่องดี 10 เรื่องพูด 0 เรื่องทำ กว่าจะเกิดลงมือทำโปรเจคดีๆ เราทำลายทรัพยากรไปจำนวนมาก เพราะเรามัวแต่คิด และ พูด แต่ไม่ค่อยทำ (จนเรามีคำพูดติดปากว่า งานวิจัยขึ้นหิ้ง) หลายเรื่องที่เราสูญเสียโอกาสไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านเพราะเราไม่ลงมือทำ ลิขสิทธิ์ทางความคิด สิทธิบัตรทางปัญญาที่เราสูญเสียไปกี่เรื่อง มาวันนี้เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก เกิดขึ้นแล้ว เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เราสามารถเป็น Lab ของโลกได้แต่เราหาข้ออ้างว่า Economy of scale เราไม่ได้ผลิตไปก็ Mass product สู้เขาไม้ได้ เราเลยออกนโยบาลทำหมันตนเอง 

แทนที่จะคลอดต้นแบบ แล้วบริหารจัดการสิทธิ์ เรามาสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศด้วยการผลักดันส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ลดวิกฤติทางมลพิษของชาติ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่ที่ Mindset ของผู้บริหารบ้านเมือง และ สังคมไทย อย่าหลงเชื่อในข้อมูลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ อย่ากลัวในสิ่งที่ไม่ประจักษ์ชัดจริง เท่านี้เราก็สามารถรอดจากหมองควันพิษที่อึมครึมทั้งในท้องฟ้า และ ในจิตใจคนไทยได้

โดย... 

อภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ 

นายก สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร